Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มากกว่างานเขียน
•
ติดตาม
31 ต.ค. 2020 เวลา 00:39 • ไลฟ์สไตล์
EP.61 กาแฟที่ใช่ ในแบบของคุณ
Coffee lovers
ผมเป็นคนหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าใช้ชีวิตแบบขาด “กาแฟ” ไม่ได้ จะร้อน, เย็น, ปั่น ฯลฯ ไม่เคยเกี่ยง เรียกว่าจะมาในรูปแบบไหนก็จัดการมันซะเรียบวุธว่างั้นเหอะ!!!
ชอบขนาดนี้ก็จัดไปครับ ตามธรรมเนียม บทความต้องมาแล้วล่ะ
ถ้าพร้อมแล้ว ขอเชิญทุกท่านไปทำความรู้จักกับเครื่องดื่มคาเฟอีนยอดนิยมระดับโลก ที่เรียกว่ากาแฟกันได้เลยครับ
กาแฟนั้นทำมาจาก “เมล็ดกาแฟคั่ว” ที่ได้จาก “ต้นกาแฟ” และ “กาแฟเขียว” หรือกาแฟที่ยังไม่ผ่านการคั่วนั้น ถือเป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตรซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก (พบว่ามีการปลูกมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก)
ต้นกาแฟ
“กาแฟ” เป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของ “คาเฟอีน” มีสรรพคุณสำคัญคือการชูกำลัง
กาแฟเขียว (ดิบ)
เชื่อกันว่าสรรพคุณชูกำลังจากเมล็ดของต้นกาแฟนั้นถูกพบครั้งแรกในเยเมน แถบอาระเบีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือของเอธิโอเปีย และการปลูกต้นกาแฟในสมัยแรกได้แพร่ขยายในโลกอาหรับ หลักฐานบันทึกว่าการดื่มกาแฟได้ปรากฏขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อันเป็นหลักฐานซึ่งเชื่อถือได้ และเก่าแก่ที่สุด
1
เมล็ดกาแฟคั่ว-บด
ประโยชน์ที่ได้จากการดื่มกาแฟ
ประโยชน์เพียบ!!!
1. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนิ่ว
ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 2002 เผยว่า ผู้หญิงที่ดื่มกาแฟ 4 แก้วต่อวัน มีโอกาสลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีประมาณ 25% เช่นเดียวกับผลการวิจัยก่อนหน้านี้ที่บอกว่า ผู้ชายที่ดื่มกาแฟเป็นประจำก็ช่วยลดความเสี่ยงที่กล่าวมายังข้างต้นได้เช่นกัน
2. ลดความเครียด
คนที่ดื่มกาแฟประมาณ 2-3 แก้วต่อวัน จะลดความเครียดได้ประมาณ 15% แต่หากดื่มกาแฟ 4 แก้วต่อวัน จะสามารถลดความเครียดได้ถึง 20% เลยทีเดียว (แต่อย่าหัวหมอดื่ม 30 แก้ว เพื่อหวังจะลดความเครียดให้ได้ 100% ล่ะ หัวใจวาย หรือนอนไม่หลับเป็นอาทิตย์จะหาว่าไม่เตือน 555)
3. ช่วยกระตุ้นความจำ
หลายงานวิจัยกล่าวตรงกันว่าการดื่มกาแฟ 2 แก้วต่อวัน นั้นสามารถพัฒนาความจำให้ดีขึ้นได้จริง
4. รอดจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2
จากการศึกษาของภาคการเกษตร และเคมีอาหารของสหรัฐอเมริกา ทำให้ทราบว่า นักดื่มกาแฟตัวยง จะมีโอกาสรอดพ้นจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 50% เนื่องจากคาเฟอีนมีคุณสมบัติช่วยยับยั้ง hIAPP และโพลีเปปไทด์ ตัวการก่อให้เกิดโปรตีนผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้นั่นเอง
5. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง
มีผลการวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันว่า การดื่มกาแฟวันละ 2-5 แก้วต่อวัน จะช่วยลดความเสี่ยงเกิดเซลล์มะเร็งเต้านม, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับได้ โดยประสิทธิภาพของคาเฟอีน จะช่วยยับยั้งการเกิดเซลล์ผิดปกติ และกำจัดสารพิษที่ร่างกายได้รับได้ดีในระดับหนึ่ง
1
6. กระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญ
ผลการวิจัยเมื่อปี 2006 ได้ข้อสรุปว่า คาเฟอีนในเมล็ดกาแฟคั่วบด มีผลกับการลดน้ำหนักในผู้หญิงได้จริง และสามารถลดน้ำหนักเฉลี่ยได้ 7.7 กิโลกรัมภายใน 22 สัปดาห์ รออะไรล่ะครับดื่มเล้ย!!!
7. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคพาร์กินสัน
สถาบันการแพทย์อเมริกันได้ทำการวิจัยแล้วพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้วเป็นประจำทุกวัน จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคพาร์กินสันได้ถึง 25% ว้าว!!! ดีงาม
1
8. ปลุกความตื่นตัวได้ในทันที
1
คาเฟอีนคือสารกระตุ้นดีๆ นี่เอง กล่าวคือมันสามารถปลุกความตื่นตัวให้กับร่างกายที่อ่อนล้า หรืออ่อนเพลียได้ในระยะเวลาสั้นๆ ก็จะประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้นเอง พอม่ะ
9. ลดโอกาสเป็นโรคเกาต์
สำหรับคนที่กลัวตัวเองจะเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แนะนำให้ดื่มกาแฟประมาณ 3-6 แก้วต่อวันอย่างต่อเนื่อง เพราะคาเฟอีนมีส่วนช่วยบรรเทาการอักเสบของข้อ เนื่องมาจากกรดยูริกที่เกินขนาดอย่างได้ผล และคนที่ดื่มกาแฟ 6 แก้วต่อวัน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ได้ถึง 60%
1
ผลข้างเคียงจากการดื่มกาแฟ
ดื่มมากไปก็เกิดโทษได้เหมือนกัน
ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีสามารถดื่มกาแฟได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แต่การดื่มกาแฟก็เช่นเดียวกับอาหารหรือสมุนไพรอื่นๆ ที่อาจมีผลข้างเคียงหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เมื่อรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป
สารคาเฟอีนในกาแฟทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ และผลข้างเคียงอื่นๆ
การดื่มกาแฟในปริมาณมากอาจทำให้ปวดศีรษะ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
3
การดื่มกาแฟวันละ 6 แก้วอาจทำให้เกิดการเสพติดกาแฟได้ และการดื่มกาแฟจนติดเป็นเป็นนิสัยอาจส่งผลทำให้ขาดกาแฟไม่ได้ หากเลิกดื่มกาแฟอย่างฉับพลันอาจมีอาการขาดคาเฟอีนได้
1
บุคคลที่ควรระมัดระวังในการดื่มกาแฟ
เลี่ยงได้ก็ดีนะ
หญิงที่ตั้งครรภ์ควรได้รับคาเฟอีนไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับกาแฟสำเร็จรูปไม่เกิน 2 แก้ว หรือเท่ากับกาแฟชงสด 1 แก้ว หากได้รับกาแฟมากกว่านี้อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนดได้ และทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยได้ โดยยิ่งได้รับกาแฟมากเท่าใดก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นตามไป
การให้เด็กดื่มกาแฟอาจไม่ปลอดภัย เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากการดื่มที่รุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่
1
ผู้ป่วยโรควิตกกังวลอาจมีอาการที่แย่ลงได้จากการดื่มกาแฟ
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีเลือดออกผิดปกติ การดื่มกาแฟอาจยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้
การดื่มกาแฟอาจส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่แล้วมีระดับความดันโลหิตสูงมากยิ่งขึ้น
ผู้ป่วยโรคต้อหินไม่ควรดื่มกาแฟ เพราะอาจทำให้ความดันภายในดวงตาสูงขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ภายใน 30 นาทีแรก และจะคงอยู่อย่างน้อย 90 นาที
การดื่มกาแฟอาจทำให้แคลเซียมถูกขับออกทางปัสสาวะมากขึ้นจนกระดูกอ่อนแอลง ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจึงควรจำกัดปริมาณการดื่มกาแฟในแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม หรือประมาณ 2-3 แก้ว และอาจจะต้องรับประทานแคลเซียมเสริมเพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไป
ผู้ที่มีอาการท้องเสียหรือมีโรคลำไส้แปรปรวนอยู่แล้วไม่ควรรับประทานกาแฟ เพราะสารคาเฟอีนในกาแฟอาจทำให้อาการท้องเสียหรืออาการของโรคแย่ลงกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อได้รับในปริมาณมาก
อย่าดื่มกาแฟร่วมกับสิ่งเหล่านี้
อย่าเชียวนา!!!
ห้ามดื่มกาแฟร่วมกับยาเอฟีดรีน (Ephedrine) เพราะยาชนิดนี้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทเช่นเดียวกับกาแฟ การรับประทานควบคู่กันอาจเกิดผลข้างเคียงร้ายแรง และมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจได้ ทั้งนี้ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตามที่ประกอบด้วยเอฟีดรีน
ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับกาแฟ เพราะแอกอฮอล์อาจกระตุ้นให้ร่างกายย่อยคาเฟอีนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้คาเฟอีนในเลือดมากเกินไปจนได้รับผลข้างเคียงอย่างอาการสั่นกระตุก ปวดศีรษะ และหัวใจเต้นเร็ว
ปริมาณการดื่มกาแฟที่ปลอดภัย
พอดี-ดีพอ
ปริมาณกาแฟที่ใช้รักษาโรคชนิดต่างๆ ตามที่มีการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน และพบว่าใช้ได้อย่างปลอดภัย มีดังนี้
การรักษาอาการปวดศีรษะ ดื่มกาแฟวันละ 250 มิลลิกรัม หรือประมาณ 2 แก้ว
การเพิ่มความรู้สึกตื่นตัว ดื่มกาแฟวันละ 250 มิลลิกรัม หรือประมาณ 2 แก้ว
1
การป้องกันโรคพาร์กินสัน ดื่มกาแฟวันละ 3-4 แก้ว
การป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี ได้รับคาเฟอีนในปริมาณวันละ 400 มิลลิกรัมขึ้นไป หรือเทียบเท่ากับกาแฟมากกว่า 2 แก้ว อย่างไรก็ตาม การดื่มกาแฟอย่างน้อยวันละ 800 มิลลิกรัมนั้นน่าจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด
ขอปิดท้ายเบาๆ ด้วยการสวมบทพ่อหมอ ทายนิสัยจากกาแฟที่ชอบดื่ม โดยขอยกตัวอย่างกาแฟ 5 ประเภทหลักๆ ละกันนะครับ
สูตรการชงกาแฟ 5 ประเภทหลัก
1. espresso (เอสเปรสโซ, เอสเพรสโซ่)
espresso
คือกาแฟที่ชงโดยการใช้แรงอัดไอน้ำหรือน้ำร้อนผ่านเมล็ดกาแฟคั่วบดละเอียด เพราะเหตุนี้เองเลยทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้น และหนักแน่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำหรับคอกาแฟจะดื่ม espresso โดยไม่ปรุงด้วยน้ำตาลหรือนม และมักจะเสิร์ฟเป็นช็อต (แก้วแบบจอก) เพื่อให้ได้ปริมาณไม่มากจนเกินไป (ประมาณ 1-2 ออนซ์ หรือ 30-60 มิลลิลิตร)
espresso เป็นกาแฟยอดนิยมของทางยุโรปตอนใต้ ชื่อนั้นมาจากภาษาอิตาลีที่แปลว่า เร่งด่วน
คนที่ชอบดื่มกาแฟ espresso นั้นมีความเป็นมิตรสูง ปรับตัวเข้ากับคนอื่นๆ ได้ง่าย มีนิสัยที่ตรงไปตรงมา มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เป็นคนจริงใจ ไม่ชอบเอารัดเอาเปรียบใคร และก็ไม่ชอบให้ใครมาเอาเปรียบด้วย เป็นคนรอบคอบ มีเหตุผล ชอบวางแผนในการทำงาน และมีเป้าหมายในชีวิตชัดเจน
2
2. americano (อาเมรีคาโน, อาเมริกาโน, อเมริกาโน่)
americano
เป็นกาแฟที่ชงโดยเติมน้ำร้อนผสมลงไปใน espresso เพื่อเจือจาง ทำให้ americano มีความแก่พอๆ กับกาแฟธรรมดา แต่มีกลิ่น และรสชาติเข้มที่มาจาก espresso คอกาแฟส่วนใหญ่จะนิยมดื่มโดยไม่ปรุงด้วยนมหรือน้ำตาล เพื่อดื่มด่ำกับรสชาติกาแฟซึ่งแตกต่างจากกาแฟธรรมดา
สำหรับที่มาของชื่อหมายถึง "แบบอเมริกัน" ว่ากันว่า espresso ล้วนๆ นั้นเข้มข้นเกินไปสำหรับคอกาแฟชาวอเมริกัน จึงมีการเสิร์ฟกาแฟที่ทำให้เจือจางด้วยน้ำร้อนแทน
1
คนที่ชอบดื่มกาแฟ americano นั้นเป็นคนที่อีโก้สูง อัตตามาก คิดว่าตัวเองมีดีกว่าคนอื่น ตรงไปตรงมา ไม่ยอมอ่อนโอนตามอะไรง่ายๆ ข้อดีคือมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง และครอบครัวสูง ทำมาหากินเก่ง ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่อวดร่ำอวดรวย รักธรรมชาติ
3. caffelatte (คัฟแฟะลัตเต, ลาตเท, แลตเท, ลาเต้)
caffelatte
คือกาแฟที่เตรียมด้วยนมร้อน โดยเท espresso 1/3 ส่วน และนมร้อนที่ตีด้วยไอน้ำจากเครื่องชง 2/3 ส่วน ผสมลงไปในถ้วยพร้อมๆ กัน ก่อนจะหยอดฟองนมหนาประมาณ 1 เซนติเมตร ทับข้างบน
ในการชง caffelatte ผู้ชงกาแฟที่ชำนาญงานจะใช้วิธีขยับข้อมือเล็กน้อยขณะที่รินนม และฟองนมลงบนกาแฟ ทำให้เกิดลวดลายต่างๆ เรียกว่า latte art หรือศิลปะฟองนมในถ้วยกาแฟ
คนที่ชอบดื่มกาแฟ caffelatte นั้นมักจะเป็นคนที่ละเอียดละออ อ่อนไหวง่าย ใส่ใจความรู้สึกผู้อื่น ชอบแต่งตัว มีความทันสมัย รสนิยมสูง เต็มไปด้วยเสน่ห์ ที่สำคัญคือหยอดเก่ง พูดจาหวานหู สุภาพ คารมดี เป็นคนช่างคิด แต่ไม่เด็ดขาด ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย มักจะไม่ค่อยกล้าตัดสินใจทำอะไรสักเท่าไร เรียกว่าเป็นประเภทที่เน้นปลอดภัยไว้ก่อน
4. cappuccino (คัปปุชชีโน, คาปูชิโน่)
cappuccino
เป็นหนึ่งในกาแฟที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอิตาลี ซึ่งมีส่วนประกอบหลักคือ espresso และนม
การชง cappuccino นั้นมีอัตราส่วนของ espresso 1/3 ส่วน ผสมกับนมร้อนผ่านไอน้ำ 1/3 ส่วน และนมตีเป็นฟองละเอียด 1/3 ส่วนลอยอยู่ด้านบน นอกจากนั้นอาจโรยหน้าด้วยผงอบเชยหรือผงโกโก้เล็กน้อยตามความชอบ
1
คนที่ชอบดื่มกาแฟ Cappuccino คุณนั้นสุดแสนจะโรแมนติก ช่างฝัน มีความเป็นศิลปินอยู่ในสายเลือด เป็นคนละเอียดอ่อน เชื่อในลางสังหรณ์ ชอบความท้าทาย และตื่นเต้น มองโลกในแง่ดี และเข้ากับคนอื่นได้ง่าย นอกจากนั้นคุณยังเป็นคนที่รักพวกพ้อง ชอบเฮฮาปาร์ตี้ พูดจากตรงไปตรงมาก เปิดเผย
5. mocha, mocaccino (โมคา, มอคา, มอคค่า,โมคัชชีโน)
mocha
เป็นเครื่องดื่มกาแฟที่คล้ายกับ latte กล่าวคือ มี espresso 1/3 ส่วน และนมร้อน 2/3 ส่วน แต่แตกต่างกันที mocha จะมีส่วนผสมของช็อกโกแลตด้วย โดยมักจะใส่ในรูปน้ำเชื่อมช็อกโกแลต ปิดหน้าด้วยวิดครีม ซึ่งเสิร์ฟได้ทั้งแบบร้อน และแบบเย็น
คนที่ชอบกาแฟ Mocha
คุณเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีมาก อารมณ์ดี ขี้เล่น รักสนุก ชอบความเป็นอิสระ ไม่ค่อยคิดมาก แต่ข้อเสียคือเป็นคนหัวรั้น ไม่ค่อยมีสมาธิสักเท่าไร ชอบอะไรที่ไม่ซ้ำซากจำเจนัก มักมีปัญหากับเรื่องความรัก ไม่เข้าใจกัน
Would you like to drink a cup of coffee?
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้
ขอบคุณสำหรับการติดตาม
แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ
***********************************************
กาแฟ / ส้ม มารี
https://youtu.be/1o_F4fB6ibY
***********************************************
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
https://th.m.wikipedia.org/wiki/กาแฟ
https://www.pobpad.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA
https://www.skintec1.com/content/13165/คุณสมบัติของกาแฟ
https://www.sanook.com/horoscope/50705/
11 บันทึก
35
71
25
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Theme Playlist
11
35
71
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย