20 ต.ค. 2020 เวลา 13:51 • สุขภาพ
GERD : กรดไหลย้อน ฉบับหมอเล่าให้ฟัง
กรดไหลย้อนกวนใจเราเหลือเกิน
ภาวะยอดฮิตที่มาห้องฉุกเฉินกลางดึก
ที่ห้องฉุกเฉินแพทย์จะฉีดยาลดกรดให้หนึ่งตัว
จากนั้นผู้ป่วยจะบอกว่าดีขึ้นแล้วค่ะหมอ
แพทย์ให้คำแนะนำปฏิบัติตัวพร้อมกับยาให้ผู้ป่วยไปกินต่อที่บ้าน
มารู้จักกับ GERD หรือ กรดไหลย้อน
“ภาวะที่เกิดจากสารจากกระเพราะอาหารย้อนขึ้นมา “
ในที่นี้เป็นได้ทั้ง กรดอ่อน ด่าง แก๊ส เลยนะ ไม่เฉพาะแค่กรดอย่างเดียว
จริงๆเป็นโรคเรื่องรังใช้เวลารักษานานนะ การรักษาต้องอาศัยคนไข้ให้ความร่วมมือกับการรักษาด้วยยาควบคู่กันไปค่ะ
ทางการแพทย์ ยังแบ่งเป็นสองกลุ่มอาการ
1.อาการทางหลอดอาหาร Typical GERD
แสบร้อนกลางอกหรือที่คอ มักมีอาการมากขึ้นเมื่อรับประทานอาหารมื้อหนักๆ ,โน้มตัวไปข้างหน้า ,ยกของหนัก หรือนอนหงาย
อาการเรอเปรี้ยว อาจมีอาการกลืนลำบาก
2.อาการนอกหลอดอาหาร Atypical GERD
อาการด้านหูคอจมูก เช่น เจ็บคอเรื้อรังเสียงแหบเรื้อรัง
อาการทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด
อาการคล้ายโรคหัวใจ เช่น อาการแน่นหน้าอก
อาการทางช่องปาก เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก
กลุ่มอาการนี้ควรหาสาเหตุอื่นก่อนที่จะมาโทษ GERD
สาเหตุ มีหลายประการ
- กลไกหลักคือการคลายตัวเป็นครั้งคราวของหูรูดอาหารส่วนล่าง
- ความดันหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างลดลง
- การทำให้ระยะเวลาอาหารที่อยู่ในกระเพราะได้นานขึ้น อาหารในกระเพราะตอนนั้นก็เหมือนจะย่อยไม่หมด หรือน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดก็สามารถย้อนขึ้นไปได้
เป็นต้น
มาถึงส่วนสำคัญที่แพทย์ได้แนะนำคุณให้ปฏิบัติตัว แต่ไม่รู้ฟังทันกันไหมนะ เพราะโรคนี้ต้องอาศัยทั้งการปรับพฤติกรรมและการกินยาควบคู่ เวลาตรวจผู้ป่วยนอกหรือกระทั่งฉุกเฉินแพทย์ก็จะพูดเร็วไฟแรบเหมือนกันค่ะ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1.ลดน้ำหนักกรณีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเมื่อมีอาการกำเริบขึ้นเมื่อน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
:มีงานวิจัยในโรคอ้วนที่ลดน้ำหนักโดยเฉลี่ย 11.2 และ 12.4 kg ในช่วง 13 สัปดาห์มีผลสามารถลดการไหลย้อนของกรดในท่านั่งได้
2.หยุดสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา
การหยุดสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับการลดลงของความรุนแรงของอาการที่ต้องใช้ยารักษาเมื่อเทียบกับตอนที่ยังสูบบุหรี่ทุกวัน
การดื่มสุราเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคกรดไหลย้อน
3.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร 3ชั่วโมงก่อนนอน
ไม่พบหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าการดื่มน้ำอัดลม กาแฟ ชา ส่งเสริมให้เกิดโรคGERD หรืออาการกำเริบขึ้น
4.นอนยกหัวเตียงสูง
นอนสูงแค่ไหน เป็นตัวเลขทางการวิจัย แนะนำว่า
นอนยกหัวสูง 8 นิ้วหรือ 20 เซนติเมตร เหตุผลสามารถลดระยะเวลาที่พบค่าความเป็นกรดในหลอดอาหารได้เมื่อเทียบกับการนอนราบ
ร่วมกับนอนตะแคงซ้าย
การรักษาด้วยยา : ยาหลัก กับยาเสริม
การรักษาด้วยการผ่าตัด : ขึ้นกับสาเหตุโรคอีกที
ยาหลักที่แพทย์จ่าย เป็นกลุ่มยาลดกรด นาน 4-8 สัปดาห์ ควรอยู่ในดุลพินิจของแพทย์
ยาเสริม เช่น ยาเคลือบกรด สามารถลดอาการได้
หากเรารักษาตัวเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์
เพราะมันอาจจะมีอะไรมากกว่ากรดไหลย้อนหรือว่าเรายังปฏิบัติตัวไม่ถูกกันน้า
ลองเอาไปใช้ดูนะคะ
heartburn worse than heartbroken
References
Thailand GERD Guideline 2020
Practical gastroenterology and hepatology book ,Mahidol university,2020
โฆษณา