31 ต.ค. 2020 เวลา 05:14 • ประวัติศาสตร์
ผู้หญิงที่งดงามในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ที่สุด ที่ชายหลายคนรอคอย
https://www.pinterest.com/pin/313844667780950542/
ต้องบอกเลยว่าในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปีนั้น ชายหญิง ทุกคนต้องออกมาทำกิจกรรมลอยกระทง ประเพณีอันดีงามของไทย
เป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่เรานั้นได้ใช้น้ำในการชำระล้างสิ่งปฏิกูลอันมากมายตลอดระยะเวลา 1 ปี เต็ม ทั้งยังมีความเชื่อกันว่า การลอยกระทงเป็นการลอยทุกข์ลอยโศกและสิ่งไม่ดีในชีวิตออกไปอีกด้วย
แต่ด้วยแล้วก็มีหญิงสาวที่จะต้องขาดไม่ได้ในประเพณีวันลอยกระทง หญิงสาวผู้นี้เรียกว่า "นางนพมาศ" หญิงสาวที่สวยงามสง่าในวันเพ็ญ แต่ด้วยความงามของนางนพมาศแล้ว วันนี้จะพาไปทราบประวัติของนางนพมาศกัน
นางนพมาศ หรือ เรวดี นพมาศ เกิดในรัชกาลพระยาเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง นางนพมาศ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนางเรวดี บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในสมัยพระยาเลอไท มีรูปสมบัติและคุณสมบัติที่งดงาม ได้รับการอบรมจากบิดา มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ การช่างของสตรี ตลอดจนการขับร้องดนตรี สันนิษฐานว่า นางนพมาศ ได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมัยพระยาลิไท ในยุคสุโขทัย และเป็นที่โปรดปรานจนได้เป็นสนมเอก ตำแหน่ง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งกล่าวกันว่า นางนพมาศ เป็นบุคคลที่ฉลาดถ่อมตัวเป็นอย่างยิ่ง จนได้สมญาว่า "กวีหญิงคนแรกของไทย" ดังเช่นที่มีข้อความเขียนไว้ว่า...
"ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฏชื่อเสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน"
นอกจากนี้ นางนพมาศ ยังได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการเข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย โดย ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ นี้แต่งด้วยร้อยแก้วมีกลอนดอกสร้อยแทรก ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะภาษาที่ใช้แตกต่างจากภาษาที่ใช้ในวรรณคดีที่แต่งในยุคเดียวกันคือศิลาจารึกหลักที่ 1 และ ไตรภูมิพระร่วง โดยเนื้อเรื่องใน ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่าง ๆ ของไทย เช่น การประดิษฐ์พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ฝากกดสนับสนุนให้ด้วยนะครับ https://t.youpik.in.th/t.Zg1Kg
ขอบคุณข้อมูลจาก https://hilight.kapook.com/view/17597
ขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก https://www.pinterest.com/pin/313844667780950542/
ฝากกดติดตามให้ด้วยนะครับ จะได้มีกำลังใจหาข้อมูลความรู้มาแบ่งปันกันทุกวัน
โฆษณา