19 ต.ค. 2020 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
ย้อนอดีตไปกับ "รถราง" เที่ยวสุดท้ายในกรุงเทพ
รถรางเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2431 เริ่มกิจการโดยการใช้ "ม้าลาก" ไปตามราง
ภายหลังก็ได้พัฒนาระบบการเดินรถจากม้าลากมาเป็นกำลังไฟฟ้าซึ่งได้เปิดใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2437 โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้กำลังไฟฟ้าในการเดินรถราง
แต่ในที่สุดวันที่ 30 กันยายน 2511 ก็เป็นวันสุดท้ายของการเดินรถรางสายรอบเมืองของกรุงเทพก่อนที่จะปิดทำการหลังจากดำเนินการมาถึง 80 ปี
และเหตุผลที่ยกเลิกการเดินรถรางอย่างถาวรในสมัยนั้นเพราะถูกมองว่ากินพื้นที่ถนน, ความเชื่องช้าของมันที่ทำให้การจราจรติดขัดและเมื่อเทียบกับรถชนิดอื่นแล้วต้นทุนของรถเมล์นั้นถูกกว่านั่นเอง
วันนี้เลยนำภาพรถรางในสมัยก่อนและวีดีโอการเดินรถรางวันสุดท้ายก่อนที่จะปิดทำการมาฝากกันค่ะ
ป้ายสามเหลี่ยมสีแดงมีดาวตรงกลางคือจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร ส่วนป้ายสามเหลี่ยมสีเขียวมีดาวตรงกลางคือป้ายแสดงจุดให้รถรางรอหลีกขบวนกัน
หน้าโรงหนังเอมไพร์ตรงปากคลองตลาด, ด้านหลังมีรถเมล์ขาวนายเลิศและโรงหนังกำลังฉายหนังเรื่องชาติฉกรรจ์
รถรางกำลังวิ่งผ่านย่านท่าเตียน
กำลังวิ่งผ่านสนามหลวง, สังเกตุผ้าใบที่กางอยู่จะเป็นแผงค้ารอบสนามหลวงและแนวต้นมะขาม
รถรางกำลังจะเลี้ยวซ้ายจากท่าช้างวังหลวงเข้าถนนพระจันทร์ไปสิ้นสุดเส้นทางที่ท่าพระจันทร์, ส่วนตึกที่เห็นซ้ายมือนั้นเป็นที่ทำการของบขส.ในสมัยนั้น
รถรางสายดุสิตผ่านหน้าธรรมศาสตร์และสนามหลวง
ถนนราชดำเนิน, รถรางน่าจะกำลังวิ่งไปทางประตูผี, ปัจจุบันอีกฝั่งเป็นพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพรถรางขณะวิ่งบนถนนพระราม 1
ภาพรถรางสายสีลมที่จอดอยู่บริเวณถนนสีลมตัดกับถนนเจริญกรุง
รถรางยุคปี 2502 ขณะวิ่งบนทางด้านข้างของวัดโพธิ์
รถรางหน้าประตูวังท่าเตียน
รถรางกำลังวิ่งผ่านย่านเยาวราช
ตั๋วรถราง
ปัจจุบันรถรางหรือรถแทรม (TRAM) ก็ยังมีใช้ในหลายประเทศแถบยุโรปและพัฒนาจนมีรูปลักษณ์ที่ทันสมัยจนถึงทุกวันนี้ (ตามรูปที่แนบมาด้านล่างเลยค่ะ)
รถรางที่ Prague, Czech Republic

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา