13 ต.ค. 2020 เวลา 10:35 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
แนะนำสารคดีน่าดูใน Netflix เรื่อง Social Dilemma (โซเชียล ดีเลมมา)
3
เป็นสารคดีที่แอดแนะนำมากๆ เพราะมันคือสารคดีเจาะลึกเบื้องหลังและด้านมืดของโซเชียลมีเดีย ที่กลายเป็นภัยคุกคามต่อมวลมนุษยชาติ โดยมีการสัมภาษณ์บรรดาผู้บริหารและพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ออกแบบปุ่มไลค์ ของ Facebook, ผู้สร้างโปรแกรมอัลกอลิทึมของ Youtube และCEO แอพลิเคชันต่างๆ
แม้เทคโนโลเหล่านี้ จะถูกสร้างขึ้นเพื่อเปลี่ยนโลก แต่ก็นับว่าเบื้องหลังของมันนั้นน่ากลัวจนเราคาดไม่ถึง เพราะมันได้แทรกแซงพฤติกรรมและชีวิตประจำวันของเราไปโดยไม่รู้ตัว เรียกได้ว่าหลังจากดูจบ แอดแทบไม่อยากจับโทรศัพท์กันเลยทีเดียว
เคยสงสัยไหมว่า เวลาเราเล่น เฟสบุ๊ค ยูทูป อินสตาแกรม หรือทวิตเตอร์ เมื่อเราดูภาพใดจบ เราจะใช้นิ้วเราเลื่อนดูอันต่อไปเรื่อยๆ โซเชียลดิเลมมา เค้าเจาะลึกลงไปว่าอัลกอรึทึมพวกนี้ มันทำงานอย่างไร และถูกออกแบบไว้อย่างไรบ้าง
ความน่าสนใจของสารคดีชุดนี้ คือ เขาบอกว่า ในโลกของเฟสบุ๊ค ยูทูป ทวิตเตอร์หรือโลกของโซเชียลมีเดีย มันเต็มไปด้วยเม็ดเงินมหาศาล พอมีเม็ดเงินมหาศาลเกิดขึ้น จึงต้องมีผู้ที่เรียกว่าสินค้าและผู้ผลิต พวกเราใช้เฟสบุ๊ค ยูทูปส่วนใหญ่ เราใช้ฟรี แต่จริงๆแล้ว เวลาที่เราใช้พวกนี้ฟรี นั่นแปลว่าคุณไม่ได้เป็นแค่ผู้ใช้งานเท่านั้น แม้ว่าคุณใช้โซเชียลมีเดียฟรีแต่ในขณะเดียวกันคุณคือ "สินค้า" ให้กับโซเชียลมีเดียนั้นๆด้วย
ถามต่อว่า เราเป็นสินค้าอย่างไร บ้าง?
ต้องบอกก่อนว่า หลายๆเจ้าบริษัทยักษ์ใหญ่หลากหลายแพลตฟอร์มเกิดการแย่งชิงกัน นั่นคือ Engagement ซึ่งก็คือการให้ผู้ใช้งานอยู่กับแพลตฟอร์มนั้นๆให้ได้นานมากที่สุด เช่นในยูทูป คือการเลือกดูวิดีโออื่นๆต่อไปเรื่อยๆ หรือ facebook คือการกดไลค์กดแชร์ ซึ่งนำไปสู่เบื้องหลังที่เรื่องนี้เล่าว่าโซเชียลมีเดียชั้นนำพวกนี้จะสร้างตัวตน ขึ้นมาคู่ขนานกับผู้ใช้งานแต่ละคน ไม่ซ้ำกัน ซึ่งตัวตนนี้จะเรียกว่าอัลกอริทึมที่สามารถวิเคราะห์ว่าเราชอบอะไร สนใจอะไร มันจะป้อนสิ่งนั้นให้เห็นและตัดสิ่งที่เราไม่สนใจออกไป ในขณะเดียวกัน มันสามารถดึงความสนใจเราให้จดจ่อกับมันได้ตลอดเวลา
ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มีการสอนวิชาเทคโนโลยีการชักจูง พวกเขาจะใช้ทุกอย่างที่พวกเขารู้เกี่ยวกับจิตวิทยาการจูงใจคนมาสร้างเป็นเทคโนโลยีได้อย่างไร ซึ่งมีคนสำคัญของซิลิคอนวัลเลย์จำนวนมากมาเรียนวิชานั้นซึ่งเป้าหมายคือการเป็นอัจฉริยะด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เทคโนโลยีการชักจูง คืองานออกแบบที่นำมาใช้งานจริงได้ เมื่อต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมคนบางคน เขาต้องการให้คุณใช้นิ้วเลื่อนดูไปเรื่อยๆ เขาก็จะสร้างวิดีโอ ภาพที่สนใจนั้น
โดยพวกเขาต้องการจะเจาะลึกลงไปในก้านสมองคุณและปลูกนิสัยที่คุณไม่ตะหนักถึงเอาไว้ข้างใน เพื่อป้อนคำสั่งคุณในระดับที่ลึกลงไป ซึ่งคุณไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ! ทุกครั้งที่คุณเห็นมันบนโต๊ะ คุณรู้ว่าเมื่อคุณหยิบมันขึ้นมา คุณอาจจะได้อะไรจากมัน
1
ที่นี้มันส่งผลอย่างไรต่อสังคมบ้าง ผลที่ตามมาคือ
1.ผลกระทบต่อการเมืองและสังคม
ปัจจุบันเรื่องของการเมืองนั้นได้อยู่ในทุกๆแพลตฟอร์ม โซเชียลมีเดียจะมี สิ่งที่เรียกว่า Confirmation Bias คือการที่เราเริ่มมีความคิดไปทางใดทางหนึ่ง แทนที่โซเชียลมีเดียจะทำการ balance หรือให้ข่าวจากสื่อทุกทางอย่างเท่าเทียมกัน แต่โซเชียลมีเดียกลับถูกออกแบบให้อัลกอริทึมป้อนให้เฉพาะสิ่งที่เราชอบหรือชุดความคิดเดิมๆซ้ำๆ เมื่อได้ฟังได้เห็นตลอดเวลามากๆเข้า จะเกิดเป็นความเชื่อ และคิดว่ามันเป็นความจริง!
หนังเรื่องนี้ได้ยกตัวอย่างความแตกต่างในการให้ข้อมูลของ วิกิพีเดีย กูเกิล และเฟสบุ๊คไว้
ขอเกริ่นก่อนว่าในสมัยก่อนเมื่อเราค้นหาข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น พจนานุกรม สื่อแบบเก่านี้ เมื่อใครก็ตามที่เปิดเล่มนี้จะเจอหน้าเดียวกัน คำเดียวกัน พบชุดข้อมูลที่เท่ากันทุกอย่าง แต่ถ้าเป็นโซเชียลมีเดียยุคนี้ เช่น กูเกิล เมื่อเสิร์ชคำว่า Climate change is จะพบว่าเเต่ละคนจะค้นหาและเจอไม่เหมือนกัน ข้อมูลที่เสิร์ชนั้น จะขึ้นอยู่กับสถานที่ที่คุณอยู่ หรือมีใครสักคนที่อยากให้คุณเห็นมันก่อนเว็บอื่นหลังจากที่คุณค้นหา
หนังเรื่องนี้ได้ยกตัวอย่าง ประธานาธิบดีของบราซิล ที่ใช้โซเชียลมีเดีย สร้างแคมเปญจ์ต่างๆจนเอาชนะการเลือกตั้งได้ แม้แต่อังกฤษหรืออเมริกา ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเอง ก็ใช้โซเชียลมีเดียโจมตีอีกฝ่ายเช่นกัน
2. ปัญหาเรื่องสุขภาพจิต
สารคดีได้สัมภาษณ์ นักออกแบบปุ่มไลค์ให้กับเฟสบุ๊คชื่อ จัสติน โรเซนสไตน์ เค้าบอกว่าในสมัยที่มีผู้ใช้งานน้อยมาก ตอนแรกที่ออกแบบปุ่มไลค์ เพียงเพราะต้องการให้คนส่งต่อความรู้สึกที่ดีต่อกัน แต่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะทำให้วัยรุ่นในปัจจุบันเกิดการเปรียบเทียบ และวัดคุณค่าของตัวเองผ่านยอดไลค์และแชร์
นั่นจึงทำให้มีอัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นอเมริกันเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวนับตั้งแต่เหล่าโซเชียลมีเดียย้ายเข้ามาอยู่ในโทรศัพท์
สารคดีเรื่องนี้จึงเปิดโปงข้อเท็จจริงเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง ยูทูป กูเกิล ทวิตเตอร์ ออกแบบไว้ ส่งผลต่อชีวติเราและการเมืองไว้อย่างไรบ้าง
อย่างไรก็ตาม บริษัททั้งหลายก็พยายามแก้ไขปัญหา และเชื่อว่าเหล่ากูเกิล ยูทูปเองก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้เป็นภัยต่อมนุษยชาติ
แต่สิ่งที่มีผลจริงๆคือเรื่องของกลไกทุนนิยม กลไกเศรษฐกิจต่างๆ ที่ออกแบบมาให้ระบบกลายเป็นแบบนี้
ปิดท้ายด้วยว่า "ทุกวันนี้ต้นไม้ที่ตายนั้น มีมูลค่ามากกว่าต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่"
ต้นไม้ที่ตายทั้งต้นและใบ ถูกเอามาแปรรูป สร้างบ้าน สร้างมูลค่าต่างๆมากมายมหาศาล ในขณะที่ต้นไม้ที่รอการเติบโต เราเก็บได้แค่ผล และผลิตอากาศหรืออกซิเจนให้กับโลกเท่านั้น(แอดว่านับค่าไม่ได้มากกว่า) ก็เปรียบเสมือนกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อจะเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันอำนาจและเม็ดเงินมหาศาลที่เกิดขึ้นในนั้นก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ว่ามันคือภัยคุกคามของมนุษยชาติที่ค่อยๆกัดกินความคิดและพฤติกรรมของเราไป
13 ตุลาคม 2563
ท่านเด็ก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา