13 ต.ค. 2020 เวลา 17:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#ทรัพยากรธรณี | #การทำเหมือง (mining) เริ่มจากการสำรวจ และสร้างแบบจำลอง ซึ่งต้องประเมินว่าแหล่งแร่ที่พบนั้นเป็น #สินแร่ (ore) หรือไม่ ซึ่งถ้าประเมินว่ามีความคุ้มทุนในทางเศรษฐศาสตร์ จึงจะมีการเปิดหรือทำเหมืองขึ้น ตามลักษณะหรือธรรมชาติของการสะสมตัวของสินแร่ ซึ่งปัจจุบันการทำเหมืองจำแนกได้ 5 วิธี คือ
.
1) #เหมืองเปิด (open-pit mining) นิยมทำกับแหล่งแร่ที่อยู่ในระดับตื้นใกล้พื้นผิว ซึ่งใช้ต้นทุนต่ำและปลอดภัยที่สุด แต่เนื่องจากต้องเปิดหน้าดินให้กว้างจึงเสียพื้นที่จำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม
.
2) #เหมืองใต้ดิน (underground mining) เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุด ทำในกรณีที่สายแร่อยู่ลึก แต่มีความเสี่ยงต่อการถล่มสูง
.
3) #เหมืองหิน (quarry mining) โดยส่วนใหญ่เป็นเหมืองหินประดับ (dimension stone) เช่น หินอ่อน หินแกรนิต เป็นต้น
.
4) #เหมืองดูด โดยส่วนใหญ่ทำกับ แหล่งแร่แบบลานแร่ (placer deposit) บริเวณน้ำตื้น เช่น เหมืองทราย เหมืองดีบุก เป็นต้น (#ภาพประกอบ)
.
5) #เหมืองละลาย (solution mine) โดยการอัดน้ำเข้าไปละลายแร่ เช่น เกลือ และสูบขึ้นมา จากนั้นผ่านกระบวนการระเหยเพื่อกำจัดน้ำออกจากเกลือ
.
#มิตรเอิร์ธ
โฆษณา