30 ต.ค. 2020 เวลา 15:09 • การศึกษา
บทที่2.คำซ้อนในภาษาไทย
คำซ้อนในภาษาไทย ถือเป็นมรดกอันล้ำค่า ที่บรรพชนไทยโบราณได้คิดค้นขึ้นและส่งต่อมายังลูกหลานเผ่าไทยในประเทศไทย ที่กล่าวเช่นนี้เพราะยังไม่เคยพบคำซ้อนที่ว่านี้ในเผ่าไทยอื่นๆที่อยู่นอกประเทศไทย ท่านอาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับ
คำกล่าวนี้ แต่เมื่อท่านอ่านจบก็จะรู้ได้ว่า คำนี้ไม่ได้กล่าวเกินจริง. คำซ้อนเหล่านี้เป็นคำคู่ หรือคำสองพยางค์เขียนติดกัน แต่ไม่ใช่คำวิเศษณ์เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว ยาว
สั้น.
การเกิดขึ้นของคำซ้อนมีนักภาษาศาสตร์สันนิฐานใว้หลายแนวทาง เช่น เพื่อความสละสลวยของภาษา.,เอาคำที่มีความหมายแนวเดียวกันมาเขียนติดกัน หรือ
คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ได้อธิบายใว้ว่า เกิดจากเอาคำไทยกับคำภาษาอื่นมาเขียนรวม
กัน เช่น คุณสุจิตต์ ได้ยกตัวอย่างคำว่า ทองคำ."ทอง"เป็นภาษามอญและคำว่า
"คำ"เป็นภาษาไทย เมื่อเขียนรวมกันเป็นคำว่า"ทองคำ" แปลว่าทองคำใน
ภาษาไทยในปัจจุบัน.
แต่เท่าที่ได้ค้นคว้ามานานปีพบว่าข้อสันนิฐานที่ใกล้เคียงที่สุดถึงที่มาของคำซ้อน คือข้อสันนิฐานที่ว่า การเอาคำที่มีความหมายแนวเดียวกันมาเขียนติดกัน แต่เพราะสาเหตุใดจึงต้องนำคำที่มีความหมายแนวเดียวกันมาเขียนติดกัน. สาเหตุก็เพราะว่า
คำเผ่าไทโบราณในคำหนึ่งๆจะมีหลายความหมาย การจะรู้ว่าคำนั้นใช้ความหมายใด จะต้องดูคำอื่นในประโยคทั้งหมด รูปแบบคำเดี่ยวเหล่านี้คนเผ่าไทซึ่งอยู่ในจีน ตอนใต้และเวียดนามเหนือยังใช้อยู่.
จึงขอยกคำว่า "สัญญา" (สันยา)แปลว่าการให้คำมั่นสัญญา.
คำว่า " สัญ"(สัน)
คำว่า "สัน" (xan)ภาษาเผ่าไทโบราณมีความหมายว่า. 1)แปลว่า ผลัก,ดัน.2.แปลว่ายึดมั่น,ถือให้มั่น,3.ซุก เช่นเป็ดเอาหัวซุกใต้ปีก.
คำว่า " ยา"(ญา)
ตัวอย่างจากตอนที่แล้วคำว่า"ยา" มีหลายความหมาย.
-แมวป่วยต้องไปซื้อ"ยา"มาให้แมวกิน "ยา"คำนี้แปลว่ายารักษาโรค
-ขายเรือขนาด6เมตร ต่อด้วยไม้อย่างดี แต่ยังไม่ได้ยา "ยา"คำนี้แปลว่าอุด หรือ
ปิดรูรั่ว.
-ลูกยา(ญา)กับแม่ว่าจะกลับบ้านก่อน5โมงเย็น. "ยา"(ญา)คำนี้แปลว่า การให้คำมั่น.
เมื่อเราต้องการคำที่ให้ความหมายตรงกับคำว่า "สัญญา"ในภาษาไทยปัจจุบัน.
บรรพชนไทยโบราณจึงเอาคำว่า"สัน"(สัญ)และคำว่า" ยา"(ญา)ที่มีความว่า
"การรักษาคำมั่น"มาเขียนติดกัน.จึงกลายเป็นคำซ้อนที่มีความหมายว่า "สัญญา"
(สันยา).
คำว่า หยาบช้า
คำว่า หยาบช้า ในภาษาไทยเราคุ้นเคยคำว่าหยาบ เช่นผิวหยาบ เนื้อหยาบ
แต่คำว่าช้ามีความหมายอย่างอื่นเช่น เดินช้า,วิ่งช้า,รถมาช้า.แต่เมื่อคำว่า"ช้า"
มาเขียนเป็นคำซ้อนเป็นคำว่า"หยาบช้า" ก็ยังมีความหมายเหมือนคำว่า
หยาบอยู่เหมือนเดิม
สำนักงานราชบัณฑิตยสภาแปลคำนี้ใว้ว่า ตํ่าช้า, เลวทราม, เช่น จิตใจหยาบช้า.
หลักการคำนี้เหมือนที่กล่าวใว้ข้างต้น นำคำที่มีความหมายเดียวกันมาเขียนติดกัน
เพราะคำเดิมมีหลายความหมาย.คำว่า "หยาบ"คำเผ่าไทโบราณแปลว่า 1.หยาบ.
2.ดื้อรั้น,สั่งยาก.เช่นประโยคว่า "เด็กเคียนหยาบ" แปลว่าเด็กที่สั่งได้ยาก
(เคียนแปลว่า สั่ง,คำสั่ง.)
คำว่า "ช้า"คำเผ่าไทโบราณออกเสียงคำนี้ว่า "ฉ่า"แปลได้หลายความหมายคือ 1.น้ำชา 2.ลาก(กิ่งไม้)3.แปลว่ารั้วกั้น,ตาข่าย 4.หยาบ 5.แห้ง.
(คำนี้ภาษาภาคใต้ออกเสียงว่า"ฉา" แปลว่าฉุด,ลากและแปลว่าตะกร้า.) เมื่อเรานำคำว่าหยาบที่แปลว่า หยาบ เขียนติดกันกับคำว่าฉ่าที่แปลว่าหยาบ (ที่ออกเสียงสำเนียงไทยว่า ช้า) ความหมายจึงยังคงแปลว่า หยาบอยู่เหมือนเดิม
ถ้าท่านอ่านมาถึงจุดนี้ ก็จะเข้าใจคำว่า"ร้อนฉ่า" ได้ไม่ยาก. ส่วนคำอื่นที่เหลือใว้
เขียนในตอนต่อไป
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม.
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน.
คำไทยโบราณ ๓๐.๑๐.๖๓
หมายเหตุ : บทความทั้งหมดเรียบเรียงโดยผู้ดูแลเพจคำไทยโบราณ ขอสงวนสิทธิ
ไม่อนุญาตให้นำข้อมูลไปแก้ไข ดัดแปลง ทำซ้ำ แล้วเผยแพร่ในนามตนเอง หากมีความประสงค์จะเผยแพร่บทความด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามต้องได้รับการยินยอมจากผู้ดูแลเพจก่อน.แต่อนุญาตให้เผยแพร่ความรู้โดยการแบ่งปัน(แชร์.,share)ในblockdit
หรือทางเฟซบุ๊กได้โดยไม่ต้องขออนุญาต.
โฆษณา