AirAsia คิดการใหญ่ ดัน ไทย แอร์เอเชีย ขยายฐานการบิน
ก่อนหน้านี้ AirAsia ได้รับผลกระทบจากวิกฤตด้านสุขอนามัยระดับโลก ขณะที่สายการบินกำลังมองหาทางเลือกเพื่อการฟื้นตัวหลังวิกฤต ก็พบกับแสงสว่างในการดำเนินงานของสายการบิน นั่นคือ AirAsia ในประเทศไทย หรือ ไทย แอร์เอเชีย บริษัทย่อยของสายการบินต้นทุนต่ำนี้ได้ขยายการดำเนินการและสามารถทำการบินได้อย่างน่าประทับใจ โดยมีจำนวนผู้โดยสารถึง 96% ของจำนวนผู้โดยสารในประเทศช่วงก่อนเกิดวิกฤต อย่างไรก็ตาม ภายในสิ้นปีนี้ มีแผนที่จะโตกว่านั้น
ไทย แอร์เอเชีย ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง
ความต้องการภายในประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยได้ทำให้ ไทย แอร์เอเชีย มีสถานะที่แข็งแกร่งในการดำเนินงานของกลุ่ม AirAsia Group และเมื่อเดือน ก.ย. มีผู้โดยสารถึง 96% ของจำนวนผู้โดยสารในประเทศช่วงก่อนเกิดวิกฤต และขยับขึ้นจาก 59% ในเดือน ก.ค.
โดยในไตรมาสที่สามทั้งไตรมาส ไทย แอร์เอเชียให้บริการผู้โดยสารมากกว่า 1.8 ล้านคน ด้วยอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Load Factor) สูงถึง 65% หากเปรียบเทียบกับ AirAsia Group แล้ว มีเพียงบริษัทย่อยที่มาเลเซีย รายงานอัตราการบรรทุกผู้โดยสารที่มากกว่า สูงถึง 66% ส่วนบริษัทย่อยที่อินเดียอยู่ที่ 62% ตามหลัง ไทย แอร์เอชีย
AirAsia กำลังวางแผนเพื่อเพิ่มจำนวนผู้โดยสารให้มากขึ้นในประเทศไทยในไตรมาสที่สี่นี้
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งได้สร้างความมั่นใจให้กับ AirAsia และสายการบินได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการการบินแห่งใหม่ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ โดย ไทย แอร์เอเชีย ยังเป็นสายการบินภายในประเทศที่ใหญ่ที่สุดของไทย แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นกว่านั้นคือ AirAsia มีแผนที่จะดำเนินการเพิ่มผู้โดยสารในไตรมาสที่สี่ให้มากกว่าก่อนเกิดวิกฤตราว 70%-80%
โดยเริ่มจากกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ไทย แอร์เอเชียนั้น ได้มีการให้บริการหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ดอนเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของสายการบินต้นทุนต่ำ ไม่ว่าจะเป็น AirAsia, Nok Air, และ Lion Air
และเมื่อเดือน ก.ย. AirAsia ได้ขยายการดำเนินงานไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งทำการบินไปทั่วประเทศไทย โดยเส้นทางการบินเริ่มแรกนี้จะบินไปยัง เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ และสุราษฎร์ธานี วันละหลายเที่ยวบิน
เหตุใดการขยายการบินในประเทศไทยจึงเหมาะสม
อย่างที่ทราบกันดีว่า สายการบินที่ใหญ่ที่สุดที่ดำเนินการที่สนามบินสุวรรณภูมิ คือ การบินไทย ซึ่งกำลังมีปัญหา เรื่องการปรับโครงสร้าง ท่ามกลางวิกฤตด้านเงินสดและหนี้มหาศาล ดังนั้น ไทย แอร์เอเชีย ซึ่งกำลังรุกตลาดการบินในประเทศโดยหวังว่าจะกวาดผู้โดยสารให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ในช่วงที่การบินไทยยังไม่สามารถต้านทานการเติบโตของไทย แอร์เอเชียได้
สายการบินทั่วโลกกำลังเสาะแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่ และนั่นมักจะหมายถึงเส้นทางการบินใหม่ๆ ยกตัวอย่าง United Airlines ได้เปิดเส้นทางการบินระยะไกลใหม่ Southwest Airlines ก็หาโอกาสใหม่ๆที่สนามบินที่สำคัญของสหรัฐฯ ในยุโรป Lufthansa กำลังเพิ่มเส้นทางการบินระยะไกล ในมี.ค. 2564
เมื่อเส้นทางการบินนานาชาติมีเพิ่มขึ้นและกลับมาเปิดได้อีกครั้ง และมีการเปิดเส้นทางการบินระยะสั้นระหว่างประเทศ ก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่จะเห็นAirAsia เพิ่มเที่ยวบินไปยังเมืองต่างๆ เช่น โซล โตกียว หรือเซี่ยงไฮ้ จากสุวรรณภูมิ โดยใช้ Airbus A330s และทำการบินโดย AirAsia X แต่กว่าจะไปถึงตรงนั้น สายการบินจะต้องตั้งเป้าและให้แน่ใจว่าจะประสบความสำเร็จกับศูนย์กลางการบินระยะสั้นบินจากกรุงเทพฯก่อน
ที่มา:
ภาพ: