1 พ.ย. 2020 เวลา 14:14 • หนังสือ
ถ้าคุณถูกสั่งให้ทำร้ายร่างกายใครซักคนที่คุณไม่รู้จัก คุณจะยอมทำหรือเปล่า?
มาลองดูงานวิจัยทางจิตวิทยาสังคมที่ว่าด้วยการเรื่องการ "เชื่อฟังคำสั่ง" กันครับ
1
มิลแกรม (stanley milgram) ได้ทำการทดลอง
โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง (ขอเรียกว่า A) นั่งอยู่ในห้องหนึ่ง
และมีหน้าม้าอีกคนนั่งอยู่ในอีกห้องหนึ่ง (ขอเรียกว่า B)
โดยมีนักวิจัยเฝ้าดูอยู่ในห้องของ A
A ต้องอ่านออกเสียงชุดคำผ่านไมโครโฟนไปอีกห้อง
รอฟังว่า B ที่อยู่ในห้องข้าง ๆ จะจดจำคำและออกเสียงกลับมาได้ถูกต้องหรือไม่
ทุกครั้งที่ B ออกเสียงผิด
A ต้องกดปุ่มเพื่อช็อตไฟฟ้าใส่ B กระแสไฟจะแรงขึ้นทุกครั้งที่ A กดปุ่ม
และนักวิจัยได้แจ้งให้ A ทราบก่อนว่า B นั้นเป็นโรคหัวใจ
แน่นอนว่าทั้งหมดคือการจัดฉาก
A เข้าใจว่าตัวเองมาร่วมงานวิจัยเรื่องความจำเท่านั้น
เครื่องช็อตไฟฟ้านั้นก็เป็นของปลอม
B ที่เป็นหน้าม้าแค่แกล้งร้องโหยหวนตอน A กดปุ่มเฉย ๆ
เมื่อกระแสไฟเพิ่มสูงถึง...
150 โวลต์ : B จะร้องให้หยุด ขอให้ปล่อยเขาไป
180 โวลต์ : B จะตะโกนว่าทนต่อไปไม่ไหว
300 โวลต์ : B จะส่งเพียงเสียงกรีดร้องอย่างทรมาน
330 โวลต์ขึ้นไป : จะไม่มีเสียงอะไรจาก B อีก
หาก A ไม่ยอมกดปุ่ม นักวิจัยที่เฝ้าสังเกตการณ์อยู่จะมีหน้าที่เพียงแค่
สื่อสารลงมาว่า "โปรดทำต่อไป" หรือ "ถ้าไม่ตอบให้ถือว่าตอบผิด" เพื่อให้ A กดต่อ
ก่อนหน้านั้น มีการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มนักศึกษา กลุ่มชนชั้นกลาง
และกลุ่มนักจิตวิทยาจำนวนหนึ่งว่า "คิดว่า A จะก็อตไฟฟ้าถึงระดับเท่าไหร่?"
ผลสำรวจทำนายว่า
ผู้เข้าร่วมงานวิจัยนี้ส่วนใหญ่จะเลิกกดปุ่ม
ตั้งแต่ได้ยินเสียงร้องโหยหวนครั้งแรก
และคงมีคนเพียง 0.1% เท่านั้นที่กดไฟช็อต
จนกระทั่งถึงระดับสูงสุดที่ 450 โวลต์
แต่ผลการวินัยน่าสะพรึงกว่าที่คิด
ทุกคนที่เข้าร่วมการทดลองกดช็อตไฟฟ้าในระดับที่สูงเกิน 210 โวลต์
และมีคนถึง 65% ที่ยอมกดช็อตในระดับสูงสุดที่ 450 โวลต์ทั้งที่มีข้อความเขียนไว้
ชัดเจนว่า "อันตรายถึงชีวิต"
งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ "เชื่อฟังคำสั่ง" ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการคล้อยตามในแบบสุดโต่งของมนุษย์ (เพราะทำตามโดยไม่มีเหตุผล)
การคล้อยตามเป็นอิทธิพลทางสังคม
ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ
1) จำนวน 2) ความเข้ม 3) ความใกล้
เราจึงมักคล้อยตามคนหมู่มาก (จำนวน)
คล้อยตามคนเสียงดัง กล้าแสดงออก (ความเข้ม)
คล้อยตามคนรอบตัว (ความใกล้)
แต่การเชื่อฟังคำสั่งจากผู้มีอำนาจ ทำให้รู้ว่าจำนวนไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ (เพราะผู้สั่งมักมีคนเดียว) แต่การรับรู้บทบาททางสังคมหรือลักษณะของอำนาจของผู้ออกคำสั่ง ในที่นี้คือนักวิจัยที่สั่งให้กดช็อตไฟฟ้าเรื่อย ๆ ทำให้เกิดความเข้มที่สูงมาก และนักวิจัยก็อยู่ในห้องเดียวกัน จึงมีความใกล้มาก จนทำให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยยอมทำตามคำสั่ง นอกจากนี้หากคนรอบข้างยินดีทำตามคำสั่ง ปัจจัยเรื่องจำนวนก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
เพราะมนุษย์นั้นเปราะบางและโอนอ่อน
หัวใจของเรื่องจคงอยู่ที่ "คำสั่ง" จากคนที่มี "อำนาจ" ว่าชอบธรรมหรือไม่ และทำไมการปล่อยให้คนไร้มนุษยธรรมขึ้นมามีอำนาจจึงเป็นเรื่องที่ควรจัดการ
// แอดโอ๊ค
Social Psychology จิตวิทยาสังคม
Richard J. Crisp เขียน
ทิพนภา หวนสุริยา แปล
ติดตามพวกเราได้อีกทาง facebook fanpage ไปเจอหนังสือมาเล่มนึง
โฆษณา