14 ต.ค. 2020 เวลา 05:53 • ธุรกิจ
การผูกขาดของ 4 บิ๊กเทค ฯ กับการล่มสลายของธุรกิจอเมริกัน
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา The New York Times ได้รายงานข่าวว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติของพรรค Democrats เสนอต่อสภาให้ใช้กฎหมาย “Antitrust / กฎหมายต่อต้านการผูกขาด” ต่อ 4 บริษัทเทค ฯ ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา ได้แก่ Apple, Amazon, Google และ Facebook เนื่องมาจากการกระทำที่ถือเป็นการผูกขาดทางธุกิจของบริษัทเหล่านี้
ตัวแทนจากพรรค Democrats ได้เสนอวิธีแก้ปัญหาการผูกขาด โดยขอให้สภา ฯ ห้ามบริษัทเหล่านี้ทำการเลือกปฏิบัติ โดยการสนับสนุนแต่สิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์ของตนฝ่ายเดียว เช่น การที่ Google จะแสดงผลสิ่งที่เป็นแอปพลิเคชั่น หรือ บริการของ Google ในลำดับแรก ๆ ของการค้นหา นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการแบ่งแยกองค์กรของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ และห้ามบริษัทเหล่านี้เข้าซื้อกิจการของบริษัทอื่นในอนาคต
จากข่าวข้างต้นเราจะเห็นว่า ตัวแทนของ Democrats พยายามใช้ยาแรง ในการแก้ปัญหาการผูกขาดธุรกิจสื่อและเทคโนโลยีของ 4 บริษัทใหญ่ นั่นชี้ให้เห็นว่าความรุนแรงของปัญหาว่าน่าจะส่งผลกระทบมากทีเดียว 😱
หากเราจะลงลึกในรายละเอียดเพื่อจะดูว่า การผูกขาดนี้ส่งผลกระทบอย่างไรต่อธุรกิจอเมริกัน เราขอยกตัวอย่าง 2 ภาคธุรกิจ ซึ่งถึงแม้จะเป็นธุรกิจที่ต่างยุคกัน แต่ก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่ากันเลย
ผลกระทบต่อการอยู่รอดของสำนักพิมพ์ข่าว
รายได้หลักของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทข่าว เช่น หนังสือพิมพ์นั้นมาจากยอดโฆษณาที่ลงในสิ่งพิมพ์นั้น ๆ แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปคนอเมริกันในปัจจุบันหันไปเสพข่าวจาก Internet มากกว่าจะหาอ่านจากหนังสือพิมพ์หรือวารสารข่าวทั่วไป ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของกิจการ สำนักพิมพ์เหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอข่าวไปสู่ออนไลน์ โดยรายได้หลักก็ยังคงมาจากโฆษณาที่ลงในเวปไซต์ของตน ซึ่งแน่นอนว่าการจะให้คนเข้าถึงเวปไซต์ได้ก็ต้องอาศัย Search Engine อย่าง Google หรือ สื่อโซเชียลอย่าง Facebook ช่วยดึงคนเข้าเวป สิ่งที่ได้คือผลประโยชน์ต่างตอบแทนของทั้งสองฝ่าย คือ สำนักพิมพ์ข่าวได้ผู้เข้าชมเวปไซต์ Google และ Facebook ได้คอนเทนต์ข่าวไปนำเสนอในหน้าเวปของตน เรื่องน่าจะจบแบบแฮปปี้เอ็นดิ้ง แต่เรื่องก็ไม่เป็นเช่นนั้น 🤨
David Pitofoky ที่ปรึกษาของบริษัท New Corp, บริษัทที่เป็นเจ้าของ Wall Street Journal กล่าวว่า
“ตลาดของสำนักข่าวกำลังจะล่มสลาย เนื่องจากบิ๊กเทค ฯ เจ้าของออนไลน์แพลตฟอร์ม ทำการขายโฆษณาโยงกับข่าวซึ่งนำมาจากสำนักข่าว โดยไม่จ่ายส่วนแบ่งค่าตอบแทนให้สำนักข่าว ทำให้เงินค่าโฆษณาเหล่านี้ถูกแย่งไปจากสำนักข่าวเหล่านี้” 😤
https://www.nytimes.com/2020/09/22/technology/justice-dept-case-google-search-dominance.html?action=click&module=RelatedLinks&pgtype=Article
มีรายงานว่า บริษัทที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม อย่าง Google มักจะทำการเพิ่มเติมข้อมูลในหน้าเวปของคู่ค้า โดยไม่ขออนุญาตคู่ค้าก่อน ซึ่งนี่ก็อาจเป็นไปได้ว่า Google ทำการแปะโฆษณาสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับข่าวโดยไม่ได้ขออนุญาตเวปข่าวก่อน และเงินค่าโฆษณาที่ได้จะเข้ากระเป๋าใคร ? คุณก็น่าจะรู้ดี
ด้วยการปาดหน้าเค้กกันแบบนี้ทำให้ในปีที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวและสต๊าฟกว่า 2,900 คนต้องตกงาน รายได้ของสำนักข่าวนั้นตกลงอย่างน่าใจหาย จากยอด $49 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2006 ลดลงมาเหลือแค่ $15.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2017
นี่แค่ตัวอย่างแรก เราลองมาดูตัวอย่างที่สองกันดีกว่า
ผลกระทบต่อการอยู่รอดของ Start up
ธุรกิจ Start up เช่น บริษัท Software Developer, บริษัทที่ให้คำปรึกษาออนไลน์ / Online Solution, หรือ บริษัทเกมส์ อาศัยช่องทางการจัดจำหน่ายหลักผ่าน App Store ของ Apple และ Google Play ของ Google ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทเหล่านี้จะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้ Apple และ Google เป็นส่วนแบ่งจากยอดขายของ Software นั้น ๆ โดยเฉพาะ Apple นั้นคิดค่าส่วนแบ่งจากยอดขายสูงถึง 30 %
ตัวเลข 30 % เป็นตัวเลขที่ Apple ใช้ตั้งแต่เริ่มเปิดตัว App Store ในปี 2008 ซึ่งในตอนนั้นมีแอปให้ดาว์โหลดอยู่เพียง 500 แอป ผ่านไปแล้ว 12 ปี ณ ปัจจุบันปี 2020 มี แอปอยู่ใน App Store สูงถึง 2.2 ล้านแอป แต่ Apple ก็ยังหักค่าส่วนแบ่ง 30 % อยู่ดี 😢
จากตัวเลขข้างต้น โอกาสการที่แอปตัวหนึ่งจะถูกเลือกชื้อเมื่อ 12 ปีที่แล้วย่อมมีมากว่าปัจจุบันอย่างไม่ต้องสงสัย Andy Yan ผู้บริหารของ ProtonMail บริษัท Email Service ที่มี แอปใน App Store กล่าวว่า
“ในตลาดปัจจุบันบริษัทที่ได้กำไร 30 % มีจำนวนน้อยมาก ดังนั้นการจะเเบ่งกำไรมาให้ Apple ก็คือ บริษัทเหล่านี้ทำการผลักภาระต้นทุนมาให้ผู้บริโภค ดังนั้น สิ่งที่ ProtonMail ทำก็คือ ประกาศลดราคาค่าสมัครสมาชิกลง 30 % ถ้าลูกค้าหันมาสมัครโดยตรงกับ ProtonMail แต่ทันทีที่บริษัทประกาศออกไป แอปก็ถูกทำให้เข้าถึงได้ยากขึ้น ! “
การที่บริษัท Start up ต้องจ่ายค่าหัวคิวให้กับเจ้าของแพลตฟอร์มสูงมากขนาดนี้ ประกอบกับถ้าจะพยายามหาทางเป็นอิสระ ก็อาจถูกตอบโต้อย่างที่ ProtonMail โดน ดังนั้นสิ่งที่ Start up เหล่านี้ทำได้ คือ “ทนเอา” และ ผลักภาระต้นทุนไปให้ผู้ซื้อ นี่จึงเป็นคำตอบว่าทำไม่ราคาแอปถึงได้มีราคาค่อนข้างสูง หลายบริษัทที่สินค้าไม่เป็นที่แพร่หลายจึงทยอยปิดตัวลงไปตามระเบียบ ทำให้ตลาดของ Start up ต้องเป็นผู้ลงทุนที่มีเงินหนาสายป่านยาว จึงจะอยู่รอดในเกมส์นี้ได้ ปิดโอกาสผู้ที่มีมันสมองและฝีมือดีแต่เงินน้อย ต้องคอยทำงานเป็นลูกจ้างยากที่ผันตนมาเป็นเจ้าของบริษัท
นี่แค่ 2 ตัวอย่างข้างต้นของผลกระทบจากการผูกขาดที่เกิดขึ้น แต่เพื่อให้ครบตัวอย่างทั้ง 4 บิ๊กเทค เราขอเล่าตัวอย่างของ Amazon กับ Facebook เพิ่มเติม เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
ในส่วนของ Amazon นั้นขอยกตัวอย่างเรื่องของบริษัท Elastic เป็นบริษัท Start up ในอัมสเตอร์ดัม บริษัทนี้วางขาย Software ของตัวเอง ใน Amazon Cloud ที่เรียกว่า Amazon Marketplace Software ของบริษัทเป็นที่นิยมมาก บริษัทได้มีการขยายกิจการเพิ่มขึ้น
https://www.nytimes.com/2019/12/15/technology/amazon-aws-cloud-competition.html
ต่อมา Amazon ได้ก๊อปปี้ Software ของ Elastic แล้วประกาศให้เป็น Software ฟรี ทั้ง ๆ ที่ Software แบบเดียวกันของ Elastic ก็ยังวางขายอยู่ใน Amazon Marketplace
เมื่อเริ่มมีผู้ใช้มากขึ้น Amazon ก็เพิ่มฟีเจอร์แบบเสียตังค์ให้ดีแซงหน้า Software ต้นฉบับของ Elastic พร้อมทั้งโหมโฆษณาให้แก่ Software ของตน เมื่อ Elastic ตอบโต้โดยการ อัปเกรด Software ให้ใช้งานได้ง่ายกว่าเดิม และจำกัดการเข้าถึงและแก้ไขจาก Amazon ผลคือ Amazon ก็ก๊อป Software ตัวใหม่นี้ แล้วประกาศให้เข้าใช้งานได้ฟรี ทำซ้ำแผนเดิมจากที่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้ ผลก็คือ Elastic ฟ้อง Amazon ซึ่งขณะนี้เคสก็ยังไม่สิ้นสุด
ในส่วนของ Facebook นั้นทำการผูกขาดตลาดสื่อโซเชียลด้วยการเข้าซื้อกิจการของคู่แข่ง แพลตฟอร์มไหนที่ทำท่าว่าฮิตติดเทรน มีผู้เข้าใช้งานมากดูถ้าว่าอาจแซงหน้า Facebook ได้ Facebook ก็จะเข้าไปซื้อกิจการ อย่างในกรณีของการเข้าซื้อ Instagram ของ Facebook ในปี 2012 ที่ผ่านมาเป็นต้น
เรื่องกฎหมาย Antitrust ของอเมริกานั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เราจะได้เห็นเหตุผลของการใช้กฎหมายนี้ต่อต้านการผูกขาดของธุรกิจในอเมริกา ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นทุนนิยมสุดขั้ว แต่ยังให้โอกาสเกิดความแฟร์ในการแข่งขันทางธุรกิจ จนเราต้องตั้งคำถามว่า
“ทำไมต้องทำให้แฟร์ ถ้าแฟร์แล้วมันดีต่อผู้บริโภคยังไง”
เรื่องนี้คงต้องเล่ากันยาว ขอชวนเพื่อน ๆ มาร่วมหาคำตอบได้ในซีรี่ย์ “ Antitrust Laws “ ซึ่งจะนำมาลงในตอนหน้านะค่ะ
แหล่งข้อมูล
House Opens Tech Antitrust Inquiry With Look at Threat to News Media
House Lawmakers Condemn Big Tech’s ‘Monopoly Power’ and Urge Their Breakups
Prime Leverage: How Amazon Wields Power in the Technology World
How Apple’s 30% App Store Cut Became a Boon and a Headache
US tech giants accused of 'monopoly power'
โฆษณา