Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WonderVenture
•
ติดตาม
30 ต.ค. 2020 เวลา 12:41 • ประวัติศาสตร์
นักเรียนนอกคนแรกแห่งแผ่นดินสยามเป็นเพียงเด็กสามัญชนคนธรรมดา มีบ้านเป็นโรงหนังกลางแปลง ที่มีชื่อว่า "โรงหนังเฉลิมหอย"
ภาพจากเฟสบุ๊คเพจ SiamRenaissance
หลังจากที่ผมเริ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนนอกกลุ่มแรกของสยาม และได้พบข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มแรกทั้ง 8 ท่านครับ
นักเรียนกลุ่มแรกนี้ ซึ่งได้รับโอกาสถูกส่งตัวไปศึกษาจากต่างประเทศ ตามพระราชดำริจากรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีทั้งหญิงและชายดังนี้ครับ
1.พระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) ท่านนี้ส่งไปศึกษาวิชาทหารเรือที่สิงคโปร์ครับ
2.พระยาอรรคราชวราทร (เนตร เนตรายน) ส่งไปศึกษาที่สิงคโปร์เช่นกัน แต่ศึกษาเกี่ยวกับภาษาและการฑูตครับ
3.เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ท่านนี้ถูกส่งไปอังกฤษก่อนใครเพื่อน ตั้งแต่อายุ 15 ปี และไปจบมัธยมที่นั่นด้วย นับว่าเป็นนักเรียนอังกฤษจากสยามคนแรกครับ
4.พลโท เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ถูงส่งตัวไปศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ที่วูลลิช อังกฤษ ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4
5.พระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ บุนนาค) ถูกส่งไปอังกฤษช่วงปลายรัชกาลที่ 4 เช่นกัน
6.หลวงดำรงสุรินทรฤทธิ์ (บิ๋น บุนนาค) ท่านนี้ถูกส่งไปศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสครับ
7.พระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้ สารสิน) ท่านผู้นี้ได้รับคัดเลือกจากคณะมิชชันนารีอเมริกัน และถูกส่งไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ที่สหรัฐอเมริกาครับ
8. คนสุดท้ายคือ เอสเท่อร์ หรือ "แม่เต๋อ" ได้รับการคัดเลือกจากมิชชันนารีอเมริกันส่งไปศึกษาวิชาพยาบาลที่สหรัฐฯครับ
คราวนี้จุดพีคไม่ได้อยู่ที่นักเรียนกลุ่มนี้ครับ เพราะว่ายังมีนักเรียนนอกอีกผู้หนึ่ง ที่ได้ออกไปก่อนกลุ่มนี้ซะอีก แต่ประวัติศาสตร์ไม่ค่อยจะกล่าวถึงนัก
วันนั้นหลังจากผมวางหนังสือนิยายสี่แผ่นดินลง ก็หวนนึกถึงเนื้อหาในนิยายที่กล่าวว่าในคลองบางหลวงนั้น มีบ้านเรือนของข้าราชการ รวมทั้งขุนนางใหญ่ในยุครัชกาลที่ 5 หลายคน แปลว่าน่าจะหลงเหลือหลักฐานบางอย่างที่น่าสนใจรอให้ศึกษาครับ
"นิยายสี่แผ่นดินนี้" เป็นนิยายที่อิงจากข้อมูลที่มีจริงในยุคนั้น ผมศึกษาข้อมูลอยู่สักพัก หาแผนที่ราชการเก่าๆของยุคนั้นมานั่งอ่านและวิเคราะห์ จึงได้พบสถานที่ราชการหลายแห่งซึ่งในอดีตนั้นมีที่ตั้งอยู่คนละที่กับปัจจุบันครับ
กรุงเทพฯ-กรุงธน จ.ศ.1249 ภาพจาก ชาตรี ประกิตนนทการ
ขณะมองแผ่นที่เก่านี้ ตาของผมโฟกัสไปที่คลองบางหลวง ซึ่งก็ได้พบสถานที่ราชการหลายแห่งรวมเป็นกระจุกบริเวณตรงข้ามปากคลอง"บางไส้ไก่"(คลองสายรองที่เชื่อมมาจากคลองบางหลวง)
ซึ่งฝั่งตรงข้ามนั้นจะเต็มไปด้วยหน่วยงานราชการ อาทิ เช่น โรงเรือของกระทรวงเกษตราธิการ โรงเรือของกรมสรรพากร ที่ว่าการอำเภอบางกอกใหญ่เก่า บริเวณนี้เป็นจุดรวมของหน่วยงานราชการในจังหวัดธนบุรีเมื่อครั้งอดีต นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ผมลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ในบริเวณแถบนี้ครับ
เดิมนั้นปากคลองบางไส้ไก่อีกฝั่งหนึ่งเป็น ที่ว่าการอำเภอบางกอกใหญ่ นายอำเภอคนแรกของอำเภอนี้คือ ขุนยี่สารเสนี เมื่อทางการได้แบ่งเขตการปกครองใหม่โดยใช้คลองบางหลวงเป็นแนวแบ่งเขต จึงได้ย้ายอำเภอบางกอกใหญ่ไปอยู่ข้างวัดหงส์รัตนารามแทนครับ
ติดกับที่ว่าการอำเภอแห่งนี้ หากดูตามแผนที่เดิมของทางราชการมีโรงเรืออยู่ 2 แห่ง แห่งแรกคือโรงเรือของกระทรวงเกษตราธิการ และติดๆกันคือโรงเรือของกรมสรรพากร ยุคนั้นใช้เรือเป็นหลักครับ
เลยโรงเรือไปไปนิดนึง คือ บ้านของ พระยาชลธารพินิจจัย(ฉุน ชลานุเคราะห์) นักเรียนนอกคนแรกของสยามครับผม
นักเรียนนอกคนแรกผู้สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรเดินเรือทะเลอย่างชาวตะวันตกเชี่ยวชาญจนได้รับสมญานาม "กัปตันฉุน" บ้านเรือนของท่านอยู่ในคลองบางหลวงเช่นกันครับ
พระยาชลธารวินิจฉัย (ฉุน ชลานุเคราะห์)
พระยาชลธารวินิจฉัย (ฉุน ชลานุเคราะห์) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2369 ในสมัยกาลที่ 3 ครับ ท่านเป็นบุตรของหมื่นขจรเจนชลา (เงิน) กับมารดาไม่ทราบชื่อที่เป็นชาวญวนในเมืองจันทบุรี
1
ในวัยเยาว์ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ตั้งแต่ยังมีบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นไวยวรนารถ จนมีอายุพอสมควรแล้วจึงฝากกัปตันชาวอังกฤษให้พาออกไปศึกษาฝึกหัดวิชาการเดินเรือ ณ ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ช่วงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับว่าเป็นนักเรียนนอกคนแรกในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ครับ
เมื่อสำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรสามารถเดินเรือทะเลได้อย่างชาวตะวันตกแล้ว จึงเดินทางกลับเข้ามารับราชการในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกกันโดยสามัญในเวลานั้นว่า “กัปตันฉุน”
ต่อมาท่านได้เป็นล่ามประจำตัวพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ราชทูต ครั้งเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2400
ราชทูต ครั้งเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย
และเป็นล่ามประจำตัวเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ตั้งแต่ยังมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนารถ อุปทูต ครั้งเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2404
1
รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป
และเมื่อ พ.ศ.2413 ซึ่งขณะนั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขุนจรเจนทะเล (ฉุน) ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น "พระชลธารวินิจฉัย" ตำแหน่งพนักงานตรวจตรารักษาคลองใหญ่น้อยทั้งปวง และต่อมาก็ได้เป็น “พระยา” ในราชทินนามเดียวกันตำแหน่งเจ้ากรมคลองครับ
หากถามว่าเรือนของท่านตอนนี้เป็นอย่างไร ?ตอนนี้โดนทุบทิ้งไปแล้วครับ ขึ้นเป็นบ้านตึกไปหมดแล้ว หากแต่ผมได้สอบถามผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านได้ให้ข้อมูลมาว่า
"บ้านของพระยาชลธารพินิจฉัย(ฉุน ชลานุเคราะห์) ภายในบริเวณบ้านมีบ้านหลายหลัง เรือนประธานเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น หลังคาสังกะสี ปลูกสร้างอย่างธรรมดาทั่ว ๆ ไป เน้นเอาประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
มีห้องแถวสร้างให้เจ๊กเช่า 6-7 ห้อง อาชีพของผู้เช่าส่วนใหญ่ขายหมู หอยแมลงภู่ หอยกระพง เฉพาะหอยแมลงภู่นอกจากขายเป็นตัว ๆ แล้ว ยังแกะเปลือกเอาแต่เนื้อออกขาย เปลือกที่แกะทิ้งลงใต้ถุนบ้าน เวลาน้ำลงจะเห็นเปลือกหอยแมลงภู่ทับถมอยู่ริมคลองเป็นกองสูงเต็มไปหมด เปลือกหอยที่ว่านี้บางครั้งก็เอาไปถมที่ในบ้านพระยาชลธารฯ
หนังกลางแปลง
และครั้งหนึ่งในบ้านแห่งนี้เคยเอาหนังมาฉายในลานบ้าน เจ้าของบ้านอนุญาตให้เด็กและผู้ใหญ่แถวนั้นเข้าไปดูได้ ฉายเป็นเดือนชาวบ้านที่เข้าไปดูหนังกลางแปลงบนเปลือกหอย ในบ้านของพระยาชลธารฯ นี้ จนผู้คนทั้งบางเรียกชื่อว่าเป็น 'โรงหนังเฉลิมหอย' "
และนี่คือเรื่องราวของกัปตันฉุน ผู้เป็นต้นสกุล "ชลานุเคราะห์" ครับ
จะเห็นได้ว่า รัชกาลที่ 3 พระองค์ท่านทรงเตรียมการรองรับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในโลก ด้วยการเริ่มส่งนักเรียนสยามไปศึกษาเรียนรู้เพื่อนำมาพัฒนาประเทศ ซึ่งต่อมาเป็นการส่งนักเรียนนอกกลุ่มแรกออกไปศึกษาต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่ก็ไม่วายที่จะประสบเคราะห์กรรมจากฝรั่งจนได้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ครับ
และแม้ว่าปัจจุบันนี้ภัยคุกคามด้านใช้กำลังอาจจะหมดไป แต่ภัยคุกคามทางเศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยากำลังคืบคลานมา มีการครอบงำด้วยวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง ขอให้เราเตรียมรับภัยคุกคามเหล่านี้ไว้ให้ดี อย่ามัวหลงระเริงกับความสุขและยาพิษที่ได้รับ
ภาพเก่าคลองบางหลวง
ผมขอยกคำจากพระราชกระแสตอนหนึ่งของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 3 ที่พระราชทานกับพระยาศรีสุริยวงศ์ ตามที่กล่าวไว้ว่า
"การงานสิ่งใดของเขาที่คิดควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว" หรือสรุปได้ว่า "จงเอาเยี่ยง แต่อย่าเอาอย่าง"
อ้างอิง:
- ๑๐๐ เรื่องเล่า ขุนนางสยาม สำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์
- ห้องสมุดสกุลไทย ปถพีรดี รวบรวม โดย พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ
- ย้ำรอยอดีตคลองบางหลวง 2 โดย วราห์ โรจนวิภาต
- แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๓๐ ฉบับธงชัยฯ
1
6 บันทึก
57
16
17
6
57
16
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย