2 พ.ย. 2020 เวลา 09:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เส้นแบ่งโลก! ละติจูด, ลองจิจูด คืออะไร มีประโยชน์และใช้งานยังไง?
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ทุกพื้นที่บนโลกจะมีพิกัดทางภูมิศาสตร์กำหนดไว้ในรูปแบบของตัวเลข ซึ่งตัวเลขนี้จะไม่มีทางซ้ำกัน พิกัดทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่บนโลกจะมีตัวเลข 2 ชุดคือเลขละติจูดและเลขลองจิจูด
ละติจูด (Latitude) หรือเส้นรุ้ง เป็นเส้นที่ลากผ่านเส้นศูนย์สูตรของโลก ค่าของละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร จากนั้นจะเพิ่มไปจนถึง 90 องศาที่ขั้วโลก ถ้าหากลากไปทางขั้วโลกเหนือก็จะเรียกว่าองศาเหนือ และถ้าลากไปทางขั้วโลกใต้ก็จะเรียกว่าองศาใต้
123RF
ลองจิจูด (Longitude) หรือเส้นแวง เป็นพิกัดที่วัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมอริเดียนแรก กำหนดให้เป็น 0 องศา ซึ่งเส้นเมอริเดียนแรกนี้ผ่านการถกเถียงกันหลายต่อหลายครั้งว่าจะกำหนดให้ตำแหน่งใดเป็นมาตรฐานดี จนเมื่อมีการประชุมเพื่อลงมติก็ได้ผลสรุปให้ใช้เส้นแมริเดียนกรีนิชที่ลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน, สหราชอาณาจักรโดยเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งสู่ขั้วโลกใต้ผ่านเมืองกรีนิช, ลอนดอน ไปยังฝรั่งเศส สเปน อัลจีเรีย มาลี โตโกและกานาและอีกหลายประเทศจนไปจบที่ขั้วโลกใต้ โดยเส้นแมริเดียนนั้นมีทั้งหมด 365 เส้น
WIKIPEDIA PD
ตัวอย่างพิกัดทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพมหานครนั้นอยู่ที่ 13° เหนือ ลองจิจูด 100° ตะวันออก ยิ่งตัวเลของศามีจุดทศนิยมมากเท่าไหร่ พิกัดก็จะมีความละเอียดมากขึ้นเท่านั้น เช่น ละติจูด : 13.77652 ลองจิจูด : 100.53482 คือตำแหน่งของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA PD

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา