13 ต.ค. 2020 เวลา 06:10 • ประวัติศาสตร์
(เกร็ดประวัติศาสตร์) จักรพรรดิพ่อศรีชัยนาท ให้กำเนิดชื่อ เกาะภูเก็ต และ แหลมพรหมเทพ พ.ศ.๑๒๐๒
ตำนานชื่อท้องที่ เกี่ยวกับความเป็นมาของชื่อท้องที่ เกาะภูเก็ต ได้กล่าวถึงสงครามครั้งนั้น โดยสรุปว่า หลังจากทำพิธีบรมราชาภิเษก ของกษัตริย์ ๒ พี่น้อง บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี ไม่นาน ก็ทราบข่าวว่า ทางฝั่งทะเลกันตาพาน(อันดามัน) มีกองทัพของ ทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เข้ายึดครองภูเขาพระนารายณ์ พังงา และมีกองทัพมอญรามัญ ยกกองทัพเข้ายึดครองแคว้นตาโกทุ่ง(ภูเก็ต) ทำให้ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ต้องใช้กองทัพม้า เข้าโจมตีที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรทมิฬโจฬะ(ผัวหมา/พม่า) บริเวณ ภูเขาพระนารายณ์พังงา เป็นผลสำเร็จ ข้าศึกทมิฬโจฬะ ต้องอพยพทางเรือ ไปตั้งรกรากที่ อาณาจักรทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ(สุมาตรา) และ แคว้นยะไข่ หลังจากนั้น จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาทได้นำกองทัพม้า ไปขับไล่ข้าศึกชนชาติมอญรามัน ให้ออกไปจาก แคว้นตาโกทุ่ง(ตะกั่วทุ่ง ภูเก็ต) เมื่อสำเร็จภารกิจ แล้ว จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาทได้นำกองทัพไปพักทัพอยู่ที่ แหลมพรหมเทพ เกาะภูเก็ต ในปัจจุบัน เพื่อสังเกตการณ์ การเคลื่อนไหวทางเรือ ของ ข้าศึก และป้องกันมิให้กองทัพมอญรามัน เข้ามายึดครองแหลมพรหมเทพ เกิดขึ้นอีก จึงเกิดตำนานความเป็นมาของชื่อ เกาะภูเก็ตขึ้นมาในท้องที่ดังกล่าว
ตำนานความเป็นมาของชื่อ เกาะภูเก็ตมีเรื่องราวโดยสังเขปว่า ขณะที่ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ประทับอยู่ที่ แหลมพรหมเทพ แคว้นตาโกทุ่ง(ตะกั่วทุ่ง) นั้น ได้มีนักรบผู้หนึ่ง เก็บ ล๊อคเก็ต อันหนึ่ง ซึ่งตกอยู่ที่บริเวณเชิงภูเขาแหลมพรหมเทพ จากผลของสงครามกับกองทัพมอญรามัน นักรบผู้นั้น ไม่กล้าเก็บ ล๊อคเก็ต ไว้กับตนเอง เพราะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ทั้งนี้เพราะ ผู้ที่สามารถมี ล๊อคเก็ต เก็บไว้ในครอบครองในสมัยนั้น ต้องเป็นเชื้อสายพวกราชวงศ์ เท่านั้น นักรบผู้นั้น จึงต้องนำ ล๊อคเก็ต ไปส่งมอบให้กับ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาทซึ่งได้พิจารณาล๊อคเก็ต แล้วเชื่อว่าเป็นของสายราชวงศ์ชนชาติไต เป็นที่มาให้ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาทสืบหาเชื้อสายราชวงศ์ เจ้าของ ล๊อคเก็ต ดังกล่าว เพื่อคืนให้กับ เจ้าของ
เมื่อ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาทสืบค้นหาเจ้าของ ล๊อคเก็ต จนกระทั่งทราบว่า เป็นของ เจ้าหญิงอุบลซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ เจ้าพระยามาลา แห่ง แคว้นมาลายู(กรุงแมนจูเจ้าเก้า/ม้าละกา) อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) ซึ่งถูกกองทัพชนชาติกลิงค์ เข้าโจมตียึดครอง แคว้นมาลายู(มะละกา) แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ แตกพ่าย พระราชบิดาของ เจ้าหญิงอุบลซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ เจ้าพระยามาลา จึงต้องอพยพไพร่พล พร้อม เจ้าหญิงอุบลหลบหนีภัยสงคราม มาตั้งรกรากที่ แคว้นตาโกทุ่ง(ตะกั่วทุ่ง เกาะภูเก็ต) เพื่อสะสมกำลัง รอเวลาการทำสงครามกอบกู้ดินแดน แคว้นมาลายู(กรุงแมนจูเจ้าเก้า/ม้าละกา) กลับคืน จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท จึงมอบให้ไพร่พลขี่ม้าเดินทางไปเชิญ เจ้าหญิงอุบลซึ่งเป็นผู้ได้ทำ ล๊อคเก็ต หล่นหาย ให้เดินทางมาพบกับ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาทเพื่อรับ ล๊อคเก็ต กลับคืน
เมื่อ เจ้าหญิงอุบลเดินทางมาขอรับ ล๊อคเก็ต กลับคืน จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาทแสร้งไม่คืน ล๊อคเก็ต กลับคืนให้ เพราะ เจ้าหญิงอุบลเป็นเจ้าหญิงที่สวยงามมาก จึงแสร้งเปลี่ยนพระนาม เจ้าหญิงอุบล ใหม่ว่า เจ้าหญิงล๊อคเก็ต(เจ้าหญิงอุบล) และเสนอให้ เจ้าหญิงล๊อคเก็ต(เจ้าหญิงอุบล) มาทำรักด้วยกัน จึงจะยินยอมส่งมอบ ล๊อคเก็ต กลับคืนให้ เป็นที่มาให้ เจ้าหญิงล๊อคเก็ต(อุบล) ทรงพระกริ้วมาก จึงเดินทางกลับไปฟ้องร้อง เจ้าพระยามาลายา ผู้เป็นสมเด็จปู่
เจ้าพระยามาลายา สมเด็จปู่ ของ เจ้าหญิงล๊อคเก็ต(เจ้าหญิงอุบล) ทราบอยู่แล้วว่า จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท เป็นจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ยกกองทัพมาทำสงครามขับไล่ชนชาติทมิฬโจฬะ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) และ พวกมอญรามัน ให้ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ จึงมิได้ถือโทษโกรธเคือง กลับรับสั่งให้ เจ้าหญิงอุบล เดินทางไปขอ ล๊อคเก็ต กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง
เจ้าหญิงล๊อคเก็ต(อุบล) ต้องเดินทางมาขอรับ ล๊อคเก็ต กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง แต่ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาทยังแสร้งไม่ยอมคืน ล๊อคเก็ต กลับคืนให้กับองค์หญิง กลับเสนอให้ เจ้าหญิงล๊อคเก็ตตกปากรับคำที่จะอภิเษกสมรส กับพระองค์ ด้วย จึงจะยินยอมส่งมอบ ล๊อคเก็ตกลับคืนให้ เป็นที่มาให้ เจ้าหญิงล๊อคเก็ต(อุบล) ไม่พอพระทัยอีก เป็นที่มาให้ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ได้เสนอเงื่อนไขใหม่ ที่จะทำสงครามกอบกู้ แคว้นมาลายู(กรุงแมนจูเจ้าเก้า/ม้าละกา) กลับคืนให้กับ เจ้าพระยามาลายา สมเด็จปู่ ของ เจ้าหญิงล๊อคเก็ต(อุบล) ถ้ายอมอภิเษกสมรส กับ พระองค์ ด้วย แต่ เจ้าหญิงล๊อคเก็ต เสนอให้ส่งคืน ล๊อคเก็ตให้กับพระนางก่อน แล้วให้ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ไปสู่ขอพระนาง กับ สมเด็จปู่ และ พระราชบิดา ของเจ้าหญิงอุบล ตามราชประเพณี ที่กำหนด
ในที่สุด จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท จึงขอยืมแหวน จาก พระยามั่น มอบให้กับ เจ้าหญิงล๊อคเก็ต(อุบล) ไปก่อนเพื่อเป็นหลักประกันว่า จะยอมคืน ล๊อคเก็ต กลับคืนในภายหลัง จึงเป็นที่มาของคำว่า แหวนมั่น ก่อนการแต่งงาน ซึ่งใช้สืบทอดเป็นประเพณี สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อ เจ้าหญิงล๊อคเก็ต(อุบล) เสด็จไปกราบทูล สมเด็จปู่ และ พระราชบิดา จึงเป็นที่มาให้ เกิดการอภิเษกสมรส ระหว่าง จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท กับ เจ้าหญิงล๊อคเก็ต บนดินแดน เกาะตาโกทุ่ง เจ้าหญิงล๊อคเก็ต(อุบล) จึงกลายเป็นมเหสี ฝ่ายซ้าย ของ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ครองรักกันอยู่ที่ ภูเขาล๊อคเก็ต ดังกล่าว จนกระทั่งต่อมา พระนาง ทรงพระครรภ์ เกาะตาโกทุ่ง จึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ภูล๊อคเก็ต แทนที่
แต่อยู่มาไม่นาน กองทัพชนชาติทมิฬโจฬะ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ได้ยกกองทัพเรือจาก อาณาจักรทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ(สุมาตรา) เข้ายึดครองดินแดน ภูเขาพระนารายณ์ กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ต้องจาก เจ้าหญิงภูล๊อคเก็ต ไปชั่วคราวเพื่อทำสงครามขับไล่ข้าศึก พื้นที่ เกาะตาโกทุ่ง จึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ภูล๊อคเก็ต และต่อมาถูกตัดคำสั้นเข้ากลายเป็น ภูเก็ต สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วน เจ้าหญิงล๊อคเก็ต(อุบล) ได้มาพบกับ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท อีกครั้งหนึ่ง โดยมีพระราชโอรส และพระราชธิดา กับ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท อีกหลายพระองค์ พระนางล๊อคเก็ต(เจ้าหญิงอุบล) จึงมีบทบาทต่อมาในการสร้างเมืองตาม้ากลิงค์ หรือ เมืองนครศรีธรรมราช ในยุคสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม(ศรีโพธิ์) ซึ่งกลายเป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ หลายพระองค์ ในเวลาต่อมา พระนางอุบลกลายเป็นอัครมเหสี ของ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ได้ประทับว่าราชการอยู่ที่ แคว้นตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) ซึ่งเป็น แคว้นจักรพรรดิ ต่อมาได้มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง คือ เจ้าชายจันทร์ภาณุ ที่ได้ดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุซึ่งเสด็จสวรรคต ด้วย คลื่นสาดโตน ที่ เมืองสตูล เมื่อปี พ.ศ.๑๒๙๑ นั่นเอง
เมื่อจักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๒๓๒ จึงถือว่าดวงวิญญาณ ของ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท เป็น พระพรหมมหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์ จึงพระราชทานชื่อ แหลมดังกล่าวว่า ที่เคยใช้เป็นฐานที่มั่นตั้งทัพของ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท จึงได้รับพระราชทานนามว่า แหลมพรหมเทพ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
โฆษณา