7 พ.ย. 2020 เวลา 01:00
ทำไมเกาหลีใต้ยังคงบังคับผู้ชายทุกคน 'เกณฑ์ทหาร' ?
การเกณฑ์ทหารในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างเยอรมนี ฝรั่งเศส แคนาดา หรือ
สหรัฐอเมริกา ถูกมองเป็นเรื่องล้าหลัง และมีการพัฒนาทหารอาชีพให้มีสวัสดิการจูงใจแทนการเกณฑ์ทหารแบบดั้งเดิม หรือมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์กับพัฒนาสังคมให้เยาวชนไปทำโดยไม่ต้องไปเข้าแถวในค่ายทหาร แต่นั่นไม่ใช่กับประเทศอย่าง
เกาหลีใต้ เมื่อดูภายนอก เกาหลีใต้ดูมีเสถียรภาพ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ยังต้องบังคับเกณฑ์ทหารชายราวกับว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งใหม่ขึ้น
2
เมื่ออายุได้ราว 18-20 ปี เป็นช่วงวัยที่ชายเกาหลีทุกคนต้องเตรียมพร้อมเข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อรับราชการเป็นทหารเป็นเวลาราว 2 ปี บางรายอาจขอผ่อนผัน
เนื่องจากภาระการงานไปก่อนหลายปีแล้วค่อยไปเข้ากองทัพ
3
บุคคลสองสัญชาติที่มีอายุ 18 ปีจะต้องเลือกถือสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง และสัญชาติ
เกาหลีก็มาพร้อมกับการเกณฑ์ทหาร อีกทางเลือกหนึ่งคือทิ้งสัญชาติเกาหลีไปเลย
มีชาวเกาหลีไม่น้อยที่ตั้งหลักปักฐานในต่างประเทศจำเป็นต้องละทิ้งสัญชาติเกาหลี
ไป บางส่วนที่ยังจำเป็นต้องกลับมาเกาหลีอาจต้องยอมทิ้งสถานภาพในประเทศอื่น
ไปเพื่อตบเท้าเข้ากองทัพ
3
เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ หลักฐานการเกณฑ์ทหารของเกาหลีใต้เริ่มปรากฏ
ในร่างกฎหมายตั้งแต่ปี 1949 เป็นช่วงที่สาธารณรัฐเกาหลีถือกำเนิดขึ้น โดยระบุว่า "ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ในการปกป้องชาติ" แต่กว่ากฎหมายจะบังคับใช้ได้เต็ม
ประสิทธิภาพก็ล่วงเข้าปี 1957 ซึ่งเริ่มระบุชัดเจนว่า "ชายอายุ 19 ปีขึ้นไปต้องเข้ารับราชการทหาร"
แต่ที่มาที่ไปของการเกณฑ์ทหารก็ต้องย้อนกลับไปถึงยุคสงครามเกาหลีระหว่างปี
1950-1953
1
ช่วงก่อนสงครามเกาหลี คาบสมุทรแห่งนี้เป็นชายแดนระหว่างขั้วอำนาจจีน-โซเวียตกับอีกฝ่ายคือสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร กองทัพของฝ่ายใต้หรือสาธารณรัฐเกาหลียังมีสภาพเหมือนกองทหารรักษาการณ์และกลุ่มอาสาสมัครติดอาวุธ แต่เมื่อ
สงครามระเบิดขึ้นในวันที่ 25 มิถุนายน ปี 1950 เกาหลีใต้กลับพบว่าฝ่ายเหนือนั้นมีกองกำลังเหนือกว่าในแทบทุกด้าน ทั้งประสบการณ์ จำนวน อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ได้
รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต
6
กองทัพเกาหลีเหนือรุกหน้าเข้าเมืองแล้วเมืองเล่าอย่างไม่หยุดหย่อน ส่วนฝ่ายใต้
ต้องถอยร่นอย่างเร่งรีบ ภายในระยะเวลาเพียง 5 วันกรุงโซลก็ตกเป็นของเกาหลี
เหนือ กองทัพฝ่ายใต้เหลือจำนวนราว 2 หมื่นนายเท่านั้น เขตแดนของเกาหลีใต้
เหลือเพียงพื้นที่ไม่กี่ร้อยกิโลเมตรปลายคาบสมุทรเท่านั้น
6
เกาหลีใต้จึงขอความช่วยเหลือไปยังสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติ ซึ่งมีมติให้ส่ง
กองกำลังไปช่วยเหลือเกาหลีใต้ทันที กองทัพเกาหลีใต้ที่ยังเหลืออยู่ถูกโอนมาอยู่ในควบคุมของสหรัฐฯ ทันที
2
กองทัพพันธมิตรนานาชาติยกพลขึ้นบกที่เกาหลีและสามารถรุกไล่เกาหลีเหนือจน
ถอยร่นไปเรื่อยๆ จนเกือบถึงชายแดนจีน สถานการณ์พลิกกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ แต่แล้วสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ได้ส่งกองทัพมหาศาลเข้าช่วยเกาหลีเหนือที่
กำลังเพลี่ยงพล้ำจนฝ่ายใต้และพันธมิตรต้องถอยร่นไปอีก หลังการสู้รบอันยืดเยื้อ
และทารุณหลายปี ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงสงบศึกกันในเดือนกรกฎาคม ปี 1953
3
แม้ทั้งสองฝ่ายจะตกลงสงบศึกเรียบร้อย แต่ยังพบว่ามีความพยายามจากเกาหลี
เหนือที่จะแสดงแสนยานุภาพหรือข้ามชายแดนมาหลายครั้ง มีทั้งการขุดอุโมงค์ส่ง
กองกำลังข้ามแดน การโจมตีตามชายแดนประปราย หรือโจมตีเรือที่ผ่านไปมา
ถึงขั้นที่ คิม อิล ซุง (Kim Il Sung) ผู้นำเกาหลีเหนือยังเคยไปขอความช่วยเหลือกับ
เหมา เจ๋อ ตุง (Mao Zedong) เพื่อทำสงครามอีกครั้งในปี 1975 แต่รัฐบาลจีนกลับปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือใดๆ เพื่อทำสงครามอีก
4
เกาหลีใต้ที่เคยมีบทเรียนจากการถูกรุกรานอย่างหนักหน่วงจึงออกกฎหมายเกณฑ์
ทหารมาใช้อย่างจริงจึงตั้งแต่ปี 1957 เพื่อเตรียมรับมือกับกองทัพฝ่ายเหนืออีก
ฐานทัพสหรัฐฯ จำนวนมากถูกตั้งในเกาหลีใต้เพื่อช่วยฝึกฝนกองทัพใหม่ของเกาหลี
3
แต่กองทัพเกาหลีใหม่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องประเทศเท่านั้น กองกำลังเหล่านี้ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือของเผด็จการและได้บรรลุอำนาจสูงสุดในสมัยประธานาธิบดี พัก จ็อง-ฮี (Park Chung-hee) ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในเผด็จการจอมฉาวแห่งเกา
หลี ความสำคัญของกองทัพถูกเน้นย้ำ มีเผยแพร่ข่าวสนับสนุนทหารตั้งแต่ในโรง
เรียนประถมยันสื่อสาธารณะ องค์กรข่าวกรองและทหารได้กลายมาเป็นมือเท้าของ
ประธานาธิบดีผู้นี้อย่างเต็มขั้น ความสำคัญของการมีกองกำลังสำรองจำนวนมาก
ของเกาหลีใต้จึงมิได้มีเพื่อปกป้องประเทศและรักษาดุลอำนาจเท่านั้น แต่ยังมีผลทางการเมืองภายในด้วยเช่นกัน
3
แต่ปัจจุบันรัฐบาลเกาหลีใต้ภายใต้การนำของ มุน แจ-อิน (Moon Jae-in) ได้มีความพยายามที่จะลดกฎกติกาเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารลง โดยประธานาธิบดีเกาหลีได้ประกาศว่าเขาจะพยายามลดระยะเวลาในการเกณฑ์ทหารให้เหลือราว 10 กว่าเดือนเท่านั้น
6
ตั้งแต่ปี 2018 ศาลเกาหลีใต้ได้ตัดสินให้ประชาชนสามารถขอละเว้นเกณฑ์ทหาร
ด้วยเหตุผลทางมโนธรรมได้ (Conscientious Objection) หมายความว่าคนที่มี
แนวคิดทางการเมืองหรือความเชื่อทางศาสนาสามารถปฏิเสธการเป็นทหารโดยยืนอยู่บนหลักที่ตนยึดถือได้ เช่น กลุ่มคริสเตียน 'พยานพระยะโฮวาห์' (Yehowah's
Witness) หรือ 'เซเวนเดย์แอดเวนทิสต์' (Seventh-day Adventist) ที่ปฏิเสธการ
รบราฆ่าฟัน ส่วนผู้ที่เคยถูกจำคุกเพราะปฏิเสธการเป็นทหารก็ได้รับการปล่อยตัวในที่สุด
2
ปัจจุบันสงครามเกาหลียังไม่ถือว่าสิ้นสุดดี ภาพที่เราเห็นในปัจจุบันยังอยู่ในสภาวะ 'สงบศึก' เท่านั้น ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีการทำข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทอย่างสันติขั้นสุดท้าย เกาหลีเหนือยังคงพัฒนาขีปนาวุธเพื่อสำแดงแสนยานุภาพอยู่เป็นนิจ สันติที่แท้จริงในคาบสมุทรแห่งนี้ยังดูเป็นความฝันอันห่างไกล ส่วนปัญหาการทารุณกรรมที่เกิดขึ้นต่อพลทหารก็ยังเป็นประเด็นร้อนที่สังคมเกาหลีต้องหาทางออกต่อไป
3
เรื่อง : อันโตนิโอ โฉมชา
ภาพประกอบ : ชุติมณฑน์ ปทาน
โฆษณา