Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่าไปเรื่อย
•
ติดตาม
2 พ.ย. 2020 เวลา 11:24 • การศึกษา
สัตวบาลอาชีพแห่งปศุสัตว์ที่ใครหลายๆคนไม่รู้จัก
อาชีพนี้ไม่ใช่ว่าใครๆก็สามารถที่จะทำมันได้ นอกจากว่าคุณจะเรียนในสาขา สัตวศาสตร์หรือเทคโนโลยีการผลิตสัตว์มา
แล้วสาขานี้เขาเรียนอะไรกันบ้าง
ในปีแรกเรียนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ทั่วไปๆเหมือนกับที่เราเรียนในระดับมัธยม
ปีต่อมาก็ยังเรียนวิชาทางวิทยศาสตร์อยู่ค่ะแต่ก็จะลึกขึ้นและเริ่มเรียนในวิชาของสาขาเบื้องต้น เช่น การผลิตปศุสัตว์ การผลิตพืช กายวิภาคสัตว์
ปีที่สามเราจะเริ่มเรียนวิชาในสาขาแทบทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ สรีรวิทยาโภชนศาสตร์สัตว์ การผลิตสุกร ผลิตสัตว์ปีก โคเนื้อโคนม แถมเรียนเกี่ยวกับการตลาดของคณะบัญชีด้วยนะ
ปีสุดท้ายส่วนใหญ่จะเป็นวิชาเอกเลือกค่ะ มีให้เลือกหลากหลายแล้วแต่ใครสนใจ อาทิเช่น การตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบอาหารสัตว์ การจัดการเนื้อสัตว์ การผลิตสัตว์เศรษฐกิจประเภทอื่น แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิชาบังคับนะคะแต่ก็น้อยมาก ตัวอย่างเช่น กการผลิตสัตว์เขตร้อน การจัดการฟาร์ม สัมมนา การจัดการองค์
ในช่วง 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัยจะมีการฝึกงานเกิดขึ้นในทุกๆปีการศึกษาค่ะ (ในสถาบันที่เราเรียนนะ) ซึ่งก็จะมีการแบ่งว่า
ปี 1 จะฝึกภายในฟาร์มของมหาวิทยาลัย
ปี 2 จะออกฝึกกับองค์กรของภาครัฐ พวกศูนย์วิจัยพันธุ์สัตว์ต่างๆ
ปี 3 ออกฝึกกับองค์กรเอกชน
ส่วนในปี 4 นั่นแล้วแต่ค่ะ หากใครเลือกทำปัญหาพิเศษก็ไม่ต้องออกฝึก
แต่ถ้าไม่ก็จะออกฝึกสหกิจเป๋็นเวลา 1 เทอม
หลังจบออกมาส่วนใหญ่แล้วประกอบอาชีพอะไร?
แน่นอนส่วนใหญ่ก็จะประกอบอาชีพ "สัตวบาล" ประจำอยู่ฟาร์มต่างๆ แล้วแต่ชนิดของสัตว์ ความชอบความถนัด
"เซลล์" ทั้งขายยา อาหารหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์
"ผู้ช่วยสัตวแพทย์หรือพยาบาลสัตว์" อาจจะไม่ได้เรื่องสัตว์เลี้ยงมาโดยตรง
แต่ส่วนใหญ่ โรงพยาบาลสัตว์ก็มักจะรับคนที่จบในสาขานี้มาค่ะ
"รับราชการ" อยู่ในกรมปศุสัตว์บ้าง ศูยน์วิจัยพันธุ์สัตว์บ้าง
"งานด้านอาหารสัตว์" ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ หรือ ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบอาหารสัตว์
หลายๆท่านอาจจะสับสนหรือเข้าใจผิดกับสาขานี้เยอะค่ะ ตัวเราเองก็เจอมา พอบอกว่าเรียนสัตวศาสตร์ทุกคนก็จะคิดว่าเรียนสัตวแพทย์ ซึ่งมันคนละอย่างกันเลย
ไว้ในโอกาสต่อไป เราจะมาบอกเล่าเรื่องราวของอาชีพนี้อีกนะคะ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย