23 ต.ค. 2020 เวลา 10:58 • ความคิดเห็น
ฐานะการเงินไทยขาดทุนรวม1ล้านล้าน คืออะไร ???
จากกระแสไวรัลที่แชร์...
"ราชกิจจาฯประกาศกระทรวงการคลัง" ได้สร้างความสงสัย สับสนและเข้าใจผิดกันเป็นวงกว้างมาก
เคทขออธิบายง่ายๆ สั้นๆแบบนี้นะคะ
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า พันธกิจของ ธปท. นั้นแตกต่างจากเอกชนที่มุ่งแสวงหากำไร หน้าที่ของ ธปท คือรักษาเสถียรภาพฐานะทางการเงินการคลังของประเทศเป็นหลักค่ะ (รักษาเสถียรภาพทางการเงิน คืออะไร ก็ง่ายๆเช่น การรักษาอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินเป็นต้น )
ธนาคารกลางแทบทุกประเทศในโลกนี้ก็ล้วนดำเนินนโยบายไม่ต่างกัน และน้อยมากๆ ที่ ธนาคารประเทศใดจะมีกำไร (คิดว่าที่มีกำไรน่าจะเยอรมัน)
และที่สำคัญ ตัวเลข 1ล้านล้านบาท น่าจะเป็นตัวเลขสะสมหลายปีนะคะ คิดว่าไม่น้อยกว่า 10ปีแน่นอนค่ะ !!
เท่าที่จำได้ประเทศเราปรับเกณฑ์การคำนวณกำไรขาดทุนใหม่ ตาม พรบ.ปี51 แม้ ณ ขณะนั้นเองเราก็มีผลขาดทุนสะสมแล้ว ราว 7หมื่นล้านจากปี 49-50 ทั้งๆที่ปี 51 เรามีกำไรกว่า 3หมื่นล้านอ่ะค่ะ ซึ่งผ่านมาสิบกว่าปีตัวเลขตรงนี้มันก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งส่วนของ ทุน และหนี้ สมัยนั้นสินทรัพย์มีประมาณ 2.5ล้านล้าน แต่ก็มีหนี้สินเกือบๆแสนล้าน
การกำไรหรือขาดทุนในแต่ละปี มันก็ไม่ได้สะท้อนภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมากนัก เพราะหลักๆมันเป็นเรื่องของการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินมากกว่า ออกจะสวนทางกันด้วยซ้ำ อย่างปีที่ค่าเงินบาทอ่อนมากๆ อย่างปี54 มีน้ำท่วมใหญ่ แต่เรากำไรจากค่าเงินกว่าแสนล้าน คือ ธปท.กำไรก็ไม่เชิงว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีหรือเราจะได้ประโยชน์จากตรงนี้มากนัก ดีเฉพาะกิจการมากกว่า อย่างช่วงที่บาทอ่อนดอลล่าห์ละ 36 ส่งออกดีท่องเที่ยวดี แต่เวลาจ่ายหนี้ก็หนักเหมือนกัน ถ้าบาทแข็ง นำเข้าก็ดี จ่ายหนี้ก็เบา
แล้วสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของ ธปท. ก็เป็นพวกตราสาร และสกุลเงินต่างๆ
สิ่งสำคัญที่มีผลต่องบขาดดุลก็คือการตั้งสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ส่วนที่ขาดทุนก็มีส่วนไปเพิ่มกับทุนสำรองด้วยเช่นกัน ซึ่งการสำรองตรงนี้เรามีสูงมาก ระดับ 2แสนล้านเหรียญ เวลาค่าเงินแข็งหรืออ่อน มันมีผลเยอะมากค่ะ สมมุตินะคะ ถ้าสินทรัพย์เรามี 5ล้านล้าน มีส่วนต่างค่าเงิน สัก 6% ก็เป็นเงิน 3แสนล้านบาทแล้วค่ะ
สาเหตุหลักจากการขาดทุนทางบัญชีมาจากการตีราคาสินทรัพย์ต่างประเทศ (valuation หรือ unrealized loss)
ทีนี้มาถึงคำถามสำคัญ....
1
เราจะแก้ปัญหาการขาดทุนสะสมนี้ได้ไหม หรือจะเลิกแทรกแซงค่าเงินได้ไหม ?
ได้ค่ะ...แต่ ก็ไม่ง่ายนัก เราต้องเป็นประเทศที่พัฒนาระดับนึง จนสินค้าของเราเป็นเบอร์หนึ่ง ที่สามารถกำหนดราคาได้แน่นอน และทำให้เราไม่ต้องสำรองเงินมาก ในขณะเดียวกัน ภาคเอกชนเองก็จะรับความเสี่ยงของค่าเงินเอง (ซึ่งเคทมองว่า ภาคส่งออกโดยเฉพาะการเกษตรเรายังไม่แข็งแกร่งขนาดนั้นค่ะ ในภาวะที่ค่าเงินสวิงขึ้นลงแรง อาจเกิดปัญหาขาดทุนหนักๆจนไม่สามารถดำเนินกิจการได้)
 
อีกทางก็คือ ประเทศเราต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนมากๆ หรือ เราต้องเป็นประเทศอุตรสาหกรรมก้าวหน้าที่มีมูลค่าการนำเข้าจนเกินดุล แล้วมันก็จะส่งผลต่องบการเงิน ค่าเงินของเราให้ผลิกได้ค่ะ ซึ่งก็คงต้องใช้เวลานานมาก
ใครมีอะไรเพิ่มเติมเสนอแนะ แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
มิ้วๆ
โฆษณา