1 พ.ย. 2020 เวลา 00:30 • ประวัติศาสตร์
5 เหตุผลทำไมหลายคนถึงเข้าร่วม'สงครามครูเสด'
1
สงครามครูเสดคือหนึ่งในความสำเร็จของการรวบรวมประชาชนทุกหมู่เหล่าใน
ยุโรป ไม่ว่าจะมาจากไหนหรือชนชั้นใดต่างขานรับต่อสงครามศาสนาครั้งนี้อย่างที่
ไม่เคยเห็นมาก่อน
1
แม้สงครามครั้งนี้จะขึ้นชื่อฉาวโฉ่ ในฐานะสงครามศาสนาที่ถูกปลุกเร้าด้วยศรัทธา
หรืองมงาย แต่นั่นไม่ใช่เพียงเหตุผลเดียวที่ทำให้ผู้คนต่างออกเดินไปยังแผ่นดินที่
ตนไม่เคยเห็นมาก่อน ต่างชนชั้นต่างก็มีจุดมุ่งหมายในการร่วมสงครามที่ต่างไป.
1.เข้าสู่สนามรบด้วยศรัทธาแรงกล้า
เมื่อชาวเซลจุคเติร์ก (Seljuk Turks) เข้าครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ พวกเขาเริ่มออก
มาตรการให้ผู้แสวงบุญจ่ายเงินค่าคุ้มครองเพื่อเข้าไปเยรูซาเลม ผู้แสวงบุญและ
นักพรตจำนวนมากที่เคยเดินทางเข้าออกได้สบายต่างถูกกันไม่ให้เข้าเพราะไม่มีเงินมากพอหรือโดนรีดไถเงิน ในบางโอกาสก็ถูกปล้นสะดมจนเจ็บตัวไปตามๆ กัน
เมื่อกลับมายังยุโรป พวกเขาจึงป่าวประกาศให้ผู้คนฟังว่า ชาวเติร์กได้หยามแผ่นดินที่พระเยซูเคยใช้ชีวิตอยู่และทำร้ายผู้แสวงบุญคนใดก็ตามที่เฉียดกรายเข้าไปใน
แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ เพียงแค่คำพูดปลุกระดมนี้ก็ทำให้ผู้คนใจศรัทธาต่างเลือดพล่าน
พร้อมจะจับอาวุธเดินทางไกลไป ‘ปลดปล่อย’ แดนศักดิ์สิทธิ์แล้ว และยังเป็นโอกาส
ไปทัวร์แสวงบุญ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่งอีกด้วย.
1
2.หวังชำระล้างความผิดบาป
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้คนจะใช้ชีวิตโดยปราศจากบาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าชนชั้น
นักรบอย่างอัศวินหรือกลุ่มขุนนางที่ต้องรบราฆ่าฟันเป็นชีวิตจิตใจ พระสันตะปาปา
เออร์บันที่ 2 (Urban II) ยังประกาศว่าใครก็ตามที่ไปร่วมภารกิจกอบกู้ดินแดนศักดิ์
สิทธิ์จะได้รับการอภัยโทษจากบาปที่เคยทำมาทั้งหมด ส่วนคนที่ตายในสงครามจะ
ได้รับรางวัลตอบแทนในแดนสวรรค์ ยิ่งเวลาผ่านไป คำสัญญาต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้น
นักรบที่ก่ออาชญากรรมก็ได้รับสัญญาว่าจะถูกพิจารณาคดีอีกครั้งในแดนศักดิ์สิทธิ์.
3.หนีชีวิตที่ยากจน
1
ในระบอบฟิวดัล (Feudalism) กลุ่ม ‘เซิร์ฟ’ (Serfs) หรือไพร่ชาวนาติดที่ดินไม่ได้มี
อิสระในการโยกย้ายไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ พวกเขาต้องขึ้นกับขุนนางท้อง
ถิ่น ต้องจ่ายภาษี หรือผลิตผลให้ขุนนางเป็นประจำ เมื่อขุนนางเกณฑ์ไพร่พลก็ต้อง
ออกไปรบตามคำสั่ง จะมีอะไรที่ชักชวนผู้คนที่ไม่มีอะไรจะเสียไปเข้าร่วมสงครามได้
มากกว่าโอกาสเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกล่ะ
เมื่อพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ประกาศว่าไพร่ราษฎร์ทุกคนที่เดินทางไปเข้าร่วมกับสงครามจะได้รับอิสระจากเจ้าขุนมูลนายในบ้านเกิด พวกเขาจึงรีบเก็บข้าวของ บ้างก็ขายทรัพย์สินเพื่อออกเดินทางไปดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทันที เมื่อพวกครูเสดได้รับชัย
ชนะ อดีตไพร่ติดที่ดินหลายคนก็กลายเป็นอิสรชนกันและหันไปประกอบอาชีพอื่นๆ
จนถึงขั้นไต่เต้าเป็นอัศวินกัน แต่ยังมีไพร่อีกจำนวนมากที่กลายไปเป็นไพร่ของ
ขุนนางใหม่ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์แทน.
4.ยอมตายเพื่อชื่อเสียงเงินทอง
แม้ขุนนางจำนวนจะมีที่ดินอยู่ในครอบครอง แต่สงครามครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้พวก
เขาได้หาช่องทางทำเงินเพิ่มก่อนจะกลับมายังบ้านเกิด แม้การเดินทางไปร่วม
สงครามจะต้องลงทุนมากกว่ารายรับต่อปีของขุนนางราว 5 เท่า แต่สิ่งที่ล่อตาล่อ
ใจขุนนางเหล่านี้คือดินแดนตะวันออกอันร่ำรวย สังคมเมืองที่เจริญ ทั้งยังเป็นเส้น
ทางค้าขายสำคัญที่เชื่อมระหว่างยุโรป เอเชีย และแอฟริกา
ขุนนางเหล่านี้จึงขายทรัพย์สินบางส่วนเพื่อเป็นต้นทุนไปทำสงครามต่างแดน ผลคือ
ขุนนางหลายคนปกครองดินแดนทั้งในบ้านเกิดและในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ไปพร้อมๆ
กันจนมีรายได้ทวีคูณ แม้บางคนจะได้รับผลตอบแทนเพียงน้อยจากสงคราม แต่ชื่อ
เสียงและเกียรติยศที่ได้รับจากการไปร่วมสงครามศักดิ์สิทธิ์ก็ทำให้พวกเขามี
คอนเนคชั่นและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น.
5.รางวัลแห่งชัยชนะคือที่ดิน
ตามธรรมเนียมสืบต่อมรดกยุคกลาง บุตรชายคนโตสุดของขุนนางจะได้รับสิทธิ์ใน
มรดกที่ดินและทรัพย์สินก่อน (Primogeniture) ส่วนบุตรชายคนถัดๆ มาก็ไม่มีทาง
เลือกอื่น นอกจากรอพี่คนโตตายก่อนจะมีทายาท ยอมทนกับสถานะไม่มีที่ดิน
หรือไม่ก็ออกบวชกับเข้าอารามหันหน้าเข้าทางธรรมแทน
แต่สงครามครูเสดได้เปิดโอกาสใหม่ให้แก่ขุนนางหลุดมรดกเหล่านี้ หากไปร่วม
สงครามจนได้รับชัยชนะ พวกเขาจะได้ครองครองที่ดินผืนใหม่ในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์
โดยไม่ต้องมารอพี่คนโตตายอีกต่อไป เพราะเหตุนี้เองจึงมีขุนนางหรืออัศวินไร้ที่ดินจำนวนมากกระตือรือร้นไปเข้าร่วม.
เรื่อง อันโตนิโอ โฉมชา
ภาพประกอบ ชุติมณฑน์ ปทาน
โฆษณา