17 ต.ค. 2020 เวลา 04:50 • สิ่งแวดล้อม
"ช่วยสัตว์หนึ่งชีวิตอาจจะไม่ได้ทำให้โลกเปลี่ยนไป แต่มันอาจจะเปลี่ยนโลกทั้งใบของสัตว์ตัวนั้น"
เต่าแต่ละตัวในคลิปนี้ถูกพบเจอกลางทะเลบ้าง ตามชายหาดบ้าง แต่ละตัวล้วนมีเพรียงเกาะตามผิวหนังและกระดองเป็นจำนวนมาก ทำให้มันว่ายน้ำและหาอาหารได้อย่างยากลำบาก และอาจส่งผลถึงชีวิตของมันในเวลาไม่ช้า กลุ่มคนเหล่านี้จึงได้เข้าช่วยเหลือโดยการกระเทาะพรียงออก โดยใช้อุปกรณ์จำพวกมีด และแปรงขัด หลังจากนั้นก็ส่งเต่าที่ได้รับการช่วยเหลือกลับคืนสู่ท้องทะเล
แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าระหว่างการช่วยเหลือแบบในคลิปทำให้เต่าตัวนั้นติดเชื้อ หรือได้รับอันตรายจนตายในที่สุด การช่วยเหลือแบบในคลิปอาจจะไม่ผิด แต่ก็ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องนัก เพราะการช่วยเหลือเต่าเหล่านี้ให้หลุดพ้นจากเพรียงที่เกาะเต็มกระดอง ต้องกระทำอย่างเบามือ และระมัดระวังที่สุด เหมือนคุณไปขูดหินปูนต้องพึ่งพาหมอฟันฉันใด เต่าทะเลที่ต้องการความช่วยเหลือก็ต้องการหมอผู้เชี่ยวชาญฉันนั้น
ดังนั้นหากเราพบเห็นเต่าหรือสัตว์ทะเลใดๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือ ควรติดต่อศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ทะเลที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก 5 แห่ง ครอบคลุมทุกพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทย โดยร่วมกับเครือข่ายองค์กร มหาวิทยาลัย และภาคประชาชนใน 25 ชุมชน หากเครือข่ายรักษ์ทะเลไทย พบสัตว์ทะเลหายาก ทั้ง วาฬ/โลมา เต่าทะเล และพะยูน เกยตื้น ช่วยกันแจ้งกรม ทช. ได้ทุกหน่วยงาน และศูนย์วิจัย ทช. ในทุกพื้นที่ ดังนี้
1
- เขตชลบุรี - ตราด :085-082 5737
- เขตเพชรบุรี - ฉะเชิงเทรา : 086-349 1703 / 093-993 5616
- เขตประจวบฯ - สุราษฎร์ธานี : 091-158 9325 / 081-685 7329
- เขตนครศรีธรรมราช - นราธิวาส :090-925 2530
- เขตระนอง - สตูล : 086-672 1448
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society
ข้อมูลเพิ่มเติม: www.bluecarbonsociety.org
#BCS #BlueCarbonSociety #SeaTurtles #RescueSeaTurtles #เต่าทะเล #ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ทะเล #บลูคาร์บอนโซไซตี้
โฆษณา