21 ต.ค. 2020 เวลา 01:44 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ต่อเศรษฐกิจโลกจะไม่จบลงง่ายๆ
การระบาดของโควิด 19 ไม่เพียงจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอยแต่ยังทำให้เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะเปราะบางไปอีกหลายปี เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจที่กำลังก่อตัวขึ้น รัฐบาลของแต่ละประเทศจะต้องหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำผิดซ้ำสองในการหยุดความช่วยเหลือในการออกมาตรการทางเศรษฐกิจเร็วเกินไป เหมือนที่เคยทำผิดพลาดในช่วงวิกฤตการเงินเมื่อปี คศ 2008
ถึงแม้เราจะรู้หลายๆ อย่างเกี่ยวกับโควิด19 ที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น การทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนรุ่นใหม่ แรงงานที่ขาดทักษะ และกลุ่มสตรี ค่อนข้างมาก รวมทั้งการส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาทั่วโลก และจะทำให้ประชากรโลกเผชิญกับปัญหาความยากจนเพิ่มขึ้น โดยเกือบ 90 ล้านคนทั่วโลกอาจจะมีรายได้ไม่ถึงวันละ 1.90 เหรียญต่อวัน จากการประมาณการของ IMF
ที่มา หนังสือพิมพ์ Financial Times ฉบับวันที่ 19 ตุลาคม 2563
ในขณะที่ภาคธุรกิจได้รรับผลกระทบจากการหดตัวของอุปสงค์และการปิดประเทศ หลายๆ ประเทศยังคงเผชิญกับการระบาดระลอก 2 ส่งผลให้เศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศทั่วโลกยังคงอยู่ในความเสี่ยง ทั้งนี้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ได้รับความช่วยเหลือจากนโยบายของธนาคารกลาง มูลค่าความช่วยเหลือมีมูลค่ามากคิดเป็นร้อยละ 12 ของ GDP โลก หรือคิดเป็นมูลค่า 11.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าความช่วยเหลือจำนวนมหาศาลหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
นโยบายการคลังถือเป็นนโยบายที่จะเป็นพระเอกขี่ม้าขาวในการช่วยกอบกู้เศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ ซึ่งธนาคารกลางก็ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าการดำเนินนโยบายการเงินมีข้อจำกัดอย่างมาก โดย Fiscal Monitor ได้เสนอแนวทางในการดำเนินนโยบายช่วยพยุงเศรษฐกิจโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือช่วง lockdown ช่วง gradual reopening และ ช่วง post covid recovery
ช่วง lockdown ความช่วยเหลือควรเป็นในรูปแบบ cash transfer สวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน การเลือกการชำระภาษีและประกันสังคม การเสริมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจ รวมทั้ง การสร้างงานระยะสั้น
ช่วง gradual reopening ความช่วยเหลือจะต้องระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนขึ้น และให้ความสำคัญกับการนำคนเข้ากลับมาสู่การจ้างงาน การลงทุนภาครัฐในระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ และ การเน้นให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจที่มีผลประกอบการดีแต่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการดูแลการจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูงและเงินปันผลที่สูงเกินไปของบริษัทเหล่านี้
ช่วง Post Covid ถึงเวลาที่จะต้อปฏิรูป ปรับปรุงระบบการคุ้มครองทางสังคมที่เป็นปัญหาในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากโควิด19 รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ และมาตรการกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน
ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้จะสร้างภาระทางงบประมาณมหาศาลให้กับภาครัฐซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหนี้สาธารณะของประเทศ โดยหนี้สาธาณะต่อจีดีพีจะปรับตัวสูงขึ้นและทะลุเกิน 100 ในไม่ใช้ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ก็จะทะลุเกินร้อยละ 60 ของจีดีพีเช่นกัน ต้องขอบคุณที่อัตราดอกเบี้ยจะปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำมากในประเทศรายได้สูง และธนาคารกลางดูเหมือนจะพยายามดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปเรื่อยๆ ทำให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายการคลังได้ในการกอบกู้เศรษฐกิจได้ถึงแม้ภาระทางการคลังที่จะเกิดขึ้นก็คิดเป็นจำนวนมหาศาลพอสมควร
ท้ายที่สุดรัฐบาลต้องดำเนินนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพราะต้นทุนในการไม่ทำอะไรเลยหรือหยุดการดำเนินนโยบายดูจะสูงมากกว่าการดำเนินนโยบายการคลังและมีภาระหนี้ที่ตามมา และในที่สุดเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมจากการดำเนินนโยบายกอบกู้เศรษฐกิจก็จะต้องปรับมาให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของเศรษฐกิจ และอาจจะถึงเวลาที่จะต้องปรับเพิ่มภาษี ซึ่งไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่ายนักทางการเมือง แต่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
เรียบเรียงจาก Financial Times ฉบับวันที่ 20 ตุลาคม 2563
โฆษณา