2 พ.ย. 2020 เวลา 14:04 • การศึกษา
บทที่3.คำซ้อน"ทองคำ."
คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ได้อธิบายใว้ว่า "ทอง"เป็นภาษามอญและคำว่า "คำ"เป็นภาษาไท-ลาว. เมื่อเขียนรวมกันเป็นคำว่า"ทองคำ" แปลว่าทองคำในภาษาไทยในปัจจุบัน.
ก่อนที่เราจะพูดถึงคำว่าทอง เรามาทำความเข้าใจถึงเรื่องของคนไทยในประเทศไทยก่อน ประเทศไทยถ้าจะแยกกลุ่มคนแยกออกได้เป็น 2 กลุ่มโดยใช้สำเนียงการ
เรียกหมายเลข 20 คือคนทางภาคเหนือและภาคอีสานจะออกจะเรียกหมายเลข 20
ว่า”ซาว” และคนภาคกลางภาคตะวันออกภาคตะวันตกและภาคใต้จะเลขจะเรียก
หมายเลข 20 ว่า “ยี่สิบ”
คนทางภาคเหนือและภาคอีสานเรียกหมายเลข 20 ว่า”ซาว” จะเรียกทองคำว่า”คำ” นอกจากนี้ยังมีคนเผ่าไทมีอยู่นอกประเทศไทยเช่นคนไทยดำ ไทยขาว ไทยแดง
ในเวียดนาม ไทยใหญ่ ไทยคำตี่จนถึงไทยอาหมก็เรียกทองคำว่า”คำ” เช่นเดียวกัน.
คนภาคกลางที่เรียกหมายเลข 20 ว่า “ยี่สิบ” เรียกทองคำว่า”ทองคำ” แต่คนทางภาคใต้แม้จะเรียกเรียกหมายเลข 20 ว่า “ยี่สิบ” แต่เขาเรียกทองคำว่า “ทอง”ไม่มีคำว่า"คำ"ต่อท้าย.
.
สรุปง่ายๆคือคำว่า”ทอง”เป็นคำของคนเผ่าไทยที่เรียกหมายเลข 20 ว่า “ยี่สิบ”
และคำว่า”คำ” คำของคนเผ่าไทยที่เรียกหมายเลข 20 ว่า “ซาว”
ทองคำแท่ง
คนเผ่าไทที่เรียกหมายเลข 20 ว่า “ยี่สิบ” ไม่ได้มีเฉพาะที่ประเทศไทยของเราเท่านั้น ยังมีที่อยู่ทางตอนใต้ของจีนและเวียดนามเหนือ เขาเรียกทองคำว่า “ต่อง”ซึ่งนัก-
ภาษาศาสตร์บางท่านได้บอกว่า คำว่า“ต่อง” หมายถึงทองแดง ซึ่งก็เป็นจริงในเผ่า
ไทบางกลุ่ม แต่คนไทบางกลุ่มที่ใช้คำว่า “ต่อง”หมายถึงทองคำ เพราะคำว่า
ทองแดงเขาก็มีคำเรียกแยกออกไปชัดเจนเหมือนภาษาไทย.
.
ยกตัวอย่าง คำว่าทองของคนที่อยู่ทางตอนใต้ของจีนและเวียดนามเหนือ
ทอง หมายถึงทองคำ คำว่าทองแดงหมายถึงทองแดง ทองขาว ,ทองดำ,ทองฟ้า.
สามคำหลัง (ทองขาว ,ทองดำ,ทองฟ้า.)คนยุคปัจจุบันไม่รู้ความหมายแน่ชัดว่าเป็น
โลหะประเภทใหน แต่มีคำเหล่านี้อยู่.คำว่า “ทองขาว”ในภาษาไทยหมายถึง ทองที่
ผสมโลหะอื่น ทำให้สีของทองเปลี่ยนเป็นสีขาว.
มีข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือคำว่า“ต่อง”ที่แปลว่าทอง ออกเสียงคล้ายกับคำว่า”ต่ง”
ในภาษาจีนที่แปลว่าทิศตะวันออก และแปลว่า ทุ่งนาในภาษาไทยภาคกลาง (ทุ่งนา ภาษาใต้ ออกเสียงว่า “ถ๋อง” สำเนียงคนภูไทในภาคอิสานออกเสียงว่า “ตง”.
คำต่อต่อไป จะเขียนคำว่า "มดลูก"สถานที่ก่อเกิดกำเนิดกายของเราทุกคน ทำไมคนไทยโบราณจึงเรียกสิ่งนั้นว่า "มดลูก"
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน.
คำไทยโบราณ ๒.๑๑.๖๓
..
หมายเหตุ : บทความทั้งหมดเรียบเรียงโดยผู้ดูแลเพจคำไทยโบราณ ขอสงวนสิทธิ
ไม่อนุญาตให้นำข้อมูลไปแก้ไข ดัดแปลง ทำซ้ำ แล้วเผยแพร่ในนามตนเอง หากมีความประสงค์จะเผยแพร่บทความด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามต้องได้รับการยินยอมจากผู้ดูแลเพจก่อน.แต่อนุญาตให้เผยแพร่ความรู้โดยการแบ่งปัน(แชร์.,share)ในblockdit
หรือทางเฟซบุ๊กได้โดยไม่ต้องขออนุญาต.
โฆษณา