2 พ.ย. 2020 เวลา 08:34 • ธุรกิจ
ธุรกิจใหม่คืออะไร?
นิยามของธุรกิจ (business) จาก Investopedia
“A business is defined as an organization or enterprising entity engaged in commercial, industrial, or professional activities. Businesses can be for-profit entities or non-profit organizations that operate to fulfill a charitable mission or further a social cause.
The term business also refers to the organized efforts and activities of individuals to produce and sell goods and services for profit. Businesses range in scale from a sole proprietorship to an international corporation”
องค์กรหรือองค์กรธุรกิจที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมหรือวิชาชีพ ธุรกิจสามารถเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไรหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่ดำเนินการเพื่อบรรลุภารกิจการกุศลหรือก่อให้เกิดสังคม
คำว่าธุรกิจยังหมายถึงความพยายามและกิจกรรมของแต่ละบุคคลในการจัดทำและขายสินค้าและบริการเพื่อผลกำไร ธุรกิจมีหลากหลายตั้งแต่การเป็นเจ้าของคนเดียวไปจนถึง บริษัทระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปคำว่าธุรกิจมักจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในเชิงพาณิชย์เพื่อแสวงหาผลกำไร โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมการตลาดไปจนถึงการส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า
ธุรกิจใหม่จะแสดงถึงสิ่งที่องค์กรไม่เคยทำมาก่อนโดยมักใช้ในบริบทของการพัฒนาธุรกิจใหม่ (new business development) ซึ่ง Wikipedia ให้นิยามไว้ ดังนี้
“การพัฒนาธุรกิจใหม่เป็นกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการตระหนักถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ การออกแบบโมเดลธุรกิจและการตลาด”
ธุรกิจใหม่จึงเป็นการสร้างสรรค์และนำเสนอคุณค่าที่แตกต่าง
เมื่อพิจารณาจากกลยุทธ์การเ
ติบโตทางธุรกิจแล้วเครื่องมืออย่าง Ansoff Matrix ได้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจว่าจะให้องค์กรเติบโตด้วยวิธีใด จะพบว่า องค์กรสามารถเติบโตได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. Market Penetration เจาะตลาดเดิมด้วยสินค้าเดิม
2. Product Development พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับตลาดเดิม
3. Market Development พัฒนาตลาดด้วยสินค้าเดิม
4. Diversification ธุรกิจใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม
แผนภาพ Ansoff Matrix
Market Penetration กลยุทธ์การเติบโตในตลาดเดิมด้วยสินค้าเดิม โดยอาจทำได้ดังนี้:
(1)เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด (Increase Market Share) ทำโปรโมชั่น เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ปรับปรุงสินค้า ฯลฯ
(2)เพิ่มความถี่ในการใช้สินค้า ด้วยการกระตุ้นลูกค้าด้วยวิธีต่างๆ เช่น การโฆษณาให้ลูกค้ารับรู้ว่าควรแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร เพื่อเพิ่มจำนวนครั้งในการใช้ยาสีฟัน
Product Development การพัฒนาสินค้าใหม่สำหรับกลุ่มลูกค้าในตลาดเดิม ซึ่งสินค้าใหม่นั้นอาจจะนำมาขายควบคู่หรือแทนที่สินค้าเดิมก็ได้ ประโยชน์ที่ได้ คือ เป็นการนำเสนอคุณค่าใหม่ๆให้กับลูกค้าในตลาดเดิม เช่น มันฝรั่งทอดกรอบแผ่นเรียบยี่ห้อหนึ่ง พัฒนาสินค้าใหม่ขึ้นมาคือมันฝรั่งทอดกรอบแผ่นหยัก ซึ่งเป็นสินค้าสำหรับกลุ่มลูกค้าในตลาดเดิมสำหรับคนที่ชอบทานสแน็ค
Market Development การพัฒนาตลาดขึ้นมาใหม่หรือหาลูกค้ากลุ่มใหม่ด้วยสินค้าเดิมที่มีอยู่โดยการนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างให้กับกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ เช่น ภาพลักษณ์ของซุปไก่สกัด คือ สำหรับเยี่ยมคนไข้หรือในเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ เป็นต้น แต่ก็ได้มีความพยายามเจาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษาโดยชูคุณสมบัติเกี่ยวกับการทำงานสมองที่ดีขึ้น เพื่อให้เกิดการบริโภคอย่างต่อเนื่อง
Diversification การขยายเข้าไปในตลาดใหม่ด้วยสินค้าใหม่ โดยตลาดใหม่และสินค้าใหม่จะมีความเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับตลาดเดิมและสินค้าเดิมของบริษัทก็ได้ ข้อดีของรูปแบบนี้คือ ช่วยลดความเสี่ยงของบริษัทในกรณีที่สินค้าหลักของบริษัทประสบปัญหา ก็ยังมีธุรกิจอื่นช่วยค้ำจุนได้ เช่น บริษัท ปตท ซึ่งมีรายได้จากการขายน้ำมันเป็นหลัก แต่ความเสี่ยงของธุรกิจน้ำมันมีหลายอย่าง ทั้งราคาที่ผันผวนและค่าการตลาดที่ต่ำ ทำให้บริษัทต้องหารายได้จากธุรกิจอื่นที่เรียกว่า non-oil โดยในปี 2002 ปตท ได้สร้าง Cafe Amazon สาขาแรกขึ้นมา โดยเน้นขายกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการภายในปั๊มเป็นหลัก หลังจากนั้นธุรกิจได้เติบโตขึ้น มีการขายแฟรนไชส์ ขยายสาขาไปยังห้างสรรพสินค้าและต่างประเทศ จนปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 2,600 สาขาทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับ ปตท มากกว่า 12,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งธุรกิจ Cafe Amazon ได้กลายมาเป็นธุรกิจเสาหลักในกลุ่มของ ปตท ในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์ Market Penetration ไม่ได้สร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆให้กับกลุ่มลูกค้า แต่เป็นการมุ่งเน้นในปรับปรุงและพัฒนา Marketing Mix (4P) เช่น การเพิ่มขนาดสินค้า การปรับราคาขาย เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายไปสู่ออนไลน์ หรือการออกโปรโมชั่นต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมทางการตลาดที่ทางบริษัททำอยู่ตลอดเวลา
ในขณะที่กลยุทธ์ Product Development, Market Development และ Diversification จำเป็นต้องกลับมาเริ่มทบทวนตั้งแต่ “คุณค่าที่นำเสนอ” โดยจะมีการออกไอเดีย ระดมสมอง มีการทบทวนและปรับปรุงคุณค่าเพื่อส่งมอบให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยอาจจะเป็นกลุ่มเดิมหรือกลุ่มใหม่ก็ได้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การสำรวจตลาด การทำ workshop ภายในองค์กร ฯลฯ เพื่อวางแผนและนำเสนอต่อผู้บริหารซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา
การพัฒนาธุรกิจใหม่หรือการเริ่มต้นธุรกิจใหม่จึงครอบคลุมตั้งแต่ Product Development, Market Development และ Diversification โดยที่รูปแบบ Diversification จะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุด โอกาสประสบความสำเร็จน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องการมากที่สุดก็ตาม
โฆษณา