20 ต.ค. 2020 เวลา 10:34 • ประวัติศาสตร์
• เข้าใจรูปแบบการปกครองแบบต่าง ๆ
ในแบบเข้าใจง่ายกันเถอะ
สำหรับในบทความนี้ ผมจะขอนำทุก ๆ ท่าน ไปทำความรู้จักกับเรื่องราวของรูปแบบการปกครองแบบต่าง ๆ ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายกัน ถ้าพร้อมกันแล้ว มาเริ่มกันได้เลยครับ
• ระบอบประชาธิปไตย (Democracy)
เป็นรูปแบบการปกครอง ที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย อันเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ยึดถือสิทธิเสรีภาพ ยึดมั่นในเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน และมีรัฐธรรมนูญ (Constitution) เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
ประชาธิปไตยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ ประชาธิปไตยแบบทางตรง (Direct Democracy) ซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมต่อการปกครองประเทศได้โดยตรง เหมาะกับประเทศที่มีประชากรจำนวนน้อย
1
และประชาธิปไตยแบบทางอ้อมหรือแบบมีผู้แทน (Representative Democracy) ซึ่งจะถูกใช้ในประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก โดยจะมีการเลือกตั้งเพื่อหาผู้แทน ที่จะทำหน้าที่ใช้อำนาจอธิปไตย ในการปกครองประเทศแทนประชาชน
2
โดยรูปแบบการปกครองตามแบบประชาธิปไตยนี้ จะประกอบไปด้วย 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
- ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) : นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจปกครองประเทศแท้จริง อาจมีตำแหน่งประมุขของรัฐ (เช่น ประธานาธิบดี, กษัตริย์) ที่ไม่ได้มีอำนาจอยู่แท้จริง รัฐสภามีอำนาจมาก มีอังกฤษเป็นชาติต้นแบบ
1
- ระบบประธานาธิบดี (Presidential System) : ประธานาธิบดีเป็นทั้งหัวหน้ารัฐบาล และเป็นประมุขของรัฐ ประธานาธิบดีมีอำนาจมาก มีสหรัฐอเมริกาเป็นชาติต้นแบบ (ประเทศที่มีประธานาธิบดี จะถูกเรียกว่า สาธารณรัฐ Republic)
1
- ระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) : เป็นการผสมผสานระหว่างระบบรัฐสภากับระบบประธานาธิบดี มีฝรั่งเศสเป็นชาติต้นแบบ
1
• ระบอบกษัตริย์หรือราชาธิปไตย (Monarchy)
การปกครองโดยมีกษัตริย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ
- แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ที่กษัตริย์ดำรงตำแหน่งทั้งประมุขของรัฐ และผู้ปกครองสูงสุดของประเทศ อำนาจของกษัตริย์มีมากล้น (เป็นเผด็จการรูปแบบหนึ่ง)
1
- แบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือประชาธิปไตยแบบมีกษัตริย์เป็นประมุข (Constitution Monarchy) กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย ไม่ได้มีอำนาจที่แท้จริงในการปกครองประเทศ ดำรงอยู่ในสถานะประมุขของรัฐเท่านั้น
1
• ระบอบเผด็จการ (Dictatorship)
ระบอบเผด็จการ มีแนวคิดตรงข้ามกับประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดไม่ได้อยู่กับประชาชนชน แต่อยู่กับคน ๆ เดียว หรืออยู่กับกลุ่มคณะใดคณะหนึ่ง เท่านั้น
ระบอบเผด็จการสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ
- เผด็จการแบบอำนาจนิยม (Authoritarianism)
เป็นรูปแบบของเผด็จการ ที่รัฐจะมีอำนาจเฉพาะทางด้านการเมืองเท่านั้น ปกครองด้วยคน ๆ เดียว หรือคนกลุ่มน้อย กำจัดและขัดขวางกลุ่มคนที่เห็นต่าง มีการข่มขู่และริดรอนสิทธิ์ของประชาชน
1
- เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism)
เป็นรูปแบบเผด็จการ ที่รัฐจะควบคุมอำนาจทั้งหมด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ หรือแม้แต่ความนึกคิดของประชาชน มีความรุนแรงและกดขี่ มากกว่าเผด็จการแบบอำนาจนิยม
1
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงระบอบอัตตาธิปไตย (Despotism หรือ Autocracy) ที่อำนาจในการปกครองอยู่กับคน ๆ เดียว และยังมีระบอบเผด็จการทหาร (Military Regime หรือ Junta) ซึ่งเป็นเผด็จการที่มีผู้นำเป็นทหาร (ส่วนมากเกิดจากการรัฐประหาร) ซึ่งถือว่าเป็นเผด็จการในอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน
1
• ระบอบอนาธิปไตย (Anarchy)
อนาธิปไตย คือการปกครองที่ไม่ต้องการรัฐบาล รวมไปถึงปฏิเสธรูปแบบการปกครอง ในทุกรูปแบบที่มีอยู่ ประชาชนจะเป็นผู้ที่ปกครองกันเอง โดยที่ไม่มีสิ่งใดมาควบคุมหรือบีบบังคับ
1
ในแง่มุมทั่วไปอาจมองว่า อนาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครอง ที่ไร้ซึ่งระเบียบแบบแผน มีความสุดโต่งมากจนเกินไป และมีแนวคิดหัวรุนแรง
แต่สำหรับกลุ่มคนที่นิยมอนาธิปไตยแล้ว พวกเขากลับมองว่า อนาธิปไตยไม่ได้เป็นสิ่งที่รุนแรงหรือไร้ระเบียบใด ๆ เพราะ พวกเขาเชื่อว่า อนาธิปไตยจะช่วยให้มนุษย์มีความเท่าเทียมกัน และเสมอภาคมากที่สุด
ในขณะที่ คอมมิวนิสต์ (Communism) , สังคมนิยม (Socialism) , ทุนนิยม (Capitalism) , ชาตินิยม (Nationalism) , ฟาสซิสต์ (Fascism) รวมไปถึงเสรีนิยม (Liberalism) นั้น ถือว่าเป็นเรื่องราวของอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ (Political & Economic Ideology)
ซึ่งอุดมการณ์เหล่านี้ ก็ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ ให้เข้ากับรูปแบบการปกครองในแบบต่าง ๆ ตามที่อธิบายในของหัวข้อหลักนั่นเอง
*** Reference
- หนังสือ รัฐศาสตร์ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1
#HistofunDeluxe
โฆษณา