14 ต.ค. 2020 เวลา 03:19 • ปรัชญา
"ในเมืองเล็กๆนี้ มีผู้ชาย 2 คน"
บ้านของคนทั้งสอง มีแค่รั้วคั่นกลาง
ด้านหนึ่งเป็นข้าราชการเกษียนอีกด้านหนึ่งเป็นวิศวกรหนุ่ม
เขาทั้งสองได้ปลูกต้นไม้และดอกไม้ในเขตบ้านตัวเอง
หนุ่มวิศวะเป็นคนขยัน เขาจะใส่ปุ๋ยรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้ดอกไม้เจริญงอกงาม ผลิดอกออกผลสวยงามเต็มสวนหย่อม....
ส่วนผู้เฒ่าวัยเกษียน กลับไม่ได้ขยันเหมือนหนุ่มวิศวะ
ดอกไม้ของผู้เฒ่าจึงทั้งโตช้า ต้นเล็ก
แถมแคระแกนดูเหมือนจะตายมิตายแหล่.....
"คืนวันหนึ่ง"เกิดพายุฝนพัดกระหน่ำอย่างรุนแรง...
ในตอนเช้าวันถัดมา วิศวะหนุ่มเห็นต้นไม้ , ดอกไม้ ,
ที่ตัวเองปลูกอย่างทนุถนอม มีอันล้มระเนระนาด
ถอนรากถอนโคนขึ้นมาเกือบทั้งหมด...
ซึ่งผิดกับสวนหย่อมของผู้เฒ่าที่แทบจะไม่เสียหายเลย...
หนุ่มวิศวะถามผู้เฒ่าว่า ท่านแทบจะไม่เคยดูแลต้นไม้และดอกไม้เลย
แล้วทำไมต้นไม้และดอกไม้ของท่านถึงไม่เสียหายเลย
"ผู้เฒ่าตอบว่า" เพราะเจ้าให้น้ำให้ปุ๋ยมากเกินไปไงล่ะ
รากมันเลยไม่ไชลงดินลึก มันยังคงรอกินปุ๋ยและน้ำอยู่ใกล้ๆผิวดินที่เจ้าเติมให้ทุกวัน
มันสบายเกินไปทำให้อ่อนแอ ไม่สามารถต้านทานลมฟ้าอากาศที่รุนแรงได้
ส่วนผมให้ปุ๋ยและน้ำเพียงเล็กน้อยพอแก่การอยู่รอด
ทำให้รากของมันต้องขวนขวาย พยายาม
ไชรากลงลึกๆเพื่อหาอาหารเอง เหตุผลมีเท่านี้เองแหละ .....
"เช่นเดียวกัน"กับการเลี้ยงลูกของเรา
มีพ่อแม่จำนวนมาก ที่ไม่ทันคิด หรือคิดไม่ทัน
จนเป็นเหตุให้ลูกๆเสียโอกาสที่จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพ
การปกป้อง เป็นห่วง เลยกลายเป็นทำให้ลูกทุกอย่าง
นั่นแหละที่เรียกว่า ลูกเสียโอกาสในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพ
หลายๆเรื่องที่เด็กสามารถทำเองได้ในแต่ละช่วงวัย
ต้องปล่อยให้ลูกหัดทำเอง พ่อแม่แค่คอยดู แนะนำ
และช่วยแก้ไขสิ่งที่ลูกทำไม่สำเร็จ
การลงมือทำแทนลูก อาจทำให้ลูกขาดความมั่นใจในตัวเอง...
"สังคมปัจจุบัน"มีสิ่งแวดล้อมที่เย้ายวนใจมาก....
ผิดกับในอดีตที่มีพ่อแม่บางคนไม่ร่ำรวย
ไม่มีอำนาจ และอาจไม่รู้หนังสือด้วยซ้ำ
แถมเป็นคนชนบท แต่สามารถเลี้ยงดูลูกให้เป็นเถ้าแก่ใหญ่ได้
สามารถส่งเสียให้ลูกมีการศึกษาสูงๆได้...
ส่วนพ่อแม่ที่ให้ลูกทุกอย่าง ทำแทนทุกอย่าง
ปล่อยให้ลูกหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเย้ายวนของสังคมปัจจุบัน
ย่อมทำให้ลูกกลายเป็นจุดอ่อน เป็นปมด้อยของครอบครัว...
"การให้ที่มากเกินไป" อาจทำให้ดีเฉพาะจุดเริ่มต้น
แต่....อนาคต ก็ยากจะประสพความสำเร็จ.....
หลายวันก่อนผู้เขียนไปเข้าคิวทำธุระที่ธนาคาร
ระหว่างนั่งรอคิว ได้คุยกับแม่บ้านคนหนึ่ง
เธอบ่นว่าลูกตัวเองให้ฟังต่างๆนาๆ
เริ่มจากเรียนจบออกมาทำงาน ทำที่ไหนก็ทำได้ไม่นาน
ตอนนี้กลับมานั่งกินนอนกินอยู่บ้าน ค่ากินค่าอยู่ก็เงินพ่อแม่
บัตรเครดิสที่ใช้ส่วนตัวก็ยังให้พ่อแม่จ่าย
พอฉันบ่น มันพาลโกรธ ทะเลาะเสร็จออกไปเช่าบ้านอยู่เอง
ค่าเช่าก็มาให้พ่อแม่จ่ายให้.....
"แม่บ้านคนนี้"กลัวทุกอย่าง กลัวลูกลำบาก
กลัวไม่มีเงินใช้บ่นก็คือบ่น
แต่สุดท้าย... ก็คือต้องมาเบิกเงินให้มันใช้
การที่ลูกทำตัวแบบนี้ ก็ต้องโทษพ่อแม่เป็นต้นเหตุ
ลูกโตแล้วควรให้เขามีภาระรับผิดชอบตัวเอง
การใช้เงินในกระเป๋าคนอื่น นานๆเข้ามักจะคิดว่า เป็นความชอบธรรมแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงินของพ่อแม่ตัวเอง......
การให้มากเกินไป เป็นผลเสียชนิดหนึ่ง
แปล และเรียบเรียง โดย
เจงเอี่ยม แซ่อึ้ง
黄振炎 2/1/2020
คัดจากห้องไลน์ป.เอก สันติศึกษา
โฆษณา