18 ต.ค. 2020 เวลา 11:09 • การเมือง
บทเรียนจากยูเครน ชัยชนะของการประท้วง สู่ความพ่ายแพ้ของประเทศ
เป็นเวลากว่าร้อยปี ที่ ประเทศยูเครน เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างฝั่งตะวันตก และ ตะวันออกของประเทศรัสเซีย ซึ่งในที่สุดในปี 1991 ยูเครนก็ได้รับเอกราช
บทเรียนจากยูเครน ชัยชนะของการประท้วง สู่ความพ่ายแพ้ของประเทศ
การเมืองของยูเครนนิ่งมานาน จนการมาถึงของ วิคเตอร์ ยานูโควิช ในช่วงปี 2013 ผู้นำคนสำคัญที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ประเทศยูเครนอย่างสิ้นเชิง จากการที่เขาเป็นคนฝักใฝ่ฝ่ายรัสเซีย และออกห่างจากยุโรป ซึ่งเป็นวิธีการที่ชาวยูเครนส่วนใหญ่รับไม่ได้ เพราะเป็นการพาประเทศเดินถอยหลังกับการไปคบหากับรัสเซีย
4
จุดเริ่มต้นของการปฏวัตินั้นเริ่มที่จตุรัส ไมดาน กลางกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ซึ่งเริ่มมีประชาชนที่ไม่พอใจ ประธานาธิบดี ยานูโควิช ได้ทยอย ๆ เข้าร่วมร่วมกับผู้นำฝ่ายค้าน ที่มาเข้าร่วมชุมนุมกับประชาชน
1
ด้วยกระแสทาง Social Network อย่าง Facebook ทำให้ประชาชนเริ่มทยอยมาที่จตุรัสไมดานมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการต่อสู้ด้วยพลังของประชาชนอย่างแท้จริง
1
ประชาชนต้องการเรียกร้องให้นำยูเครนเข้าสู่สหภาพยุโรป โดยวันแล้ววันเล่าที่ประชาชนต่างมาเรียกร้อง ก็ยังไม่มีการตอบสนองจากรัฐบาลเกิดขึ้น
ประชาชนหลั่งไหลมารวมตัวกันที่จตุรัสไมดาน
เริ่มมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทางรัฐบาลส่งมาปราบปราม ภาพการปะทะนั้นได้รับการเผยแพร่ไปทั่ว Social Network รวมถึงช่องทีวีดัง ๆ จากทั่วโลก
หลังจากการถูกปราบปรามจากตำรวจที่จตุรัส ไมดานแล้วนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ก็ได้หนีไปยังโบสถ์ เซ็นต์ไมเคิล หรือ วิหารทองคำ และเริ่มมีการจัดระเบียบการชุมนุมมากขึ้น เริ่มมีส่วนของสเบียงอาหาร รวมถึง มีส่วนของศูนย์การแพทย์ เพื่อช่วยเหลือผู้ชุมนุม ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของการชุมนุมนั้น ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นวัยรุ่นยุคใหม่ทั้งสิ้น
1
หลังจากการถูกปราบปรามในครั้งแรกก็ทำให้เริ่มมีประชาชนหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ ทั่วประเทศเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเฉพาะประชาชนเมืองเคียฟแล้วเท่านั้น ซึ่งทำให้ขนาดของการชุมนุมมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าครั้งแรกที่จตุรัสไมดานอย่างเห็นได้ชัด
คนนับแสนเริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ใจกลางเมืองเคียฟ ไม่ใช่แค่เพียงเหล่านักศึกษารุ่นใหม่อีกต่อไป ชาวยูเครนต่างพร้อมใจกันเป็นฝ่ายเดียว ไม่มีแบ่งแยกสี จากนั้นก็เดินหน้ากลับไปที่จตุรัสไมดานอีกครั้ง
ซึ่งคราวนี้ เหล่าคนดังทั้งหลาย รวมถึง เซเลบชื่อดัง ต่างมาร่วมชุมนุมด้วยทั้งสิ้น ทำให้การชุมนุมกลับมาครึกครื้นขึ้นอีกครั้งหลังจากการถูกปราบปรามในครั้งแรก
หลายคนที่โกรธแค้นจากที่ถูกปราบปรามในครั้งแรกนั้น เริ่มคิดแผนที่จะยึดทำเนียบประธานาธิบดี ที่อยู่ไม่ไกลจาก จตุรัสไมดาน ซึ่งคราวนี้เริ่มมีการใช้ความรุนแรงขึ้นจากกลุ่มผู้ชุมนุมเอง ตำรวจก็ต้องเริ่มจัดการโดยใช้แก๊สน้ำตาอีกครั้ง และ ด้วยจำนวนตำรวจที่มาป้องกันนั้นมีมากกว่าชุมนุม พร้อมอาวุธคือ กระบอง ที่ใช้ในการจัดการผู้ชุมนุม
การปะทะกันรอบสองนี้ทำให้ผู้ชุมนุมบาดเจ็บไปเป็นจำนวนมากกว่าครั้งแรก หลายคนบาดเจ็บสาหัส จากการกระทำของกลุ่มตำรวจ ทำให้ภาพเหล่านี้กระจายไปยังวงกว้าง ผ่านทั้ง Social Media รวมถึงช่องทีวีต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
2
หลังจากนั้นเริ่มมีกระแสกดดันจากนานา ประเทศ เริ่มได้ส่งตัวแทนเข้ามาเจรจาปัญหากับรัฐบาลยูเครน เพื่อให้แก้ปัญหานี้อย่างสันติ
แต่ท่าทีของรัฐบาลนั้นเริ่มชัดเจนว่า ต้องการกวาดล้างผู้ชุมนุมสร้างความวุ่นวายให้หมด โดยยกกองกำลังตำรวจจำนวนมหาศาล มาล้อมจตุรัสไมดานไว้
1
ซึ่งในคืนวันที่ 11 ธันวาคมของ ปี 2013 สถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่พยายามผลักดันผู้ชุมนุมให้สลาย ไม่สามารถต้านทานพลังของผู้ชุมนุมที่เข้ามามากขึ้นได้ ทำให้ต้องถอนกำลังออกไป เริ่มมีการประนามจากนานาประเทศ เนื่องจากเหล่าผู้ชุมนุม ส่วนใหญ่ได้มีการชุมนุมอย่างสันติ
1
เจ้าหน้าที่เริ่มใช้ความรุนแรงกับประชาชน
เมื่อถึงวันที่ 20 ของการชุมนุม รูปแบบการชุมนุม ก็พร้อมมากขึ้น มีการฝึกปฏิบัติกับสถานการณ์หากถูกสลายการชุมนุม เริ่มมีการตั้งสิ่งกีดขวาง ไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงได้ รวมถึง เริ่มมีหน่วยลาดตระเวนบริเวณที่ชุมนุม เพื่อรักษาความปลอดภัย และไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มมือที่สามที่มีโอกาสเข้ามาสร้างสถานการณ์ รวมถึงกลุ่มผู้นำศาสนาเริ่มเข้ามามีบทบาทกับการชุมนุมมากยิ่งขึ้น
1
ในที่สุด ชาวยูเครนก็ต้องมาฉลองปีใหม่ที่จตุรัสไมดาน ร่วมกัน เค้าดาวน์ ต้อนรับปีใหม่ 2014 ร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุม กว่าแสนชีวิต
1
หลังจากนั้นการชุมนุมก็ยืดเยื้อมากว่า 2 เดือน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นที่เป็นรุปธรรม ตามความต้องการของผู้ชุมนุมเลย พรรคฝ่ายค้านที่ไปทำหน้าที่ในสภาก็ไม่สามารถทำให้อะไรดีขึ้นไปได้ มีแต่การประชุม ๆ ซึ่งไม่มีอะไรคืบหน้าสำหรับเหล่าผู้ชุมนุมเลย รวมถึง ทาง ยานูโควิช ก็แสดงเจตจำนงให้ปล่อยให้การชุมนุมยืดเยื้อไปอย่างงี้ และไม่ได้ตอบสนองใด ๆกับสิ่งที่ผู้ชุมนุมเรียกร้อง
1
กลุ่มผู้ชุมนุม เริ่มไม่เชื่อ กับการแก้ไขปัญหาโดยนักการเมือง เริ่มมีการต่อสู้อย่างจริงจรังกับตำรวจ โดยมีการปะทะกันหลายครั้ง ซึ่งรอบนี้ตำรวจเริ่มใช้ไม้แรงขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มยิงกระสุนยาง เพื่อต้านกลุ่มผุ้ชุมนุม แต่เนื่องจากสถานการณ์เริ่มยืดเยื้อมานาน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุม ไม่กลัวตำรวจอีกต่อไป รวมถึง มีการฝึกรับมือมาอย่างดี ทำให้ เริ่มมีการใช้ความรุนแรงจากทั้งสองฝ่ายมากยิ่งขึ้น กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มใช้อาวุธอย่าง ระเบิดเพลิง เริ่มมีการจุดไฟเผายาง เพื่อป้องกันไม่ให้ตำรวจเข้าจู่โจม สถานการณ์เริ่มเลวร้ายลงไปเรื่อย ๆ
1
พอถึงวันที่ 63 ของการชุมนุม เริ่มมีความอลหม่านมากยิ่งขึ้น ตำรวจเริ่มจะมีการสลายการชุมนุมอีกครั้ง ตอนนี้สถานการณ์เริ่มร้ายแรง ตำรวจเข้าทำลาย แม้กระทั่ง สถานพยาบาลชั่วคราวที่ไว้รักษาอาการบาดเจ็บของผู้ชุมนุม เริ่มมีการใช้กระสุนจริง กับผู้ชุมนุม ทำให้มีคนตายในที่สุด
หลังจากยืดเยื้อไปถึงวันที่ 90 ก็ได้มีการปะทะครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง ณ ขณะนี้ จตุรัส ไมดาน กลายเป็นกองเพลิงขนาดใหญ่ ที่ผู้ชุมนุมต่างจุดไฟเผา เพื่อไล่กลุ่มตำรวจ ต้องบอกว่า สถานการณ์เลวร้ายแบบสุด ๆ เริ่มมีการเผาตึกรามบ้านช่อง ทำให้เคียฟ กลายเป็นทะเลเพลิง เริ่มมีผู้เสียชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ
ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุม และ ตำรวจ เริ่มกลายเป็นสงครามกลางเมืองเข้าไปทุกที ตอนนี้เริ่มมีการใช้อาวุธหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตำรวจเริ่มนำปืนกลมาใช้ รวมถึง สไนเปอร์ เพื่อดักยิงกลุ่มผู้ชุมนุม แต่กลุ่มผู้ชุมนุม ก็ยังไม่มีท่าทีจะยอมแพ้แต่อย่างใด แม้ต้องเอาตัวเองไปรับกระสุน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนที่บาดเจ็บออกมาก็ตาม
2
หลังจากผ่านวันสุดเลยร้าย รัฐบาลเริ่มโอนอ่อน เริ่มมีการเสนอทางเลือกให้ มีการเลือกตั้งในช่วงปลายปี 2014 แต่ต้องบอกว่าหลังจากความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงนั้น กลุ่มผู้ชุมนุม ไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว ต้องการให้ ยานูโควิช ลาออกเท่านั้น
สุดท้ายด้วยความกดดันจากทุกทาง ที่มีมาเรื่อย ๆ รวมถึงผู้คนที่ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ประชาชนก็ไม่ยอม ต้องให้เค้าออกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สุดท้าย ยานูโควิช ก็ทนความกดดันไม่ไหว ต้องหนีออกจากเคียฟไปในที่สุด และชัยชนะ ก็เป็นของเหล่าผู้ชุมนุมในที่สุด เป็นการสิ้นสุดการปฏิวัติ ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งนึงของโลกเราเลยก็ว่าได้
2
ต้องบอกว่าการปฏิวัติครั้งนี้ ถือเป็นผลสำเร็จของการชุมนุมโดยประชาชนโดยแท้จริง สุดท้ายรัฐบาลก็ไม่สามารถทนต่อแรงกดดัน ที่ประชาชนต่อสู้มาอย่างยาวนานต่อเนื่องได้ จุดเปลี่ยนสำคัญน่าจะเกิดจากการใช้กำลังจนเริ่มควบคุมไม่อยู่ ทำให้มีการสังหารประชาชนโดยใช้กระสุนจริง ๆ และอาวุธที่ร้ายแรงอย่างต่อเนื่อง ๆ
ที่ยูเครน เหล่าประชาชนสู้ด้วยพลังที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง แม้จะมีแกนนำที่เป็นนักการเมืองฝ่ายค้านอยู่ด้วย แต่สุดท้าย เค้าก็ไม่เชื่อแกนนำเหล่านี้อยู่ดี เพราะมีผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ถึงแม้จะมีคนตายจำนวนมาก เค้าก็พร้อมที่จะฝ่าดงกระสุน โดยใช้เพียงโล่เป็นเกราะป้องกันเท่านั้น จะเห็นได้ถึงความบริสุทธิของพลังมวลชนจริง ๆ
1
ชัยชนะของการประท้วงจากพลังที่บริสุทธิ์ของประชาชนชาวยูเครน
จุดจบของการประท้วงหลายครั้ง ก็ เริ่มมาจากความรุนแรง จากฝั่งรัฐบาลทั้งนั้น ถ้าปราบปรามได้สำเร็จก็ถือเป็นผู้ชนะ แต่ที่ยูเครน แม้จะใช้กำลังยังไง ประชาชนก็ต่อสู้จนหยดสุดท้ายของชีวิต โดยแทบไม่มีอาวุธในการต่อกรกับตำรวจเลย ซึ่งต้องบอกว่าเป็นชัยชนะที่เกิดขึ้นจากพลังบริสุทธิ์ของประชาชนโดยแท้จริง
2
เหตุการณ์พลิกผัน เมื่อชัยชนะของการประท้วงนำมาสู่ความพ่ายแพ้ของประเทศยูเครน
ห้าปีต่อมา ยูเครนไม่ใช่พันธมิตรทางการเมืองของรัสเซียอีกต่อไป ยูเครนได้รับการผลักดันให้เข้าร่วมสหภาพยุโรป และ NATO ทำให้ชาวยูเครน สามารถเดินทางไปยังสหภาพยุโรปได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า
1
แต่ในไครเมียยังคงถูกยึดครอง บนความขัดแย้งที่ระอุ ยังมีผู้เสียชีวิตหลายคนต่อเดือนและชาวยูเครนจำนวนมากต้องเผชิญกับความยากจนมากกว่าก่อนการปฏิวัติเสียอีก
“ เราแย่กว่าเมื่อห้าปีที่แล้ว” Smolkovich ซึ่งเป็นสามีของ Ihor ทำงานที่ไซต์ก่อสร้างในเมือง Gdansk ทางตะวันออกเฉียงเหนือของโปแลนด์ และ Yulia ลูกสาวคนโตซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยใช้เวลาช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาขัดเล็บที่ร้านเสริมสวยในตุรกี
ในปี 2014 มีเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ของชาวยูเครนที่มีรายได้อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน แต่เมื่อปี 2019 จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ ธนาคารโลก กล่าว
2
การปฏิวัติตามมาด้วยภาวะถดถอยที่ทำให้ค่าเงินฮรีฟนาของยูเครนลดลง เคียฟตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับมอสโกทำให้สูญเสียตลาดสำหรับอาหารและตัดความสัมพันธ์ที่ยาวนานหลายทศวรรษกับอุตสาหกรรมการผลิตของรัสเซีย รวมถึงอุตสาหกรรมการทหารและอวกาศ
2
รัฐบาลกลางไม่ได้ควบคุมพื้นที่อุตสาหกรรมและเหมืองถ่านหินในพื้นที่ทางตะวันออกอีกต่อไป และสงครามได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วมากกว่า 10,000 คนและมีผู้คนพลัดถิ่น 1.7 ล้านคนนับตั้งแต่เริ่มต้นในปี 2014
1
สภาพเศรษฐกิจของยูเครนดิ่งลงเหว และอยู่รอดได้โดยพึ่งพาการกู้ยืมเงินหลายพันล้านดอลลาร์จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
1
แต่สิ่งที่เจ็บปวดที่สุด ยิ่งกว่าเศรษฐกิจที่ย่ำแย่สำหรับชาวยูเครน คือ ความรู้สึกที่ผู้นำยูเครนคนใหม่หลังการปฏิวัติอย่างยิ่งใหญ่โดยพลังบริสุทธิ์ของประชาชน ล้มเหลวในคำสัญญาที่ให้ไว้กับกลุ่มผู้ประท้วง
2
หนึ่งในนั้นคือคำมั่นสัญญาของ โปโรเชนโก ผู้นำคนใหม่หลังการปฏิวัติก็คือจะลงโทษผู้ที่สังหารผู้ประท้วง 106 คนที่เรียกว่า “Heavenly Hundred” ซึ่งรูปถ่ายของผู้เสียชีวิตสามารถพบเห็นได้ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในสถานที่ราชการ ในโรงเรียนและโบสถ์
1
ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2019 ศาลในเคียฟได้ตัดสินให้ ยานูโควิช ถูกจำคุก 13 ปีในข้อหากบฏ แต่อดีตประธานาธิบดีก็อาศัยอยู่อย่างสุขสบายในรัสเซียตอนใต้
นายยูริ ลุตเซนโก อัยการของยูเครน กล่าวว่า เจ้าหน้าที่สืบสวนระบุผู้ต้องสงสัยว่าสังหารผู้ประท้วง 66 คน อย่างไรก็ตามพวกเขา 46 คน ได้หลบหนีไปรัสเซียหลังจากการถูกกำจัดของยานูโควิช และอีก 20 คนถูกคุมขังเพื่อรอการพิจารณาคดี
3
ผู้พิพากษาส่วนหนึ่งทั่วยูเครนที่ มีการแจ้งดำเนินคดีเก่าเหล่าผู้ประท้วง และลงโทษการจับกุมในช่วงการมีอำนาจของยานูโควิช 55 คนจากทั้งหมด 337 คนถูกไล่ออก
Roman Maselko ทนายความและกรรมการกำกับดูแลสำนักงานต่อต้านการทุจริตแห่งชาติของรัฐกล่าว เขากล่าวเสริมว่า ผู้พิพากษาที่เหลือยังคงทำงานต่อไปหรือเกษียณอายุไปพร้อมกับสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
“ คำสัญญาจบลงด้วยการหลอกลวงเพราะประธานาธิบดีคนใหม่เข้ามามีอำนาจเพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งให้ตัวเองเพียงเท่านั้น” เซอร์ไฮย์ เลชเชนโก นักวิเคราะห์การเมืองจากเคียฟ กล่าว
1
“ห้าปีเป็นเวลานานที่ต้องรอเมื่อต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและสำหรับเหยื่อส่วนใหญ่ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากน้ำมือของตำรวจยูเครน แต่ความยุติธรรมก็ยังไม่อยู่ในสายตาของเหล่าผู้นำคนใหม่” Colm O Cuanachain จากองค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวกับนักข่าว
2
ปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งคือการทุจริตที่เป็นมะเร็งร้ายที่กัดกร่อนไปยังทุกภาคส่วนของประเทศยูเครน เป็นปัญหาหยั่งรากลึก ที่ยากจะแก้ไข แม้จะมีการปฏิวัติครั้งใหญ่จากพลังที่บริสุทธิ์ของประชาชนไปแล้วก็ตามที
1
การขาดความเด็ดขาดในการขจัดคอร์รัปชั่นตลอดจนความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่กับรัสเซียทำให้ในการเลือกตั้งใหม่ของนายโปโรเชนโก เขาพ่ายแพ้อย่างถล่มทลายในเดือนเมษายน 2019
โดยเขาพ่ายแพ้ให้กับ Volodymyr Zelensky อดีตนักแสดงตลก ที่สัญญาว่าจะดำเนินการกับการทุจริตอย่างเด็ดขาด และทำการปฏิรูปเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเหมือนเป็นการมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้งสำหรับประเทศยูเครน
Volodymyr Zelensky ความหวังครั้งใหม่ของชาวยูเครน
ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ๆ สำหรับประเทศไทยเราเช่นเดียวกัน เมื่อเราได้เห็นบทเรียนจากหลายประเทศ ไม่ใช่แค่เพียงประเทศยูเครนเท่านั้น การปฏิวัติในยุคหลังที่ใช้เครื่องมือสำคัญอย่าง Social Media เป็นกลไกสำคัญในการปฏิวัติ พบว่า ผลที่ตามมานั้นทำให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาแทบจะทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ อาหรับสปริง ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสถาบันกษัตริย์ และ ผู้นำเผด็จการที่มาจากสายทหาร คล้าย ๆ กับในประเทศไทย หรือ การประท้วงครั้งใหญ่ในฮ่องกง (ที่ไม่ประสบผลสำเร็จ) ที่ต้องต่อสู้กับระบบที่ดูเหมือนเป็นเผด็จการเองก็ตาม
1
ซึ่งผลที่ตามมาได้สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นต่อเนื่องในภายหลัง ไมว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ การคอร์รัปชั่นที่ไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งของผู้คนในสังคมที่ไม่ได้ลดลงไปเลย ซึ่งต้นตอของปัญหานั้นไม่ได้ถูกขจัดไปอย่างแท้จริงแม้จะผ่านการปฏิวัติมาแล้วก็ตามที
ซึ่งแน่นอนว่าการปฏิวัติที่สำเร็จอย่างที่เราเห็น มันเกิดขึ้นโดยพลังที่บริสุทธิ์โดยประชาชนเช่นเดียวกัน แต่หากทำได้สำเร็จ สุดท้ายเราทุกคนก็ต้องหาวิธีที่จะทำให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า อย่าให้ติดหล่ม และสร้างความขัดแย้งต่อเนื่องไม่จบสิ้นเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นเป็นบทเรียนที่ผ่านมาแล้วนั่นเองครับ
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
=========================
ติดตาม ด.ดล Blog ผ่าน Line OA เพียงคลิก :
=========================
ฟัง PodCast เรื่องเกี่ยวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ที่ Geek Forever’s Podcast
——————————————–
ฟังผ่าน Podbean :
——————————————–
ฟังผ่าน Apple Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Google Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Spotify :
——————————————–
ฟังผ่าน Youtube :
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
=========================
โฆษณา