28 ต.ค. 2020 เวลา 11:06 • สิ่งแวดล้อม
กรมทางหลวง จับมือภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำร่องสร้างถนนจาก “ขยะพลาสติก” ใช้ถุง 900,000 ใบ แทนยางมะตอย 1 กิโลเมตร 🚧
.
ปัจจุบันถนน (ทางหลวง) กว่า 70,000 กิโลเมตร อยู่ภายใต้กำกับของ กรมทางหลวง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ 'ก่อสร้าง' และบำรุง 'รักษา' ทางหลวงทั่วประเทศ
.
ในยุคที่ใครๆ ก็โปรยเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)🌳 และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมทำให้กรมทางหลวงหาวิธีการจัดการใหม่โดยเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบทางมากขึ้น
.
อธิบดีกรมทางหลวงชนบท “ปฐม เฉลยวาเรศ” พูดถึงแนวทางใหม่ของกรมฯ ว่าจะใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกมาทดแทนคอนกรีต โดยจับมือกับ SCG กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
แต่ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอน ‘นำร่อง’ เท่านั้น เพราะปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการวิจัยและพัฒนา และทดลองใช้จริงในพื้นที่ของภาคเอกชน เช่น นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล จ.ระยอง และนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ ชลบุรี เป็นต้น 🏞
.
จากการศึกษาได้ทดลองสร้างถนนพลาสติกความยาว 1 กิโลเมตร หน้ากว้างถนน 6 เมตร จากขยะพลาสติกประมาณ 3 ตัน หรือเท่ากับถุงพลาสติกเกือบ 900,000 ใบ
.
(แต่ขยะพลาสติกไม่ใช้ส่วนประกอบหลักในการทำถนน เพราะงานศึกษาจะทำถนนแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีพลาสติกเหลือใช้เป็นส่วนผสม)
.
โดยนำร่องสร้างถนนจากพลาสติกไปแล้ว 7.7 กิโลเมตร สามารถนำพลาสติกเหลือใช้หมุนเวียนกลับมาสร้างคุณค่าได้รวม 23 ตัน 🛣
.
ส่วนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ได้ริเริ่มโครงการนำขยะพลาสติกที่เหลือจากโรงคัดแยกขยะต้นแบบของมหาวิทยาลัย มาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตแอสฟัลต์คอนกรีต เพื่อการก่อสร้างและซ่อมแซมโครงข่ายถนนในมหาวิทยาลัย
.
สรุปแล้ว งานศึกษาสร้างถนนจากขยะพลาสติกครั้งนี้ เหมือนกับการยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว เพราะประโยชน์คือได้กับได้ คือ
.
1 ไทยมีนวัตกรรมใหม่ในการก่อสร้างถนน
2 ถนนที่มีส่วนผสมจากขยะพลาสติกจะแข็งแรงทนทานกว่าการใช้ยางมะตอย
3 นำขยะพลาสติกกลับมารีไซเคิล
4 ลดขยะตกค้าง
5 สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐเรื่อง BCG (Bio – Circular - Green Economy)
.
อธิบดีกรมทางหลวงชนบท บอกว่า หากโครงการฯ สำเร็จ จะสามารถขยายผลไปสู่การทำถนนในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยได้จริง 🚥
โฆษณา