28 ต.ค. 2020 เวลา 10:58 • สิ่งแวดล้อม
เทียบให้เห็น #พื้นที่สีเขียว ชัดๆ ว่าถึงประเทศไทยจะมีต้นไม้เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเทียบกับจำนวน #ประชากร แล้ว ความต้องการพื้นที่สีเขียวในหลายๆ พื้นที่ยังอยู่ในระดับพื้นที่สีแดง เรียกได้ว่าไปไม่ถึงความเขียวที่ควรจะเป็น 🌳
.
แผนที่ของ Institute of Public Policy and Development - IPPD ได้แสดงข้อมูลของ 2 ตัวแปร คือ "การปกคลุมของต้นไม้" และ "ความหนาแน่นของประชากร" และนำข้อมูลทั้งสองชุดมาวางทับซ้อนกัน
.
แผนที่ในรูปแสดงสีต่างๆ ไล่ระดับสีตั้งแต่เหลือง 💛 (ต้นไม้น้อยๆ) และค่อยๆ ไต่ระดับโทนไปถึงเขียวเข้มๆ 💚 (ต้นไม้หนาแน่น)
.
เช่นเดียวกับความหนาแน่นของประชากรที่ค่อยๆ ไล่ระดับสีตั้งแต่สีเหลือง 💛 (คนไม่หนาแน่นมาก) ไล่เฉดส้มอ่อน ส้ม แดงอ่อน แดง ❤(ประชากรหนาแน่น)
.
พูดง่ายๆ คือ
สีโทนเย็น เขียว = การปกคลุมของต้นไม้
สีโทนร้อน แดง และเหลืองๆ = ความหนาแน่นของประชากร
.
ภาษาชาวบ้านของการปกคลุมของต้นไม้ก็คือ "พื้นที่สีเขียว" หรือ พื้นที่ต้นไม้เยอะๆ นั่นเอง รวมตั้งแต่ สวนเมือง สวนสาธารณะ อุทยาน ป่า ป่ารกชัฏ ผืนป่าขนาดใหญ่ ฯลฯ 🌳
.
ถ้ามองภาพรวม เราคงจะเห็นสีแดงที่เตะตามาก และเห็นสีเขียวตามขอบๆ ของประเทศ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะเป็นผืนป่าขนาดใหญ่
.
แต่สิ่งที่จะกำหนดว่าเขียวเพียงพอหรือยัง คือการเอาประชากรใส่เข้าไปในสมการของเรื่องนี้ด้วย เพราะหมายถึงการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สีเขียวอย่างมีประสิทธิภาพ
.
เพื่อให้เกิดพื้นที่สีเขียวเชิงคุณภาพ ซึ่งสำคัญกว่าเชิงปริมาณ 🌸
.
ข้อมูลจากแผนที่บอกอะไรเราบ้าง ? เลยขอยกตัวอย่างพื้นที่เมืองใหญ่ๆ มาเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
.
🏙 กรุงเทพฯ 🏙
.
พื้นที่สีเขียว แบ่งได้ 2 สี คือ สีเหลือง (ความเขียว 3.21%) ​กับสีเขียวมะนาวสีอ่อน (ความเขียว 4.45-6.15%)
.
ส่วนประชากรในกรุงเทพฯ อยู่ในระดับสีแดง โซนที่คนน้อยสุดมีประชากรหนาแน่น 3.3 ล้านคน มากสุด 4.8 ล้านคน
.
เมื่อปัจจัยพื้นที่สีเขียว + ความหนาแน่นประชากร กรุงเทพฯ จะกลายเป็นแผนที่เฉดสีแดงเข้มประมาณ 60% และสีแดงอีก 40%
.
สรุปแบบรวบรัดได้ว่ากรุงเทพฯ ยังมีความเขียวเชิงปริมาณเป็นหลัก แม้จะเคลมด้วยตัวเลขต้นไม้ที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อมองทั้งภาพรวมก็ยังสามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดีต่อได้
.
⛺️ เชียงใหม่ ⛺️
.
จังหวัดนี้มีความหลากหลายมากๆ มีทั้งพื้นที่สีเขียว เขียวแก่ เขียวเข้ม เขียวกลางๆ และเขียวอ่อน ตามลำดับ
.
ส่วนระดับความเขียวของเชียงใหม่สูงสุดอยู่ที่ 69.31% (เขียวเข้ม) สันนิษฐานได้ว่าเป็นพื้นที่ป่าไม้หรือป่าอนุรักษ์ อุทยาน ฯลฯ
.
แต่เชียงใหม่ก็มีประชากรมากเช่นกัน เรียงตามความหนาแน่นจากน้อยไปมาก เป็น เหลือง (1.2 - 3.6 หมื่นคน) เหลืองเข้ม (3.6 - 7.1 หมื่นคน) ส้ม (7.1 หมื่น - 1.14 แสนคน) และแดง (มากกว่า 1.14 แสนคน)
.
เมื่อนำสองปัจจัยมารวมกัน เชียงใหม่ก็มีทั้งพื้นที่สีเขียวต่ำ พื้นที่ไม่ถึงเกณฑ์ และพื้นที่สีเขียวจริงๆ แต่สังเกตได้ว่าพื้นที่ที่ไม่เขียวมักจะมีประชากรอยู่หนาแน่น
.
🌄 โคราช - นครราชสีมา 🌄
.
พื้นที่สีเขียวของจังหวัดนี้เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ถือว่าไม่ได้เขียวเท่าไร เพราะกว่า 60% ของพื้นที่เป็นระดับสีเหลือง (ความเขียวต่ำกว่า 4%) ส่วนพื้นที่สีเขียวเข้มจริงๆ มีไม่ถึง 30% (ความเขียวมากกว่า 54%) ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนล่างของจังหวัด
.
ส่วนประชากรก็อยู่ที่เฉดสีแดง ปะปนสีแดงเข้ม สะท้อนว่าประชากรอาศัยหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ประชากรสีเหลืองตั้งแต่ 1.2 -3.6 หมื่น อยู่ประปรายเท่านั้น
.
โคราชเป็นอีกจังหวัดที่เขียวแต่ไม่ถึง
.
🏝 สงขลา 🏝
.
พื้นที่สีเขียวในสงขลาถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เขียวมากแทบทุกพื้นที่ ขนาดพื้นที่น้อยสุดยังมีความเขียวที่ 15.92% มากสุด 66.29%
.
แต่ประชากรโดยรวมของทั้งสงขลามีจำนวนมากจนนิยามได้ว่าส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีแดงเข้มและแดง คือมีประชากรราวๆ แสนคนกระจายหลายพื้นที่
.
เหมือนสงขลาจะแอบโชคดีที่มีพื้นที่เขียวเยอะ เพราะเมื่อรวมปัจจัยเขียวกับความหนาแน่นประชากรแล้ว เฉดสีของจังหวัดสงขลายังอยู่ที่สีม่วง ไม่ถึงขั้นแดง แต่ก็เกือบแดงเช่นกัน
.
นอกจากนี้ เรายังสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ IPPD วิเคราะห์ที่ https://data.ippd.or.th/map/ จะได้เห็นภาพรวมทั้งประเทศว่าสถานการณ์ความเขียวเป็นอย่างไร
โฆษณา