23 ต.ค. 2020 เวลา 05:04 • ประวัติศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่าง พระปิยมหาราช กับ พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2
23 ตุลาคม ของทุกปี จะเป็นวันที่เราย้อนนำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องใน วันปิยมหาราช วันนี้เราขอย้อนกลับไปถึง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย ที่รูปถ่ายเพื่อนรักเพียง1ใบ จะสามารถหลุดพ้นจากการล่าอนานิคมของฝรั่งเศส
3
จากบทความซีรีย์ THE LAST CZAR (https://www.blockdit.com/series/5f71eb40a798a90ee54c3375) ครั้งก่อนเราพูดถึงตอนที่ พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เริ่มรู้สึกถึงความรักที่มากเกินไปของลูกชาย จึงมีรับสั่งแยกทั้งสองออกจากกัน โดยสั่งให้เจ้าชายไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก วันนี้เราจะมาเล่าถึงการเสด็จมาเยือนไทยของ พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 กัน
3
ย้อนกลับไปในช่วงปี 1890 พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 (ขณะนั้นยังเป็นมกุฏราชกุมารซาเรวิชนิโคลัสอยู่) ได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วทั้งเอเชีย เพื่อดูการเมืองการปกครอง และวัฒนธรรมของเหล่าชาติในเอเชีย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศสยาม (ไทยในปัจจุบัน) โดยซาเรวิชนิโคลัสได้เข้าพบพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี 1891 ซึ่งทางสยามได้จัดงานต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังเชิญซาเรวิชไปสด็จไปทอดพระเนตรการคล้องช้างที่อยุธยาและประทับที่วังบางปะอิน ซึ่งจากเหตุนี้เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปและรัสเซีย ทางราชสำนักรัสเซียก็ต้อนรับอย่างดีเช่นกัน
พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2
ว่ากันว่า การเสด็จประพาสเอเชียของพระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 เกิดขึ้นเพราะต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองในทวีปยุโรปที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเนื่องมาจากบิสมาร์ก อัครมหาเสนาบดีแห่งเยอรมนี ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้จัดระเบียบยุโรป ถูกปลดออกจากตำแหน่งในปี 1890 (พ.ศ. 2433) การหมดอำนาจของบิสมาร์กมีผลกระทบต่อนโยบายบริหารยุโรปของเยอรมนี ในปีเดียวกันนี้รัสเซียก็เพิ่งจะสิ้นสุดข้อผูกมัดกับออสเตรีย-ฮังการี ในสันนิบาตสามจักรพรรดิ (รัสเซีย, เยอรมนี, ออสเตรีย-ฮังการี) ที่เคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่รัสเซียกลับหันไปคบหากับฝรั่งเศสแทน ซึ่งเหตุผลนี้ก็มีส่วนให้ประเทศไทยสนใจการมาของรัสเซียเช่นกัน
1
นอกจากนั้นยังมีประเด็นการสร้างทางรถไปสายทรานส์ไซบีเรีย รัสเซียเชื่อว่าเป็นหนทางของการขยายอำนาจไปยังภาคตะวันออกจนถึงชายหาดมหาสมุทรแปซิฟิกอีกซีกโลกหนึ่งจะเป็นผลประโยชน์ต่อทางการทหารและเศรษฐกิจ อีกทั้งเป็นการขัดขวางและยับยั้งคู่แข่งอย่างอังกฤษ ไม่ให้ตักตวงผลประโยชน์ในเอเชียเพียงฝ่ายเดียว
1
ทางรถไปสายทรานส์ไซบีเรีย ที่มาขยายอำนาจในเอเชีย
ประเทศไทย หรือสยาม ในขณะนั้น ก็ทราบดีว่าการมาครั้งนี้ของซาร์ นิโคลัสที่ 2 มีความหมายมากขนาดไหน เนื่องจากสยามตกอยู่ในฐานะประเทศกันชนของอังกฤษและฝรั่งเศส มีความไม่มั่นคงทางการเมือง การมาเยือนครั้งนี้จึงสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะต้องดิ้นรนเพื่อรอดพ้นภัยคุกคามจากเจ้าอาณานิคมตะวันตก ก็เลยต้องเต็มที่กับการต้อนรับการมาเยือนของรัสเซีย
ซุ้มประตูจัดไว้ต้อนรับการมาเยือนของรัสเซีย
พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 ประทับอยู่ที่สยามเป็นเวลา 5 วัน คือวันที่ 20 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2433 พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 ทรงพอพระทัยเป็นอย่างมาก รวมไปถึงคณะผู้ติดตามก็มีความพึงพอใจ ในระหว่างนี้พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 พระบรมชนกของพระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์แอนดรูชั้นที่หนึ่ง ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของรัสเซียให้กับรัชกาลที่ 5 ด้วยความพึงพอใจในการต้อนรับครั้งนี้
รัชกาลที่ 5 ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2
จากนั้นประเทศไทยโดน วิกฤติ ร.ศ. 112 กรณีพิพาทระหว่างสยามกับฝรั่งเศส การเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 1 ของรัชกาลที่ 5 ครั้งนี้ (พ.ศ. 2440) เพื่อแสวงหาชาติพันธมิตรมาช่วยส่งเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียในรัชสมัยซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งราชวงศ์โรมานอฟ อีกทั้งยังไม่ถูกดูหมิ่นว่าชาวสยามเป็นชนชาติที่ล้าหลังดังข้ออ้างในการเข้ายึดครองอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจต่างๆ
1
เรือรบฝรั่งเศสคุมเชิงอยู่ด้านหน้าสถานทูตฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒
อย่างไรก็ตามลึกๆ แล้วรัสเซียอาจจะช่วยสยามไม่ได้มากอย่างที่สยามคาดหวังไว้ เนื่องจากรัสเซียเป็นมิตรลับกับฝรั่งเศส ส่งผลถึงความสัมพันธ์กับสยามหากจะช่วยอะไรสยามก็ช่วยมากไม่ได้ต้องคำนึงถึงฝรั่งเศสด้วย สุดแล้วพระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 ตัดสินพระทัยให้รัชกาลที่ 5 ไปฉายพระรูปร่วมกัน และพระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 ได้มีการส่งพระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ ณ พระราชวังปีเตอร์ฮอล์ฟ ไปตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของประเทศต่างๆ ในยุโรป เป็นสถานการณ์ที่พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 พยายามจะช่วยเพื่อนอย่างดีที่สุดเท่าที่ทำได้ในสถานการณ์ตอนนั้น เพราะฝรั่งเศสก็เป็นมิตรลับในเรื่องของผลประโยชน์ ถึงแม้รถไฟสายทรานส์ไซบีเรียจะสามารถส่งผ่านอิทธิพลของรัสเซียผ่านไปถึงใจกลางทวีปเอเชีย แต่ทางรถไฟสายนี้ก็สร้างด้วยเงินที่รัสเซียกู้ยืมมาจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรของรัสเซีย แต่รัสเซียก็ไม่คิดทิ้งสยาม เรียกได้ว่าเมื่อเพื่อนต้องการให้ช่วยเราก็ช่วย แม้จะไม่ได้มากก็ทำอย่างเต็มที่
รูปถ่ายคู่เพียงใบเดียว ที่คานอำนาจได้ในขณะนั้น
หลังจากเสด็จกลับจากการประพาสต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถไปศึกษาที่ประเทศรัสเซียด้วย และในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งนี้ได้ทรงเจรจาและปรับความเข้าใจกับฝรั่งเศส ซึ่งคุกคามไทยอย่างหนัก รวมทั้งมีจุดประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เพื่อทอดพระเนตรความเจริญของยุโรป จะได้นำมาเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงบ้านเมืองของไทยอีกด้วย
1
โฆษณา