29 ต.ค. 2020 เวลา 11:52 • การเมือง
shutdown Bangkok ตอนที่ 20 อาหรับสปริงเกิดอะไรขึ้น หลังจากโค่นผู้นำเผด็จการ เพื่อประชาธิปไตย
คนบางคนเชื่อว่าหากโค่นเผด็จการได้แล้ว ประเทศชาติจะดีขึ้น เศรษฐกิจจะดีขึ้น ปัญหาทุกอย่างก็จะคลี่คลาย ประเทศชาติสงบสุข
ผมได้ยินคนพูดอย่างนี้มาเยอะมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง ผมจึงได้ไปศึกษาตัวอย่างของประเทศที่สามารถโค่นล้มเผด็จการได้ ว่าทุกๆอย่างจะดีขึ้นอย่างที่เขาโฆษณาชวนเชื่อไว้หรือไม่
ปรากฏว่าได้มีบทความหนึ่งที่เขียนโดยคุณวาเอล โกนิม ผู้นำการประท้วงโค่นล้ม ประธานาธิบดีมูบารัค ผู้ครองอำนาจในอียิปต์มานานกว่า 30 ปี
ในบทความสรุปได้ว่า เขาคิดผิดอย่างมากที่ไล่ประธานาธิบดีมูบารัคออกจากตำแหน่ง เพราะว่าแทนที่จะได้ประชาธิปไตยอย่างที่เขาคาดคิดไว้ ทุกอย่างจะดีขึ้นเหมือนดั่งโลกที่จินตนาการไว้
ประเทศอียิปต์ กลับตกสู่วังวนของอนาธิปไตย คือไร้ระเบียบ สังคมโกลาหล เกิดการแย่งชิงอำนาจกันตลอดเวลา ไม่มีใครยอมใคร ประเทศชาติล่มสลาย
พูดง่ายๆว่า หลังจากประธานาธิบดีมูบารักลงจากตำแหน่ง ประเทศอียิปต์ก็มีความวุ่นวายเกิดขึ้นตลอดเวลา มีการประท้วง มีการรบราฆ่าฟันกัน เศรษฐกิจก็ไม่ได้ดีอย่างที่คาดไว้ ในปัจจุบันเศรษฐกิจในประเทศอียิปต์ ยังแย่เสียกว่าตอนที่มูบารักยังอยู่ซะอีก คนจนลงมาก
คนในประเทศบางส่วนต้องหนีตายอพยพไปอยู่ประเทศอื่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงไม่ใช่ทฤษฎี
และทุกประเทศที่สามารถขับไล่เผด็จการไปได้ เช่นประเทศตูนีเซีย ลิเบีย อียิปต์ อิรัก ซีเรีย เป็นต้น บทสรุปก็คือเศรษฐกิจแย่ลงมาก บ้านเมืองวุ่นวายตลอดเวลา เป็นอนาธิปไตย
ไม่ได้ดีอย่างที่โฆษณาชวนเชื่อเรื่องประชาธิปไตยวาดฝันไว้ ถ้าใครอยากทราบลองไปศึกษาเพิ่มเติมดูว่า สิ่งที่ผู้เขียนบอกไว้เป็นความจริงหรือไม่
ระบบชนชั้นในสังคม
โลกแห่งความเป็นจริงก็คือ ประเทศไหนที่มีเผด็จการ แสดงว่าประเทศนั้นมีศูนย์รวมจิตใจ ประเทศนั้นก็จะมีโอกาสที่จะสงบสุขได้
แต่เมื่อใดก็ตามที่มีคนสามารถโค่นล้มเผด็จการคนนั้นไปได้ คนที่อยู่ใต้เผด็จการคนนั้นหรือ อาจจะเรียกว่ารองเผด็จการก็ว่าได้ ซึ่งไม่ทราบได้ว่ามีกี่คน ก็จะลุกขึ้นมาสู้กัน รบกัน เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ประเทศนั้นก็จะต้องวุ่นวายไป 20 ถึง 30 ปีเป็นอย่างน้อย จนกว่าจะหาเผด็จการคนเดียวได้
คนอิรักยังบอกเลยว่า หลังจากที่โค่นซัดดัมที่เป็นเผด็จการไปได้ 1 คน ปรากฏว่าเกิดซัดดัมที่เป็นเผด็จการขึ้นมาอีก 100 คน
ปัญหาใหญ่หลวงที่เราไม่เคยทราบก็คือ ประเทศที่เราอยู่อาศัยนี้มีรองเผด็จการอยู่กี่คน ที่อยู่ใต้อำนาจเผด็จการหนึ่งคนนั้น ที่เราเห็น
หลังจากที่รบกันจนเสร็จเรียบร้อยแล้วหาผู้นำคนใหม่ได้ ประเทศนั้นจึงจะเข้าสู่ความสงบอีกครั้งหนึ่ง เป็นวัฏจักรแบบนี้
ถ้าเปรียบเหมือนสัตว์ก็คือฝูงสุนัขป่า ถ้าจ่าฝูงตาย พวกรองจ่าฝูง 10 ตัว ก็จะสู้กันเพื่อแย่งกันเป็นจ่าฝูง หลังจากหาจ่าฝูงใหม่ได้แล้ว ฝูงสุนัขป่านี้ จึงจะสงบอีกครั้งหนึ่ง
โลกแห่งความจริงก็เป็นเช่นนี้แหละ ตามที่ผู้เขียนศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ศึกษามาก็เป็นแบบนั้น
ถ้ายกตัวอย่างประเทศไทยก็คือ สมัยที่กรุงศรีอยุธยาแตกพม่าเผาเมือง ก็เกิดชุมนุมต่างๆขึ้นถึง 5 ชุมนุม รบกันแย่งชิงความเป็นใหญ่ จากนั้นชุมนุมของพระเจ้าตากก็ค่อยๆไปตีทุกชุมนุม จนสามารถรวมประเทศเป็นหนึ่งได้
ชุมนุม 5 ชุมนุมหลังกรุงศรีอยุธยาแตก ภาพจากวิกีพีเดีย
ประเทศชาติถึงกลับเข้าสู่ความสงบอีกครั้ง เมื่อหาจ่าฝูงได้ แต่ก็ใช้เวลาอยู่หลายปีพอสมควร
ระบบกษัตริย์จึงเป็นระบบปกครองที่เข้ากับธรรมชาติของสังคมมนุษย์มากที่สุดแล้ว ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ถ้าดูจากประวัติศาสตร์ ก็คือการมีจ่าฝูงคนเดียวนั่นเอง
ถ้าชอบบทความนี้อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กดติดตาม เพื่อจะไม่พลาดความดีๆต่อไป
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา