16 ต.ค. 2020 เวลา 12:39 • ประวัติศาสตร์
“การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 (Hungarian Revolution of 1956)” เมื่อประชาชนลุกฮือต้านอำนาจรัฐ
“การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 (Hungarian Revolution of 1956)” เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ฮังการี
เหตุการณ์นี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
สหภาพโซเวียตได้เข้าควบคุมยุโรปตะวันออกและจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในหลายๆ ประเทศ
กว่า 10 ปีจากนั้น ประชาชนชาวยุโรปตะวันออกได้พยายามจะหนีออกจากประเทศเหล่านี้ หากแต่ก็ถูกจับกุมโดยรัฐบาลโซเวียต
กว่า 10 ปีหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้เข้าควบคุมวิถีชีวิตชาวฮังการี
รัฐบาลโซเวียตได้จัดตั้งหน่วยตำรวจลับ และยังเป็นผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ในฮังการี
หนังสือพิมพ์ถูกจำกัดสิทธิในการเสนอข่าว โรงเรียนในฮังการีก็บรรจุหลักสูตรการสอนภาษารัสเซีย เสรีภาพในการนับถือศาสนาก็หายไปเช่นกัน
ตุลาคม ค.ศ.1956 (พ.ศ.2499) “Imre Nagy” ขึ้นเป็นประธานาธิบดีฮังการี
Imre Nagy
Nagy ต้องการให้ฮังการีพ้นจากอำนาจของสหภาพโซเวียต ประชาชนเองก็เช่นกัน
นักเรียนและเหล่าบัณฑิตได้ลงมาเดินถนน เรียกร้องให้รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น
ดูเหมือนการเรียกร้องจะได้ผล “Nikita Khrushchev” ได้ตกลงที่จะถอนทหารออกจากบูดาเปสต์ และวันต่อมา Nagy ก็ได้แถลงแผนการปฏิรูปต่างๆ รวมทั้งเสรีภาพของสื่ออีกด้วย
Nikita Khrushchev
เมื่อมีเสรีภาพมากขึ้น ประชาชนก็สามารถประท้วง ต่อต้านอิทธิพลของโซเวียตได้อย่างสะดวก
ต่อมา ฮังการีได้ประกาศ ขอถอนตัวจากสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) ซึ่งสนธิสัญญานี้ มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ สหภาพโซเวียตจึงใช้กำลังทหารเข้าจัดการ
รถถังของกองทัพรัสเซียได้บุกเข้ามาในบูดาเปสต์ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1956 (พ.ศ.2499) โดยประชาชนชาวฮังการีก็ไม่อยู่เฉย ต่างลงถนน ต่อสู้กับกองทัพโซเวียต
การลุกฮือของประชาชน หรือการปฏิวัติครั้งนี้ ทำให้ประชาชนชาวฮังการีกว่า 2,500 คนเสียชีวิต ทหารโซเวียต 700 นายเสียชีวิต และมีชาวฮังการีที่หนีออกนอกประเทศกว่า 200,000 คน
สำหรับ Nagy ซึ่งเป็นผู้นำฮังการี ก็ได้ถูกจับและนำตัวขึ้นศาล ก่อนจะถูกประหารชีวิตในปีค.ศ.1958 (พ.ศ.2501)
เหตุการณ์นี้ นับเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สงครามเย็น ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของสหภาพโซเวียต และสหภาพโซเวียตก็ยังคงมีอำนาจ ควบคุมฮังการีได้อีกครั้ง
โฆษณา