27 ต.ค. 2020 เวลา 19:04 • ปรัชญา
Literature Quotes : ความตายเอ๋ย จงอย่าลำพองตน
นิยาย Eighty-Six Volume 5 ที่มีชื่อตอนชื่อเดียวกับบทกวี อันได้รับแรงบันดาลใจจากบทกวีเช่นกัน
นี่เป็นข้อความขึ้นต้นของบทกวีอันเลื่องชื่อในสมัยยุคกลางของอังกฤษ ชื่อว่า Sonnet X หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘Death Be Not Proud’ ตามประโยคแรกของบทกวี โดยกวีชาวอังกฤษนามว่า จอห์น ดันน์ (John Donne) (1572-1631)
John Donne
"Holy Sonnet X"
Death be not proud, though some have called thee
Mighty and dreadfull, for, thou art not soe,
For, those, whom thou think'st, thou dost overthrow,
Die not, poore death, nor yet canst thou kill mee.
From rest and sleepe, which but thy pictures bee,
Much pleasure, then from thee, much more must flow,
And soonest our best men with thee doe goe,
Rest of their bones, and souls deliverie.
Thou art slave to Fate, Chance, kings, and desperate men,
And dost with poyson, warre, and sicknesse dwell,
And poppie, or charmes can make us sleepe as well,
And better than thy stroake; why swell'st thou then?
One short sleepe past, wee wake eternally,
And death shall be no more; death, thou shalt die.
Sonnet X เป็นบทกวีเชิงอภิปรัชญา (Metaphysics poet) ที่นำเสนอแนวคิดโต้แย้งถึงอำนาจของความตาย (Death) โดยกล่าวถึงความตายในฐานะบุคคลๆหนึ่ง (เรียกว่าเป็นบุคคลวัต หรือ Personalization ก็ได้) กับพลังอำนาจของความตาย ที่จะพรากทุกสรรพชีวิต ความรัก และความหวังไป
กวีพยายามโต้แย้งความตายว่ามิใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง ทความตายที่คิดว่าตนเองมีอำนาจนำพาเหล่าบรรดาชายหญิงไปสู่สถานที่อันมิหวนกลับคืนนั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงภาพลวงตา เป็นแค่ ‘การนอนหลับเพียงหนึ่งตื่น’ มิได้ทำให้ใครนั้นแตกดับจริงๆ
ความตาย มิสามารถพรากเราสองออกจากกันได้ พวกเขาเหล่านั้นแค่เพียงพักผ่อนจากความเบื่อหน่ายทางโลกเท่านั้น เพื่อไปพบกับเส้นทางใหม่ หรือชีวิตใหม่ เหมือนกับการเปลี่ยนเสื้อที่ขาดวิ่นเป็นเสื้อตัวใหม่ ดั่งแนวคิดเรื่อง อาตมัน ของชาวฮินดู ที่รอไปเข้าร่างใหม่ เป็นสังสารวัฏ หรือวิญญาณอันเป็นอมตะของชาวคริสต์ ที่รอไปอยู่ในอาณาจักรแห่งพระเจ้า
ดันน์ยังได้พูดต่อไปอีกว่า ความตายนั้นแท้จริงแล้ว ก็เป็นแค่ทาส หรือเครื่องมือของเหล่าราชา ผู้คนที่สิ้นหวังกับชีวิต โอกาส และโชคชะตา ที่จักใช้ความตาย เพื่อนำทางไปสู่โลกหน้าที่ดีกว่าเดิม ด้วยสื่อกลางที่เรียกว่า สงคราม โรคระบาด ยาเสพติด ยาพิษ และมนตรา ดีกว่าจะรอให้ความตายมาพรากเราไป
อาจจะเหมือนดั่งที่ซีเรียส แบล็ค พูดกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ในคราที่แฮร์รี่จักต้องไปเผชิญหน้ากับความตายที่รออยู่ว่า
“Quicker and Easier than feeling asleep.”
ความตายนั่นน่ะ รวดเร็ว ง่ายนิดเดียว ยิ่งกว่าเผลอหลับไปเสียอีก (ตรงนี้แค่อยากให้รู้ว่า ความตายมันไม่ได้ทุกข์ทรมานอย่างที่ความตาย(ที่เป็นตัวบุคคล)คิดว่ามีอำนาจ)
และความตาย ก็มิอาจนำพาความทุกข์มาสู่ผู้ที่มีความตั้งใจและมีเปลวไฟแห่งชีวิตส่องสว่างอยู่ภายในดวงจิต เพราะแม้ความตายจะมาพรากเขาไป แต่จิตเขานั้นก็มีอำนาจอยู่เหนือความตายทั้งปวง เป็นอมตะ ดั่งอาตมัน
และเมื่อเราเข้าสู่ความตายในชั่วขณะ ก็จักตื่นเป็นนิรันดร์ (อาจจะเพื่อไปสู่อะไรบางสิ่งที่เฝ้าคอยหรือแสวงหามาตลอดชีวิต อาจจะเป็นพระเจ้า นิพพาน หรือ ปรมาตมันก็ตามแต่)
และในประโยคสุดท้ายของบทกวี ดันน์ได้รจนาวลีแสนทรงพลังที่จะท้าทายอำนาจของบางสิ่งที่ลำพองตนเองว่าคือจุดจบของโลกไว้ว่า
“Death, thou shalt die.”
ความตายเอ๋ย จงม้วยมรณาให้สิ้นไป
ความตายนั้น มิใช่สิ่งที่สูงส่ง แต่ก็มิใช่สิ่งที่ต่ำต้อยเกินจะละเลย มันได้แสดงให้เราเห็นคุณค่าของชีวิต ความไม่ประมาท และเป็นหนทาง ไปสู่ชาติภพที่ดีกว่า และเมื่อถึงที่สุดแล้ว ความตาย ก็ไม่มีจริง หากเรารู้ ตื่น และเบิกบานแล้ว ไม่มีชาติภพต้องไปเกิดใหม่ ความตายที่เป็นสิ่งคู่ก็พลอยสิ้นไปเช่นกัน
@Krishna
โฆษณา