28 ต.ค. 2020 เวลา 11:30 • สิ่งแวดล้อม
มูลนิธิป่ารอยต่อฯ ทำอะไรให้สิ่งแวดล้อม 🔥 (1) #ถ้าการเมืองดี
จำได้ไหมว่า ปลายเดือน ก.พ. 2563 ราว 7 เดือนก่อน
ที่ Rangsiman Rome - รังสิมันต์ โรม อภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาถึง พลเอกประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในประเด็น “มูลนิธิป่ารอยต่อฯ” ว่าสะท้อนถึงเครือข่ายอำนาจ-ทุน-ทหาร
จากป่ารอยต่อที่น้อยคนรู้จัก กลายเป็นที่รู้จักในฐานะเครือข่าย ‘อำนาจ’ หน้าฉากของพลเอกประวิทย์
อีก branding ของพลเอกประวิตร คือคนทำงานด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ รักษาธรรมชาติ เพราะอันที่จริงพล.อ.ประวิตร ลุยงานด้านสิ่งแวดล้อมบ่อยมาก ทั้งนี้ก็ไม่รู้ว่าลึกๆ ชอบต้นไม้จริงหรือเปล่า (ประเด็นนี้จะมาเล่าในตอนต่อไป) 🌳
🔒 จุดเริ่มต้นป่ารอยต่อ 🔒
ชื่อเต็มคือมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในที่นี้ขอเรียกสั้นๆ ว่า “มูลนิธิป่ารอยต่อฯ” โดยมูลนิธินี้ใช้ชื่อล้อกับ “พื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด” ซึ่งเป็นผืนป่าครอบคลุม 5 จังหวัด คือฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ระยอง และชลบุรี
ผืนป่าขนาดใหญ่ 1.3 ล้านไร่ ย่อมมีความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งต้นน้ำ และเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่ามากกว่า 600 ชนิด แต่ความอุดมสมบูรณ์ค่อยๆ ลดลงจากหลายปัจจัย
ในปี 2510 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้ง ‘วอร์รูม’ 🧤 กองอำนวยการ ศูนย์พิทักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดให้ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ นำมาสู่ “โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด”
26 ปีถัดมา ในปี 2536 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับโครงการฯ ไว้เป็นโครงการอันเนื่องในพระราชดำริ
❗️แต่แล้วปี 2549 กองทัพบกมารับช่วงต่อด้วยการจัดตั้ง “กองทุนเพื่อป่ารอยต่อ 5 จังหวัด” ต่อมาจดทะเบียนเป็นมูลนิธิเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ในชื่อ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด
ณ เวลานั้น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เพิ่งลาตำแหน่ง ผบ.ทบ.ได้ประมาณ 5 เดือน ก็มารับไม้ต่อเป็น “ประธานกรรมการมูลนิธิฯ” ทันที 🧟‍♀️
15 ปีหลังมูลนิธิป่ารอยต่อฯ เว็บไซต์ของมูลนิธิรายงานผลงานว่า
- สร้างฝายแล้วกว่า 1,000 แห่ง
- ขุดบ่อน้ำสำหรับสัตว์ป่ากว่า 300 บ่อ
- ปลูกป่ามากกว่า 1,000 ไร่
- ขุดคูกั้นช้างระยะทางกว่า 590 กิโลเมตร
- จำนวนช้างป่าเพิ่มขึ้นกว่า 500 ตัว
- ไม่มีการเกิดไฟป่าตั้งแต่ปี 2549
- ช่วยเหลือผู้ประสบภับพิบัติ
- ตอบแทนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ให้ประกันชีวิตกว่า 900 คนต่อปี / มอบทุนการศึกษาให้ลูกหลานเจ้าหน้าที่กว่า 400 คนต่อปี / มอบเงินช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกสัตว์ป่าทำร้าย 10,000 บาทต่อคน
- วารสารมณีบูรพา ออกทุกๆ 3 เดือน เล่าถึงการทำงานและผลงานของมูลนิธิ
ฯลฯ
ทั้งนี้ไม่สามารถตัดสินได้ว่าผลงานเด่นข้างต้นดีหรือไม่ เป็นประโยชน์อย่างไร มีความยั่งยืนในการทำงานหรือไม่ หรือมี hidden agenda หรือเปล่า
แต่ประเด็นหนึ่งที่ต้องตั้งคำถามคือ ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือ “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ซึ่งมีกรมต่างๆ ที่ดูแลในหลากประเด็นป่าอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น
🌳 กรมป่าไม้ - อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า และการดำเนินการเกี่ยวกับการป่าไม้ ควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบ
🌳 กรมอุทยานฯ - ส่งเสริมและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์
นอกจากนี้ยังประเด็นสิ่งแวดล้อมเฉพาะ เช่น อากาศ ธรณีวิทยา เป็นต้น และยังมีโครงการเฉพาะกิจของภาครัฐที่มักเข้ามาแจมประเด็นสิ่งแวดล้อมอย่างประปราย และมีซีเอสอาร์ภาคเอกชนที่เข้ามาแจมในเรื่องสิ่งแวดล้อมหลายต่อหลายครั้ง 🍃
คำถามคือมูลนิธิป่ารอยต่อฯ มีไว้ทำไมในเมื่อหน้าที่ทับซ้อนกับหน่วยงานรัฐ ❓
ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถเทียบ fact ชัดๆ ได้ว่าระหว่างหน่วยงานรัฐที่ดูแลป่าโดยตรงกับมูลนิธิป่ารอยต่อฯ ใครทำอะไรให้สิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน
ที่สำคัญต้องเทียบผลงานระหว่างหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงกับมูลนิธิป่ารอยต่อฯ ว่าใครทำอะไรให้สิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน
ยิ่งกว่านั้นมูลนิธิฯ ยังใช้หัวหน้าอุทยานและหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตวป่าบางแห่งมาทำงานให้กับป่ารอยต่อฯ (อ้างอิงตามวารสารมณีบูรพา)
🍂 แต่อาจจะอ้างได้ว่าต่อให้หน้าที่เหมือนกัน เพราะอันหนึ่งเป็นมูลนิธิ ขณะที่อีกอันเป็นภาครัฐ - แต่ประเด็นนี้ก็ยังไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าป่ารอยต่อฯ เป็นมูลนิธิที่ประชาชน หรือเป็นศูนย์รวมคนรักสิ่งแวดล้อมจริงๆ เพราะถ้าคิดในแง่ดีก็เหมือนภาครัฐรับจ็อบในงานที่ซ้ำกัน ขณะเดียวกันในมูลนิธิข้อมูลก็เต็มไปด้วยทหารและชนชั้นนำที่เข้าไปมีส่วนร่วม
- พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ให้กับวารสารมณีบูรพา
- พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ให้กับวารสารมณีบูรพา
- คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี (เจ้าสัวไทยเบฟ) เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ให้กับวารสารมณีบูรพา
- สำนักข่าวอิศรา รายงานเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.60 ว่า กรรมการมูลนิธิฯ 9 คนได้รับแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แก่ พลเอกนพดล อินทปัญญา ,พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ ,พลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท ,พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา , พลเอก คณิต สาพิทักษ์ ,พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน), พลเอก ธีรชัย นาควานิช (ปัจจุบันเป็นองคมนตรี) ,พลเอก วลิต โรจนภักดี และ พลตรีณัฐ อินทรเจริญ
ฯลฯ
ยิ่งในช่วงเวลาที่ประชาชนชุมนุมกันเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย พร้อมยื่นข้อเสนอ 3 ข้อ แต่มีอีกหลายประเด็นที่ไม่ถูกพูดถึงเท่าที่ควร
นอกจากป่ารอยต่อจะเชื่อมโยงผืนป่า 5 จังหวัดแล้ว อาจจะเชื่อมโยงรอยต่ออื่นๆ ที่ประชาชนมองไม่เห็น 🌎
โฆษณา