17 ต.ค. 2020 เวลา 13:00 • ปรัชญา
บางครั้งเรามักจะเห็นคนที่ชอบประกาศตัวเองว่ารู้ดีที่สุด เก่งที่สุด ชอบมองหาข้อผิดพลาดของคนอื่น ไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน
2
หรือถ้ารับฟัง ก็จะคิดไม่เหมือนตัวเอง เท่ากับว่าไม่รู้ ไม่ฉลาด ชอบโยนความผิดให้คนอื่น บางครั้งถึงกับแต่งเรื่องโกหกขึ้นมาเพื่อให้ภาพลักษณ์ตัวเองดีขึ้น เกิดขึ้นจากอะไร วันนี้ The money จะเล่าให้ฟัง
“มั่นใจ” หรือ “หลงตัวเอง” มีความคล้ายกัน?
-จากงานวิจัยหลายชิ้นบอกประมาณว่า “อาการ”กับ “นิสัย”หลงตัวเอง มีเส้นบางๆกั้นอยู่
เพราะหากมองลึกลงไป ไม่ว่าจะเป็นอาการหรือนิสัยก็มีรากมาจากความเชื่อมั่นในตัวเอง (Self-esteem) ซึ่งเป็นสิ่งที่ปลูกฝังสร้างสมมาตั้งแต่เด็ก ที่มาจากการเลี้ยงดู
เช่น ชายจิตกรคนหนึ่ง ชอบวาดรูป คิดว่าตัวเก่ง ต้องได้รับคำชมแน่ๆ แต่ความเป็นจริงกลับไม่ได้รับคำชม ไม่ได้รับความสนใจ ชายคนนี้ก็เลยรู้สึกน้อยใจ นี้เป็นส่วนเล็กๆของความ “หลงตัวเอง”
แต่หากมีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจจนทำเป็น “นิสัย” หรือก้าวร้าวใส่คนที่ไม่ได้ชื่นชมผลงานตัวเอง ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ฯลฯ อาการเหล่านี้เรียกว่า อาการหลงตัวเองแบบสุดโต่ง Narcissistic Personality Disorder (NPD)
-อาการหลงตัวเองสุดโต่ง คือ เป็นภาพลักษณ์และพฤติกรรมของคนที่หมกมุ่นอยู่กับความต้องการของตนเอง โดยไม่เข้าใจใยดีกับความต้องการของคนอื่นๆ จะทำการต่างๆเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ความสุข การได้อยู่เหนือคนอื่นๆ และด้วยความโลภของตนเอง
-ยกตัวอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอร์มันนาซี ขึ้นสู่อำนาจในระบอบประชาธิปไตย โดยการเลือกตั้งจากเสียงประชาชน แต่ได้กลายเป็นเผด็จการทหาร และนำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง อันเป็นสงครามที่สร้างความเสียหายที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
-คนที่ภูมิใจในตัวเองมักจะเปรียบเทียบตัวเราปัจจุบันกับตัวเราในอดีต แต่ไม่ได้เปรียบเทียบกับคนที่ด้อยกว่าเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น กลับกันหากเป็นโรคหลงตัวเองสุดโต่ง เขาจะหาโอกาสเอาเปรียบคน สร้างข้อเปรียบเทียบ เพื่อให้รู้สึกตัวเองดีกว่าคนอื่น
-คนแบบนี้จะนำเสนอผลงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเก่งมาก แต่หากเกิดข้อผิดพลาด คำแรกที่จะได้ยินคือ “คนนู้นผิด! ฉันถูก!”
-เป็นพฤติกรรมที่พยายามกดคนอื่น เหยียบคนอื่น เพื่อให้อยู่เหนือกว่าและดีกว่า
สรุป
คน “หลงตัวเองแบบสุดโต่ง” มีองค์ประกอบดังนี้ คือ 1.ภูมิใจและเชื่อมั่นในตัวเองสูงกว่าคนทั่วไป 2.คิดว่าเราสมบูรณ์แบบกว่าใครๆ หาโอกาสกดทับ เหยียดหยามผู้คน 3.ไม่เคยผิดเลยสักครั้ง 4.เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ต้องมีคนยอมรับตลอดเวลา
-โรคนี้ไม่มียารักษา แต่มีวิธีที่สามารถช่วยได้ด้วยการคุยกับจิตแพทย์ เพื่อปรับทัศนคติในการมองโลกและการสื่อสารกับคนรอบข้าง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคนรอบข้างและตัวเองด้วยถึงจะประสบความสำเร็จ
หากชอบบทความนี้ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมผลิตคอนเทนต์ดีๆมีมาให้ทุกวันด้วยครับ
#โรค #หลงตัวเอง #Themoney
โฆษณา