20 ต.ค. 2020 เวลา 23:42 • การศึกษา
เครื่องใช้ไฟฟ้าจากอเมริกา มาใช้งานในไทย..ได้หรือไม่ ?
เครื่องใช้ไฟฟ้าจากไทย..ไปใช้งานที่อเมริกา..จะเป็นอย่างไร ?
ประเทศไหนใช้ไฟ 110 โวลต์.. ประเทศไหนใช้ไฟ 220 โวลต์?
ย้อนประวัติศาสตร์ นิดครับ
ฝั่งอเมริกา :
💡เริ่มต้นจากหลอดไฟของ โธมัส เอดิสัน : รับไฟจากแหล่งจ่าย 110 โวลต์
💡หลังจากนั้นแหล่งจ่ายไฟ 110 โวลต์ ใช้งานในแถบทวีปอเมริกาทั้งทวีป
ฝั่งยุโรป:
💡เยอรมนี ได้คำตอบว่า การจ่ายไฟที่ 220 โวลต์ เป็นจุดคุ้มค่ามากที่สุด
💡ต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วทวีปยุโรป รวมถึงประเทศไทย..
(ไทยเคยใช้ไฟ 110 โวลต์ แต่มีการเปลี่ยนเป็น 220 โวลต์ : ปี 2503)
ดูเหมือนว่า 220 โวลต์จะดีกว่า ?
แต่แรงดันที่น้อยกว่าเวลาถูกไฟดูด..ก็รุนแรงน้อยกว่า
(ตรงนี้คือข้อดี 110 โวลต์ : ปลอดภัยกว่า)
สรุปว่ามี 2 ค่ายสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า คือ ค่ายยุโรป และค่ายอเมริกา
ประเทศไหนที่ใช้ไฟ 110 โวลต์ ประเทศไหนใช้ไฟ 220 โวลต์
(ดูภาพประกอบเลยครับ)
ที่น่าแปลกใจคือ ประเทศญี่ปุ่น..มี 2 รูปแบบ (ลองซูมดู)
จ่ายไฟแรงดันเดียวกัน เหมือนอเมริกา แต่มี 2 ความถี่
(เรื่องความถี่ของระบบไฟฟ้า..จะเขียนอีกโพสต์นึงนะครับ)
กลับมาที่ประเด็นของเราเครื่องใช้ไฟฟ้า..
จากอเมริกา (110 โวลต์) มาใช้ในไทย (220 โวลต์) เป็นงัย?
คำตอบ : เครื่องใช้ไฟฟ้า..จะมีกลิ่นและควันตามมา..(ไหม้)
หากถามว่า..ทำไมอเมริกาถึงไม่เปลี่ยนมาใช้ไฟ 220โวลต์ ?
คำตอบคือ : อเมริกาเค้ามาไกลแล้ว..
การเปลี่ยนระบบมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากครับ
5
ดังนั้นก่อนการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งเราควรดู..
คู่มือ หรือ รายละเอียดข้อความที่กำกับอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าว่า..
เครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้ระดับแรงดันอะไร?
“หากสเปคเขียนว่า 100-240 โวลต์ อันนี้ใช้ได้เลยครับ”
-
-
-
ตัวแปลงไฟ..จะเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้งาน
เมื่อแรงดันไฟฟ้าไม่ตรงกับสเปคของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ตัวแปลงไฟ 220 โวลต์ เป็น 110 โวลต์
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
เครดิตภาพ : pixabay
โฆษณา