2 พ.ย. 2020 เวลา 03:01
We are ready for Thailand Digital ID #2
เตรียมพบกับ NDID Digital Identity for All
ปลายปีที่แล้ว ผมลงบทความเรื่อง "We are ready for Thailand DIgital ID" ว่าด้วยเรื่องของ NDID หรือ Digital ID ของไทย ที่เปิดตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2562 หลังจากนั้นในไตรมาสแรกของปี 2563 (ช่วงก่อนการระบบของไวรัสโควิด-19) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ 6 ธนาคาร (ธ.กรุงเทพ, ธ.กสิกรไทย, ธ.ไทยพาณิชย์, ธ.กรุงไทย, ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.ทหารไทย) เริ่มให้บริการ NDID เฟสที่ 1 ในการเปิดบัญชีธนาคารแบบดิจิตัลที่เราไม่ต้องเดินทางไปเปิดบัญชีกับธนาคารด้วยตนเอง
1
Credit : BOT
เพียงแต่เราต้องทำการเคยยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (eKYC) และมีการถ่ายภาพเพื่อทำข้อมูลชีวมิติ (Biometric Data) กับธนาคารมาก่อน หากลูกค้ายังไม่เคยยืนยันตัวตน ต้องติดต่อสาขาหรือผ่าน MBanking ของธนาคารพร้อมบัตรประชาชนให้เรียบร้อยจึงจะเปิดบัญชีผ่านระบบดิจิตัลได้ หากเราเข้าไปที่ website ของธนาคารต่าง ๆ ก็จะเห็นหน้าเพจที่ให้บริการ NDID ตามภาพตัวอย่าง
Credit : KBank
Credit : BBL
ธนาคารพาณิชย์ที่เราไปทำการยืนยันตัวตนและเก็บข้อมูลชีวมิติ (Biometric Data) จะดำเนินการภายใต้ Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะมีหน้าที่เป็นผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (Identify Provider หรือ IdP) ให้กับเรา ข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บไว้กับ IdP และจะให้บริการข้อมูลแก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นๆ ที่เราไปขอเปิดบัญชีหรือทำธุรกิจดิจิตัลผ่าน NDID
ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปใช้บริการจะทำหน้าที่เป็น Relying Party (RP) โดยจะทำการขอข้อมูลจาก IdP ของเรา ดังนั้นเราต้องจำให้ได้ว่าเราได้ทำ eKYC และ เก็บ Biometric Data ไว้กับธนาคารอะไร เพื่อแจ้งแก่ธนาคารที่เป็น RP ในการทำการขอข้อมูลไปยัง IdP
1
Credit : BOT
ใครที่สนใจจะลงทะเบียนเพื่อใช้ NDID อาจศึกษารายละเอียดหรือสอบถามจากธนาคารแต่ละแห่งเพิ่มเติม เท่าที่ทราบแต่ละธนาคารอาจกำหนดเงื่อนไขปลีกย่อยแตกต่างกัน หรือสามารถดูรายละเอียดบน website ของธนาคารแต่ละแห่งได้ครับ ตัวอย่างของธนาคารกสิกรไทย คือ https://www.kasikornbank.com/th/personal/Account/Pages/NDID.aspx
จากที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย อนุญาตให้ 6 ธนาคารเข้าร่วมให้บริการภายใต้ Regulatory Sandbox ของ BOT ซึ่งยังถือเป็นขั้นการทดสอบระบบ จึงอาจยังไม่ค่อยแพร่หลาย และยังไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบกันมากนัก ต่อมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ได้มีการประกาศเกี่ยวกับแผนทดสอบใช้บริการผ่านระบบจริง
ผมเขียนบทความ NDID อีกครั้งเพราะในระยะเวลาอีกไม่นานนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเปิดเฟสต่อไปเพื่อให้สถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารอีกจำนวนหนึ่ง เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต และอื่นๆ ที่ผ่านการตรวจสอบระบบให้สามารถทำบริการแบบ RP (Relying Party) ผ่าน Sandbox ของ BOT และผมเข้าใจว่าในอนาคตก็อาจจะมีการขยายการให้บริการผ่านช่องทางอื่นๆ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินอีกด้วย เพื่อให้ NDID สามารถรองรับการทำธุรกรรมดิจิตัลได้ดียิ่งขึ้น
ใครที่ได้ทำการยืนยันตัวตนและเก็บข้อมูล Biometric Data กับ IdP แห่งใดแห่งหนึ่งเรียบร้อยแล้ว อดใจรอทำธุรกรรมกับ RP ที่กำลังจะเปิดให้บริการ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ต้องรอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และ NDID ออกมาประกาศให้เราทราบครับ
Credit : BOT
จริงๆ แล้วปัจจุบันมีการทำ eKYC หลายรูปแบบ หลายธุรกิจใช้บริการผ่านระบบข้อมูลบัตรประชาชนของกรมการปกครอง (DOPA) ก่อนหน้านี้หากใครถอนเงินธนาคารเกิน 1 แสนบาท ธนาคารจะนำบัตรประชาชนของเราไปถ่ายเอกสารให้เราเซนต์ แต่ปัจจุบันธนาคารสามารถเสียบบัตรประชาชนแบบ smart card เพื่อยืนยันข้อมูลกับระบบของ DOPA และพิมพ์ข้อมูลจากระบบของ DOPA แทนการถ่ายสำเนา เป็นการตรวจสอบว่าบัตรประชาชนที่นำมาใช้เป็นบัตรที่ถูกต้องได้ด้วย
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีการใช้ข้อมูล DOPA เช่นกัน การยืนยันตัวตนผ่าน MBanking ของ NDID ก็มีขั้นตอนการตรวจสอบกับ DOPA แต่จะมีขั้นตอนการเทียบใบหน้า (Facial Recognition) เพิ่มเข้ามาทำให้มีความมั่นใจในความปลอดภัยยิ่งขึ้น
ระบบของ NDID ในขณะนี้ยังถือว่าอยู่ในช่วงทดสอบเริ่มต้น คงต้องรอดูกันต่อไปครับว่าเมื่อระบบของ NDID ที่ได้รับสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทยและอีกหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้รับการพัฒนาให้ดีและปลอดภัยยิ่งขึ้นแล้วจะรองรับ Thailand Digital 5.0 ในโลกแห่งยุคดิจิตัลที่มาเร็วกว่าที่เคยคาดหมายกันไว้ได้ดีเพียงใด
รายละเอียดของการใช้บริการ NDID อดใจรอจากธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานต่างๆ ซึ่งคงจะอีกไม่นานเกินรอครับ
ขอบคุณข้อมูลประกอบครับ
รายละเอียดของ BBL : https://www.bangkokbank.com/th-TH/Personal/Digital-Banking/NDID
รายละเอียดของ KTB : https://krungthai.com/th/content/personal/ndid
บทความ NDID ก่อนหน้า เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน
โฆษณา