20 ต.ค. 2020 เวลา 09:39 • การเมือง
#เศรษฐกิจไทยเริ่มเจ็บ
#จากสถาณการณ์ความไม่สงบ
ผู้ชุมนุมคนหนึ่งชูสามนิ้วขณะร่วมการประท้วงในกรุงเทพฯในวันที่ 17 ตุลาคม ขณะที่ผู้มีอำนาจสั่งปิดระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ และเริ่มตั้งด่านบนถนน เป็นผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก
กรุงเทพฯ — ผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลในประเทศไทยได้ออกมาชักชวนให้ผู้คนเร่งถอนเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ซึ่งมีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ทั้งนี้หุ้นธนาคารได้ดิ่งลงถึง 6% นับแต่เริ่มมีการประท้วงในเดือนกันยายน
ธุรกิจต่าง ๆ ที่ได้มีการโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นการถือข้างรัฐบาลก็ถูกโจมตีด้วยเช่นกัน จึงเป็นผลให้บริษัทต่าง ๆ รวมไปถึงบริษัทรับ-ส่งอาหารรายใหญ่อย่างฟู๊ดแพนด้าได้ถอดโฆษณาออกอย่างรวดเร็ว
ผู้มีอำนาจได้สั่งปิดสถานีรถไฟฟ้า BTS และรถไฟใต้ดิน รวมไปถึงสั่งปิดถนนเพื่อระงับการชุมนุมประท้วงอีกด้วย กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงได้หยุดชะงักลง โดยถูกพิษจากโคโรนาไวรัสซ้ำเติมอยู่ก่อนแล้วอีกด้วย
“เนื่องจากการปิดถนน ทางเราจึงจะปิดทำการที่เวลา 18:30 น. ในวันนี้” เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว ห้างสรรพสินค้าในเขตชานเมืองกรุงเทพฯ ได้ประกาศต่อลูกค้าในวันเสาร์ โดยปิดทำการเร็วกว่าปกติถึงสามชั่วโมงครึ่ง
กษัตริย์แห่งประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระราชินีสุทิดา ทรงพระดำเนินออกจากพระบรมมหาราชวังหลังจากพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ซึ่งนับเป็นการครบรอบ 4 ปี ในวันที่ 13 ตุลาคม โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ถือหุ้นสูงสุดของธนาคารไทยพาณิชย์
เซ็นทรัลเวิลด์ หนึ่งในห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศได้ประกาศลดเวลาทำการเช่นกันในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ด้านร้านขายเครื่องประดับต่าง ๆ ซึ่งเกรงว่าการชุมนุมประท้วงอาจมีความรุนแรงขึ้น จึงได้เก็บสินค้าไปอย่างรวดเร็ว
“ในวันที่มีการชุมนุมประท้วง การขายสินค้าของเราลดลงไป 60% ถึง 80%” เจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่งบอกกับทางนิคเคอิ
บริษัทญี่ปุ่นในไทยก็มิได้ปลอดภัยเช่นกัน ห้างสรรพสินค้าโตคิวได้ปิดทำการเร็วกว่าปกติ 4 ชั่วโมงในวันศุกร์และวันเสาร์ เมื่อทางแยกด้านหน้า เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้างฯนี้ มีผู้ชุมนุมเข้ามาปักหลักประท้วง
สำหรับประเทศไทย ซึ่งต้องอาศัยการท่องเที่ยวที่เป็นถึง 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ การเชิญชวนนักท่องเที่ยวกลับมาจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ด้านรัฐบาลได้กำหนดว่าจะเริ่มผ่อนคลายข้อบังคับต่อชาวต่างชาติที่จะเข้าพักเป็นเวลานานในวันอังคาร กระนั้นความไม่สงบที่ยืดเยื้ออาจทำให้นักท่องเที่ยวไม่มั่นใจ ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมหลายแห่งในกรุงเทพฯคนหนึ่งกล่าวว่า ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวนั้นไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ถ้าการเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายผู้ชุมนุมและตำรวจเกิดความรุนแรงขึ้น
ทางด้านนักลงทุนในประเทศไทยจึงกำลังจำตามองสถาณการณ์อย่างระมัดระวัง ดัชนีราคาหุ้นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ตกลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การประท้วงครั้งล่าสุดเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
“ความวิตกกังวลกำลังก่อตัวขึ้นในขณะที่ไม่มีใครรู้ว่าสถาณการณ์นี้จะจบลงอย่างไร” ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย นายสรพล วีระเมธีกุล กล่าวกับบางกอกโพสต์ “เราขอแนะนำให้นักลงทุนรอดูท่าทีไปจนกว่าจะมีสัญญาณที่ชัดเจนขึ้นสำหรับทั้งการเมืองภายในและภายนอกประเทศ”
ถือความวุ่นวายอีกระลอกสำหรับเศรษฐกิจของประเทศไทย รายงานขององค์กรค้าปลีกแห่งหนึ่งในย่านชอปปิ้งราชประสงค์ระบุว่า ระหว่างการประท้วงในปี 2010 ย่านนี้ได้รับความเสียหายถึง 174 ล้านบาท (5.6 ล้านดอลลาร์ในอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) ในวันเดียว
นักวิเคราะห์บางรายคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะได้เจอกับการทรุดโทรมครั้งใหญ่กว่าปี 1998 ในปีนี้ ระหว่างวิกฤติค่าเงิน เมื่อ GDP ยุบตัวถึง 7.6%
#Reporter
MARIMI KISHIMOTO and YOHEI MURAMATSU, Nikkei staff writers
#แปล
#Finstrategynews
โฆษณา