18 ต.ค. 2020 เวลา 16:28 • การตลาด
ร้านอาหารมีวิธีการออกแบบเมนูอาหาร (Food menu) อย่างไรที่ดึงดูดให้คนอยากสั่งอาหารเยอะ หรือเพิ่มได้เรื่อยๆนะ ?
เพื่อนๆคงต้องเคยรู้สึกว่า วันนี้ชั้นจะสั่งอาหารแค่ 2 อย่างพอ หรือ จะกินอาหารด้วยงบไม่เกิน 200 บาท เป็นต้น
อุตส่าห์เลือกร้านอาหารจานเดี่ยวมาแล้วแท้ๆ แต่ทำไมก็ไม่รู้ พอกินเสร็จนับจำนวนจานอาหารบนโต๊ะก็มีหลายใบอยู่ แงๆ
งั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า เมนูอาหารกระตุ้นอะไรได้บ้างที่ทำให้ผู้บริโภคอย่างเรา รู้สึกอยากสั่งอาหารเพิ่ม ?
1
เมนูอาหาร ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นได้ง่ายก็คือ ประตูของบ้าน
การออกแบบเมนูคงจะคล้ายกับการตกแต่งภายในและรอบๆบ้าน
หรือถ้าเปรียบเทียบกับการขายของ เมนูก็เปรียบเสมือน presentation slide ส่วนพนักงานบริการก็คือผู้ขายสินค้า
ถ้าเปรียบเทียบเพิ่มเติมกับโลกของการขายของ
สินค้าขายดี = เมนูยอดฮิต
สินค้าแนะนำ = Chef's Pick หรือ เมนูตามใจเชฟ
ความสำคัญของเมนูอาหารนั้น มีมากกว่าที่เพื่อนๆคิดนะ
มีทฤษฏีที่เกี่ยวกับการดีไซน์เมนูอาหาร อย่าง "Menu Engineering" ด้วยละ
Menu Engineering ถูกคิดค้นและออกแบบมาเพื่อ เพิ่มกำไรให้กับร้านอาหาร (ตามทฤษฏีคือ มากถึง 15%)
โดย กำไรหรือรายได้ที่เพิ่มขึ้น ก็มาจากการที่ลูกค้าสั่งอาหารเยอะขึ้นง่าย และการที่เราเข้าใจในเรื่องของต้นทุนการประกอบอาหาร และกำไรนั้นเอง
Menu Engineering ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ปี 1970 โดย Boston Consulting Group
ใจความหลักๆคือ
1. การวิเคราะห์ต้นทุนของส่วนประกอบของอาหาร (แต่ละเมนู)
2. การจัดเรียงลำดับ และหมวดหมู่ของอาหาร ตามกำไรและรายได้เมื่อหักลบต้นทุนและราคาขาย
3. การดีไซน์องค์ประกอบของเมนู
อธิบายเพิ่มเติมเบาๆ
1. การวิเคราะห์ต้นทุนของส่วนประกอบของอาหาร (แต่ละเมนู)
- เอาง่ายๆก็คือ การสร้างราคาของเมนูอาหารนั้นเอง
- ข้าวผัดจานนี้จะต้องราคาเท่าไร ? เสต็กปลามีกี่ประเภท ต้องตั้งราคาเท่าไรถึงจะกำไร และมีความได้เปรียบกว่าร้านอื่น ?
- ถ้าเราตั้งที่ราคา 100 บาทต่อจาน เราจะได้กำไรเท่าไรต่อจาน ?
2. การจัดเรียงลำดับ ตามกำไรและรายได้
- เรียงเป็น 4 รูปแบบง่ายๆเลยนะ
ดาว — กำไรสูง ความยอดนิยมสูง
ม้า — กำไรต่ำ ความยอดนิยมสูง
เครื่องหมายคำถาม "ปริศนา" — กำไรสูง ความยอดนิยมต่ำ
สุนัข— กำไรต่ำ ความยอดนิยมต่ำ
https://www.menucoverdepot.com
3. การดีไซน์องค์ประกอบของเมนู
- ระยะห่างของแต่ละเมนู ควรมีพื้นที่จัดเรียงให้ดูสะดวก
- จำนวนเมนูอาหาร (ไม่ควรเกิน 1 หน้า)
- รูปภาพของอาหาร (ซึ่งถ้าร้านของเพื่อนๆเป็นร้านอาหารหรู ก็จะไม่นิยมใช้รูปอาหารกันนะ)
https://www.menucoverdepot.com
เทคนิค สามเหลี่ยมทองคำแห่งสายตา (Golden Triangle)
- คนส่วนใหญ่มักจะมองสิ่งที่อยู่ตรงกลางเป็นสิ่งแรก
- เพราะฉะนั้นนี้คือจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่ร้านอาหารส่วนใหญ่ก็จะนำเมนูแนะนำ หรือ โปรโมชั่นเข้ามาไว้ตรงกลางเมนู
- สายตาของคนเรามักจะโฟกัสจากตรงกลางของเมนู และลากสายตาขึ้นไปยังมุมบนซ้ายและขวา
- ร้านอาหารฝรั่งส่วนใหญ่จะนำเมนูอาหารที่พวกเค้าได้กำไรมากที่สุด นำมาไว้ในส่วนตรงกลางของเมนู
การเลือกใช้คำอธิบาย ที่ทำให้ลูกค้าเห็นภาพราวกับว่าอาหารอยู่ตรงหน้า
- ร้านอาหารสมัยใหม่ รวมถึงเชฟ ได้มีการปรับตัวเพื่อสร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่างของร้าน โดยการสร้างเมนูใหม่ๆ หรือแท้กระทั่งนำเมนูดั้งเดิม มาทำชื่อใหม่ก็มีเยอะนะ
- หรือ การที่เรานำเมนูอาหารของต่างประเทศมา อาจจะทำให้เกิดความยากในการสั่งอาหารได้
- สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วยการเขียนคำอธิบายที่สั้นและได้ใจความข้างล่างของชื่อเมนู
- ถ้าเป็นคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษที่เราพบได้บ่อย แค่เห็นก็เกิดความอยากลองชิมแล้ว ก็เช่น "Freshly-baked", "Organic" "Hand-picked", "Fresh from farm", "Cheese import from"
- ถ้าเป็นภาษาไทยก็คงจะเป็นแนว "ฝีมือคุณแม่" "ดั้งเดิมจาก..." "สูตรคุณ..." "ผัด/อบ อย่างลงตัวกับ..." "หอมกลิ่นไหม้ของกระทะ"
- โดยเทคนิคนี้ นอกจากจะทำให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารและ เข้าใจส่วนผสมของเมนูอาหารที่มีการตั้ง หรือนำชื่อสุดแปลกและน่าสนใจ ได้มากขึ้น
- แถมยังเป็นการประหยัดพื้นที่การออกแบบเมนู โดยไม่ต้องพึ่งรูปภาพเลยแม้แต่น้อย (ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้อีกนิดนึง)
- พูดถึงการที่ไม่มีภาพถ่ายของอาหาร ก็มีดีและไม่ดีปนกันไปนะ
แต่เรามองถึงในมุมที่ดีก็คือ ไม่ต้องมีเมนูหลายหน้า และลูกค้าจะไม่มีการเปรียบเทียบกับภาพที่สวยงามกับจานอาหารข้างหน้าพวกเค้า
- เพื่อนๆสามารถดึงดูดความสนใจด้วยชื่อเมนูสุดสร้างสรรค์ได้มากตามที่ต้องการเลยละ ! ^^
การจัดเรียงลำดับราคา ของอาหารในเมนูก็สำคัญเหมือนกันนะ !
- อย่างที่เพื่อนๆรู้กันว่า เวลาสั่งอาหารจริงๆเนี่ย ลูกค้าที่มาเป็นกลุ่มเพื่อนๆ มักจะสั่งอาหารเกินราคาที่กำหนดไว้อยู่เสมอๆ
- เทคนิคนึงที่ร้านอาหารชอบใช้กัน โดยเฉพาะร้านอาหารฝรั่ง คือการเรียงลำดับราคา โดยนำอาหารจานหลักที่มีราคาสูงขึ้นมาไว้เป็นอันดับต้น ตรงกลางของเมนู
- ในขณะที่ Side dish หรือ ของทานเล่นจะนำไว้ด้านล่าง เพราะนั้นจะเล่นกับจิตใจของลูกค้าอารมณ์แบบว่า สั่งเพิ่มเป็นของทานเล่นราคาไม่แรงเท่าไรนี่ (เมื่อเทียบกับเมนูด้านบน)
- สั่งทีละอย่าง 2 อย่าง เผลอแปปเดียวจบไปที่ 5 อย่างซะแล้วจ้าา (ซึ่งราคาอาจเทียบเท่ากับจานหลัก 1 จาน)
เพื่อนๆจะเห็นได้เลยว่า การตลาดอยู่กับเราไปทุกที่ ไม่ใช่แค่ตอนช็อปปิ้งนะ แต่ว่าในเวลาที่เราต้องการปัจจัย 4 เช่นอาหารก็เช่นกัน
ส่วนผู้ขายเองก็จะได้นำเสนอจุดเด่นของร้านตัวเองได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้เทรนด์การสั่งอาหารผ่าน Grab, Gojek, Foodpanda ก็มาแรงจริงๆ
คอนเท้นของเมนูที่นอกเหนือจากการดีไซน์รูปแบบหรือรูปภาพเนี่ย ก็สำคัญมากๆำม่แพ้กันเลยละ
โฆษณา