Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A49 ARCHITECTS 49
•
ติดตาม
27 ต.ค. 2020 เวลา 10:59 • การศึกษา
การออกแบบพื้นที่ทางการศึกษาของเด็กปฐมวัย
ความต้องการของเด็กในวัย 3-7 ขวบ พื้นฐานของการพัฒนาจะเน้น 3 พื้นฐาน คือ การฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่-มัดเล็ก การควบคุมร่างกายอย่างมีอิสระ ฉะนั้นการเรียนที่เน้นการเล่นมากกว่าวิชาการจะสร้างเสริมร่างกายของเด็กเพื่อให้พร้อมที่จะเติบโตไป การฝึกให้เด็กเข้าใจกับธรรมชาติและสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นอีกแนวความคิดหนึ่งที่สำคัญ การออกแบบสถานศึกษาหรือพื้นที่ในการเรียนการสอน จึงควรเน้นการมีส่วนร่วมกับธรรมชาติให้ใกล้ชิดที่สุด การเข้าใจเรื่องพลังงานก็ควรเริ่มจากการเข้าใจพลังงานในธรรมชาติก่อน ถึงจะพัฒนาไปสู่พลังงานที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงต่อๆ ไป
การปลูกฝังฝึกฝนทักษะการเข้าสังคมร่วมกับคนอื่นรวมจนถึงการช่วยเหลือเด็กๆ คนอื่นๆ ก็เป็นอีกแนวคิดที่ควรให้ความสำคัญ ดังนั้นโรงเรียนอนุบาลในต่างประเทศ บางประเทศจะไม่แบ่งชั้นตามอายุ แต่จะแบ่งห้องเพื่อให้มีเด็กอายุมากกับเด็กอายุน้อยปะปนกัน เพื่อสร้างโอกาสในการช่วยเหลือและรับผิดชอบซึ่งกันและกัน การออกแบบพื้นที่กิจกรรมไม่ว่าจะเป็นลานกิจกรรมขนาดใหญ่ ห้องกิจกรรม สระว่ายน้ำ จะตอบรับการพัฒนาดังกล่าว
มาดูกันว่าเราสามารถจะปรับโครงสร้างของห้องเรียนและการเรียนการสอนจะสามารถพัฒนาโครงสร้างการศึกษาได้อย่างไรบ้าง
อัตราส่วนพื้นที่ภายใน / ภายนอก
การเรียนของอนุบาลจะเน้นวิชาการน้อยกว่าแต่เน้นการเล่นและออกกำลังกาย ซึ่งจึงเหมาะสมกับกิจกรรมภายนอกห้องเรียนมากกว่า ไม่เหมือนกับต่างจากเด็กนักเรียนชั้นประถมที่จะเน้นกิจกรรมในห้องเรียนมากกว่า
การวิ่งเล่น
การวิ่งเล่นสำหรับเด็กอนุบาลมีความสำคัญต่อการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจมาก การออกแบบให้พื้นที่หลักของโรงเรียนให้เด็กสามารถจะวิ่งเล่นได้โดยรอบโดยไม่มีสิ่งกีดขวางจะส่งเสริมสุขอนามัยของเด็กโดยธรรมชาติ
การขึ้นลงระหว่างชั้น
การขึ้นลงโดยใช้บันไดอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุกับเด็กเล็กได้ ดังนั้น การใช้ทางลาดอ่อนๆที่มีความชันไม่มาก เพื่อขึ้น-ลงระหว่างชั้น 1,-2 จะทำให้ช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้
การออกกำลังกาย
ในระหว่างเส้นทางวิ่งเล่นของการวิ่งเล่นของเด็กหนึ่งรอบ จะมีระยะทาง 200 เมตร ต่อการวิ่งหนึ่งรอบ หากมีการออกแบบทางลาดขึ้นและลง จะเพิ่มการออกกำลังกายให้กับเด็กๆ ไปโดยธรรมชาติ ทำให้เด็กในโรงเรียนมีเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง
การลดทอน
จากเด็กในโลกใบใหญ่ของผู้ใหญ่ เมื่อเข้าสู่โรงเรียนอนุบาลซึ่งเป็นโลกของเขา การลดทอนสัดส่วนและขนาดต่างๆ จะทำให้เด็กๆ รู้สึกเป็นที่ของตัวเองและสามารถสนุกกับพื้นที่ดังกล่าวได้สนิทใจมากขึ้น การออกแบบทางเข้าโรงเรียนจะจึงใช้ทางลาดมาลดทอนสัดส่วนและขนาดเข้าสู่พื้นที่ภายในโรงเรียน
การดูแลและรักษาธรรมชาติ
แทนที่จะเป็นสนามหญ้าการเลือกปลูกต้นไม้และให้เด็กดูแลต้นไม้แต่ละต้นเป็นความรับผิดชอบของตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความรักและรับผิดชอบต่อต้นไม้และธรรมชาติ แทนที่การออกแบบเป็นสนามหญ้าทั่วไป
การเรียนรู้ธรรมชาติ
การเรียนรู้ธรรมชาติที่ดีที่สุดไม่ได้เกิดจากการเรียนในห้องเรียน แต่เกิดจากการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ดังนั้น จะเน้นการแทรกกิจกรรมต่างๆ เข้าไปกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นพื้นดินหรือลอยฟ้า ซึ่งจะมีระบบนิเวศน์ที่แตกต่างกัน
ความปลอดภัย
จากระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการมีระเบียบ มีการเน้นให้เด็กใช้พื้นที่ที่อยู่ชั้นที่ไม่สูงเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาความปลอดภัยในการขึ้นลง จึงกำหนดให้พื้นที่ที่ที่เด็กจะใช้งานของเด็กให้อยู่ที่ชั้น 1 และ 2 ส่วนชั้น 3 เป็นพื้นที่ที่คณะอาจารย์ใช้งานเพื่อดูแลและสอดส่องความปลอดภัยให้กับเด็กๆ
การป้องกัน
มีการแบ่งแยกการเข้าถึงของบุคคลภายนอกและรถที่มารับ-ส่งอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับเด็กๆ
ตัดขาดจากรถยนต์
การจัดวางผังโครงการเน้นให้เด็กๆ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย โดยเปลี่ยนทางเดินรถที่เคยอยู่ตรงกลางของโครงการ มาอยู่ด้านนอกทั้งหมด เพื่อให้ด้านในมีพื้นที่ว่างสำหรับธรรมชาติของเด็กๆ และปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่างๆ และเพิ่มปริมาณพื้นที่รับส่งและจอดรถที่เพียงพอ
แนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดที่นำเสนอต่อการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองโนนหนองวัด ซึ่งปรับจากการับนักเรียนระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษามาเป็นระดับอนุบาลจนถึงประถมศึกษาตอนต้นเท่านั้น การพัฒนาการศึกษาเป็นประเด็นที่เราควรให้ความสำคัญและสนใจร่วมกันผลักดันเพื่อร่วมสร้างรากฐานที่ดีของประเทศ
ความเชื่อมโยงของพื้นที่ภายใน ภายนอก ห้องกิจกรรมกับพื้นที่ส่วนกลาง
ภาพแนวความคิดของทีมสถาปนิกเพื่อเป็นทางเลือกให้กับเทศบาลเมืองขอนแก่น
1 บันทึก
3
2
1
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย