23 ต.ค. 2020 เวลา 15:10 • สุขภาพ
ใส่เฝือกขึ้นเครื่องบินมีความเสี่ยงอย่างไร?
สิ่งหนึ่งที่น่ากังวลคือ เมื่อเครื่องบินมีการเปลี่ยนระดับความสูง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ความดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปครับ ซึ่งภายในเฝือกแบบปูนปลาสเตอร์ หรือ ไฟเบอร์กลาส ที่ใส่กันนั้นมีโอกาสที่จะมีฟองอากาศแทรกอยู่ภายใน
ซึ่งผู้ที่พึ่งใส่เฝือกใหม่ๆ เช่น เฝือกแข็ง เฝือกอาจยังไม่แข็งตัวดีพอ จะทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศที่ลดต่ำลง อากาศด้านในจะขยายตัวมากขึ้น ทำให้เฝือกอาจขยายและกดทับกับกล้ามเนื้อ เส้นเลือด เลือดไม่เดิน และเกิดอันตรายต่ออวัยวะและร่างกายตามมาได้
ดังนั้นสายการบิน จึงมีข้อกำหนดขึ้นมา ตัวอย่างเช่น
ไทยแอร์เอเชีย บอกว่า
- หากใส่เฝือก"น้อยกว่า 48 ชม." => จะต้องแยกเฝือกตลอดแนวความยาวของเฝือก
- หากใส่เฝือก"นานกว่า 48 ชม." => ก็ไม่จำเป็นต้องแยกเฝือก
** ทั้งนี้ผู้โดยสารจะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์เพื่อยืนยันว่าเวลาการใส่เฝือกว่านานกว่าหรือน้อยกว่า 48 ชม. นับจากเวลาที่ออกเดินทาง นะครับ
แถมผู้โดยสารที่ใส่เฝือกที่ขาหรือแขนก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้นั่งใกล้กับทางออกฉุกเฉินอีกด้วย อันนี้เนื่องจากเป็นเรื่องของความปลอดภัยนั้นเอง ที่โดยปกติแล้วผู้ที่นั่งใกล้กับทางออกฉุกเฉินจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมเปิดประตูฉุกเฉิน ในเวลาที่จำเป็นได้นั่นเองครับ
จึงแนะนำว่าหากท่านใดใส่เฝือก ไม่ว่าแบบใดก็ตาม ควรติดต่อสอบถามกฏการขึ้นบินของสายการบินนั้นๆก่อนนะครับ
โฆษณา