27 ต.ค. 2020 เวลา 03:48 • ศิลปะ & ออกแบบ
Blockdit A49 – 001
“ความคิดสร้างสรรค์ เป็นของทุกคน” สถาปนิกนักออกแบบเอาความคิดสร้างสรรค์มาจากไหน เราจะออกแบบสภาพแวดล้อมให้มีความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร
เริ่มจากการสร้างพื้นที่ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และสามารถใช้งานได้โดยปราศจากความเกรงใจ และจากงานวิจัยกล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์สามารถเกิดขึ้นได้เร็วกว่าในสภาพแวดล้อมที่เป็นเมืองที่มีคนหนาแน่นและหลากหลาย
สิ่งแวดล้อมที่สามารถทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่ความเงียบ หากแต่เป็นระดับเสียงที่กำลังพอดีและไม่กระโชกกระชาก ดังเช่น การสร้างเสียงพื้นฐานโดยเฉพาะเป็นเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของอีสาน เช่น เสียงไม้กระทบกันเหมือนเสียงของ “โปงลาง” ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เรานำเสนอไปใช้ในโครงการออกแบบศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ขอนแก่น
ในระหว่างวัน เราเองก็ควรมีการปรับเปลี่ยนต่างๆ ทำกิจกรรม เช่น การลุกขึ้นเดิน จะทำให้เราหลุดจากการเพ่งสมาธิในเรื่องเดิมๆ เกิดความคิดใหม่ๆ ออกมา หากคุณเป็นเจ้าของบริษัทหรือหัวหน้า ตัวอย่างที่น่านำไปลองดูคือ นโยบายการทำเรื่องอื่นๆ นอกจากงานประจำเป็นเวลา 20% ของ Google และ 3M ที่ประสบ ความสำเร็จในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา โดยในภูมิภาคอีสานก็มี “ผญา” ที่เป็นคำพูดที่ชาวอีสาน
ความคิดสร้างสรรค์ในหลายๆ โอกาสเกิดจากแรงบันดาลใจจากสิ่งที่ประสบพบเจอ ความพยายามในการสร้างสิ่งต่างๆ ปรับ ขยับ โยกย้าย ภายในที่ทำงาน โรงเรียน สำนักงาน หรือโครงการ จะสามารถช่วยจุดประกายให้กับผู้ใช้งานได้ ความรู้บางอย่างต้องการระยะเวลาสั่งสมที่ยาวนาน กว่าจะปะติดปะต่อกลายเป็นความคิดสร้างสรรค์ได้ ดังนั้น วิธีที่ดีคือ การจดบันทึก และหากเป็นการพูดคุยระดมความคิด พื้นที่ในการจดบันทึกการนั้น สามารถทำเป็น ผนังกระจกรอบๆ ที่ออกแบบให้สามารถเขียนได้เหมือนกระดาน หรือติดโพสต์อิทไว้นานๆ ได้ ก็จะช่วยปะติดปะต่อเรื่องราวได้ชัดเจนขึ้น
การมองเห็นสิ่งที่แตกต่าง เพื่อสร้างความแตกต่าง ในระหว่างที่เราคิดเรื่องหลักของสมองและได้มองเห็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในขณะนั้น เช่น การมองเห็นวิวทิวทัศน์ที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นต้น จะสามารถสร้างความแตกต่างให้กับความคิดดั้งเดิมได้ ลองปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้มองเห็นวิว หรือการเคลื่อนไหว เพื่อกระตุ้นและปรับเปลี่ยนรูปแบบของเซลล์ประสาท
สรุปวิถีความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตนักออกแบบ
• การพบปะ IDEA EXCHANGE ความคิดสร้างสรรค์ในยุคปัจจุบันเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความหลากหลายของคนมาพบเจอกัน เช่น ร้านกาแฟ ซึ่งจะเกิดการแลกเปลี่ยนต่างๆ และความรู้ใหม่ๆ ก็จะเกิดขึ้น
• การสั่งสม ปะติดปะต่อ SLOW HUNCH การพัฒนาขององค์ความรู้ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจาก moment of eureka แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการกลั่นกรองให้กลายเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีคุณค่า
• การปลดปล่อย SERENDIPITY การปรับเปลี่ยนจากสิ่งที่พุ่งเน้นความสนใจอยู่เป็นเวลานานๆ เพื่อไปทำสิ่งอื่น ในบางกรณีจะทำให้เกิดความรู้ที่อยู่นอกกรอบความคิดเดิมๆ ขึ้นมาได้
• การแทรกแซง ERROR หากใส่สิ่งแปลกปลอม (noise) เข้าไประหว่างกระบวนการคิด จะทำให้เกิดความหลากหลายในความคิดที่เกิดขึ้น
• การเห็นตัวอย่าง PLATFORMS, EXAPTATION การได้สัมผัสและคลุกคลีกับสิ่งสร้างสรรค์เป็นกิจวัตรจะทำให้เกิดวัฒนธรรมของการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
หนึ่งในพื้นที่แห่งการก่อร่างความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ TCDC ขอนแก่น โดย A49 (Architects 49)
โฆษณา