13 ต.ค. 2020 เวลา 05:09 • ประวัติศาสตร์
(เกร็ดประวัติศาสตร์) ที่มาของคำว่า ทหาร นักพัฒนา และ นักรบ พ.ศ.๑๒๐๒
ตำนาน พ่อตาหารซึ่งประชาชนนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ บริเวณ ภูเขาตาหาร(ภูเขาน้ำร้อน วัดธารน้ำร้อน) และบริเวณปากคลองท่าปูน วัดธารน้ำร้อน ในปัจจุบัน มีเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้าง เส้นทางสายตาหาร เป็นตำนานที่มาของคำว่า ทหารโดยสรุป ดังนี้
เมื่อเกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ สงครามทุ่งไหหิน และ สงครามแย่งม้า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ตัดสินพระทัย อพยพไพร่พลหลายแสนคน มายัง แคว้นศรีพุทธิ(ดอนธูป) และ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) และใช้พื้นที่ เกาะดอนขวางเป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ประจำ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๖ นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้ประกาศคัดเลือกนักรบอาสาสมัคร จำนวน ๙๙ คน โดยประกาศให้ผู้สมัคร มารวมตัวเพื่อตรวจคัดเลือกกันที่ ปากอ่าวศรีโพธิ์บริเวณ ท่าเสาธง ที่ทุ่งเซเคย ผลการคัดเลือก ตาหารเป็นผู้หนึ่งใน ๙๙ คน ที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปฝึกฝนการรบ เพื่อให้มาเป็นนักรบรักษาพื้นที่เกาะดอนขวาง และร่วมพัฒนาสร้าง เกาะดอนขวาง ให้เป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) โดยเร่งด่วน
ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้จัดประชุมนักรบจำนวน ๙๙ คน ตามที่ได้รับสมัคร และผ่านการคัดเลือกมาแล้ว เพื่อแบ่งงาน และแยกกันไปปฏิบัติหน้าที่ ในพื้นที่ เกาะดอนขวาง มีงานชิ้นหนึ่งคือ การสร้างเส้นทางจากบริเวณปากอ่าวศรีโพธิ์(ตรงข้ามกับท่าเสาธง) มายัง ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เพื่อเชื่อมกับเส้นทางสาย เจ้าชายศรีวิชัย(ถ.สันติมิตร ในปัจจุบัน) ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดกล้าอาสาสมัคร รับงานดังกล่าว มีเพียง ตาหารเพียงผู้เดียวเท่านั้น ที่เป็นผู้กล้าอาสา รับปฏิบัติงานดังกล่าว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงจัดหาไพร่พล ให้เป็นบริวาร ให้ไปช่วยเหลือ เพื่อสร้างเส้นทางดังกล่าว ให้สำเร็จ ตามเป้าหมาย
ในเวลาไม่นาน ตาหารและบริวาร ได้ช่วยกันถางป่า และสร้างเส้นทางสาย เส้นทางสายตาหาร แต่งานยังไม่สำเร็จเรียบร้อยดี ก็เกิด สงครามแย่งช้าง ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีการรบทางทะเล ในพื้นที่ อ่าวศรีโพธิ์ ด้วย ศึกครั้งนั้น กองทัพเรือสำเภาข้าศึก โดยพระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(เกาะสุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ได้พยายามยกกองทัพเรือสำเภา เข้าสู่ อ่าวศรีโพธิ์ แต่ไม่สามารถเข้ามาได้ เพราะที่ ปากอ่าวศรีโพธิ์(ท่าปูน) มีโซ่เหล็ก ขวางกั้นอยู่ ข้าศึกได้พยายามเข้ามาควบคุมเครื่องจักรควบคุมโซ่เรือ ซึ่งควบคุมการเข้าออกของเรือสำเภา ที่ปากอ่าวศรีโพธิ์(ปากคลองท่าปูน) ซึ่งควบคุมโดย พระยาเสือเขา เพื่อนำกองทัพเรือเข้าสู่ อ่าวศรีโพธิ์ และบุกขึ้นฝั่ง เกาะดอนขวาง เป็นผลสำเร็จ
เมื่อ ตาหาร ทราบข่าวว่าข้าศึกบุกเกาะดอนขวาง ตาหาร ก็ได้ออกไปทำการสู้รบ มิให้ข้าศึกสามารถทำลาย และสามารถยึดครอง เครื่องจักรควบคุมโซ่เรือ ด้วยอาวุธเท่าที่มีอยู่ จนกระทั่งสามารถทำลายข้าศึกโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) และสามารถเข้ายึดครอง เครื่องจักรควบคุมโซ่เรือ มิให้กองทัพข้าศึกโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ยกกองทัพเข้าสู่อ่าวศรีโพธิ์ เกาะดอนขวาง ได้สำเร็จ
ต่อมา ตาหารจึงกลายเป็นผู้ควบคุมเครื่องจักรกล ในการควบคุมการเข้าออกของเรือสำเภา บริเวณ ปากอ่าวศรีโพธิ์(ปากคลองท่าปูน) และเมื่อ จักรพรรดิพ่อหะนิมิต ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นมหาจักรพรรดิ ปกครอง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๑๒๐๒ ก็ได้ยกย่อง ให้ ตาหาร เป็นแบบอย่างในการต่อสู้กับข้าศึก จึงมีการเปลี่ยนชื่อนักรบมาใช้เป็นคำว่า ตาหาร เป็นคำว่า ทหารซึ่งมีความหมายว่า มีความสามารถเสมือน ตาหาร คำว่า ทหารจึงถูกนำมาใช้ในกองทัพของชนชาติไต ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๐๒ เป็นต้นมา
คำว่า ทหาร มิได้มีความหมายว่าเป็น นักรัฐประหาร หรือ นักปล้นสะดมอำนาจประชาชน แต่มีความหมายถึงนักพัฒนา และนักรบ กับข้าศึก มิใช่นักรบกับ ประชาชน เมื่อ ตาหาร เสียชีวิต ได้นำอัฐิ ไปฝังไว้ที่ ภูเขาตาหาร(ภูเขาน้ำร้อน วัดธารน้ำร้อน) บริเวณปากอ่าวศรีโพธิ์ คือท้องที่ ภูเขาวัดธารน้ำร้อน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ประชาชนเชื่อว่า ดวงวิญญาณของ พ่อตาตาหาร ยังสิงห์สถิตอยู่ที่โซ่เรือ ในบริเวณ ภูเขาตาหาร จึงมีการบวงสรวงเส้นไหว้ เอ่ยชื่อ พ่อตาหารสืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน
โฆษณา