28 ต.ค. 2020 เวลา 11:40 • การศึกษา
บทที่ 1.คำเดี่ยวพิสดาร
(พิสดารแปลว่ากว้างขวาง)
“ยา” คำเดี่ยวที่มีหลายความหมาย
เราเคยสงสัยใหมว่า ทำไมคำว่า ยารักษาโรค จึงมีเสียง"ยา"เหมือนคำอื่น แต่มีความหมายต่างกัน
คำว่า “ยา” ในภาษาไทยมีหลายความหมายมาก และที่น่าสนใจคือคำเหล่า
นั้นคือบางคำเขียนเหมือนกันแต่มีความหมายแตกต่างกัน เช่น
-แปลว่ายารักษาโรค
-แปลว่าพ่อและผู้เคารพนับถือในภาษาอิสาน
-แปลว่าการรักษา สนับสนุน,ปัดป้อง,แก้ไข คนที่ทำหน้าที่นี้อาจเป็นเพื่อน (เพื่อน
ยา),พี่(พียา),น้อง(น้องยา)
-แปลว่า ปิด,คลุม อุดรูรั่วเช่นยาเรือ หรืออุดรอยรั่วของเตาเผาถ่านเรียกว่ายาเตา
คนที่ต่อเรือไม้ขาย จะเข้าใจคำว่ายาเรือเป็นอย่างดี.
คำนี้ในภาษาไทยออกสำเนียงเหมือนกัน ในคำไทเก่าก็มีคำในกลุ่มนี้หลายคำ
การออกเสียงของคำแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ความหมายเหมือนกันกับคำของไทย
คำนี้ผูกโยงกันเป็นกลุ่มคำจนกลายเป็นคำที่มีความหมายหลายอย่าง ซึ่งมีคำที่มี
ลักษณะแบบนี้ในภาษาไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก.
คำว่า"ยา" สำเนียงไทเก่าออกเสียงว่า หย๊า
1)เด็กชายคนหนึ่งเกิดบาดแผลจากการเล่น จึงต้องหายามาใส่แผล
ยาจึงแปลว่ายารักษา-โรค
2)พ่อหรือผู้อาวุโสในหมู่บ้านที่มีความรู้เรื่องการรักษาจึงนำยาสมุนไพร
มาปิดแผลให้ ยาคำที่สองจึงแปลว่าพ่อหรือผู้อาวุโส.
3)การรักษาโดยการนำสมุนไพรมาปิดบาดแผล ยาคำที่สามจึงแปลว่า
ปิด คลุม อุด.ความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาเรือ ยาเตาในภาษาไทย
4)ผู้อาวุโสแจ้งว่า ยาที่ปิดแผลนี้ใว้จะต้องเปลี่ยนใหม่ทุกวัน เพราะ
ฉะนั้นพรุ่งนี้ให้มาเปลี่ยนยาใหม่ เมื่อเด็กชายตอบตกลง ยา คำที่สี่ แปลว่าการ
รักษาคำมั่น คำนี้คือคำเดียวกับคำว่า”สัญญา”ในภาษาไทย.
 
5)คำว่าหย๋าเสียงต่ำ ยังใช้เรียกแทนคำว่า ย่าได้อีกด้วย.
คำที่มีความหมายว่า"ยา"(รักษาโรค) นอกจากคำว่า"ยา"แล้ว ภาษาไท
เก่าแถบตอนใต้ของจีนยังมีอีกคำหนึ่งคือคำว่า หย้า (หญ้า)
เพราะคนในสมัยโบราณใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรค.และถ้าหญ้าชนิดนั้นเป็น
สมุนไพรภาษาไทเก่าเรียกว่า ยาหยูก แต่ภาษาไทยเรียกว่าหยูกยา.
คำว่าหย้า (หญ้า)นี้นอกจากแปลว่ายา(รักษาโรค)แล้ว ยังมีความหมาย
ที่ตรงกับภาษาไทยคือแปลว่าต้นหญ้า แต่ภาษาไทเก่ายังมีอีกความหมายที่ไม่มี
ในภาษาไทย อธิบายได้ว่า ต้นหญ้าเมื่อเราตัดทิ้ง ผ่านไปสักระยะต้นหญ้าจะงอก
ขึ้นมาใหม่ เราต้องตัดทิ้งใหม่ ทำให้คำว่าหญ้า,หย้า มีอีกความหมายคือ สิ่งเกิด
ขึ้นอีกครั้งเป็นระยะๆ.
บทความตอนต่อไป เรื่องคำซ้อนในภาษาไทย ทำไมคำเหล่านั้นจึงต้องเขียน
เป็นคำซ้อน เช่น ทองคำ,เปียกปอน,ง้องอน,หยาบช้า.
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน.
คำไทยโบราณ ๒๘.๑๐.๖๓
โฆษณา