1 เวลาพูดเรื่องโลกร้อน พลาสติก เราก็คิดว่าดีจังเลย ลดแก้วพลาสติกกันเถอะ จะได้ลดโลกร้อน แต่ปัญหาการสื่อสารมันผิดฝาผิดตัว 🧂
2 ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักไม่ค่อยถูกแก้อย่างตรงจุด เพราะแคมเปญที่ได้รับความสนใจเยอะมักจะเป็นเรื่องสัตว์ตายหรือสัตว์น่าสงสาร แต่การสื่อประเด็นลักษณะนี้ทำให้คนเข้าใจประเด็นสิ่งแวดล้อมผิด เพราะสัตว์ที่ได้รับผลกระทบเป็นแค่ปลายทาง 🐳
3 ปัญหาการสื่อสารสิ่งแวดล้อม ถ้าคนสงสาร จะได้ผลกับความรู้สึกคน แต่การแก้ปัญหาจะไม่ตรงประเด็น แต่การแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นจะไม่ impact เพราะต้องใช้เวลานาน และไม่เห็นผลทันที
4 สาเหตุคือต้นตอ Climate Change แม้จะมีแคมเปญบอกให้รักโลก ใช้ถุงผ้า แต่อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นทุกวันโดยไม่รู้ตัว การแก้ปัญหาต้องใช้เวลานาน ทำกันเป็น 10 ปี
5 นับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมปี 1850 หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้น พื้นที่เมืองซึ่งกินสัดส่วนแค่ 2% ของโลก กลับกินทรัพยากรไปถึง 99% จากนั้นการใช้ทรัพยากรของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นโจทย์ของโลกยุคใหม่คือการจัดสรรทรัพยากรอย่างยั่งยืน 👩🦲
6 การจัดสรรทรัพยากรอย่างยั่งยืน เน้นไปที่เรื่องสภาพภูมิอากาศตาม Paris Agreement ซึ่งควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 องศาในปี 2100
7 ต่อให้โลกอุณหภูมิสูงขึ้น 5-6 องศา คนอยู่ไม่ได้ แต่โลกยังอยู่ต่อไป สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาแทน
8 สิ่งแวดล้อมยังมีปัญหาขยะ โลกร้อน ป่าเสื่อมโทรม ฝุ่นควันจากไฟป่า สัตว์ป่าที่โดนล่า สัตว์สงวน การเสื่อมถอยของดิน ทรัพยากรน้ำ กทม.กำลังจมเป็นเมืองใต้บาดาล 💧
9 พื้นที่สีเขียว ต้องมาจากการตัดสินใจของทุกคน ทั้งประชาชน เอกชน และภาครัฐ และพื้นที่สีเขียวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ขณะเดียวกันการที่จะมี “สิทธิ” ที่ดีไม่ได้มาจากแค่การเมือง แต่มาจากสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น สิทธิในการหายใจ สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี
10 วรรณสิงห์มองว่าการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมี 3 ขา คือ 1 สร้างจิตสำนึก 2 ธุรกิจเอกชน 3 ภาครัฐ