Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
4 พ.ย. 2020 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism)
“ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism)” คือลัทธิการปกครองแบบหนึ่งที่หลายคนอาจจะคุ้นหู ได้ยินบ่อยๆ
แต่เรื่องราวของคอมมิวนิสต์และประวัติความเป็นมาเป็นอย่างไร มาหาคำตอบกันครับ
“ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism)” คือระบอบการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลเป็นเจ้าของที่ดินและสินค้าทุกอย่าง และประชาชนก็ต้องแบ่งปันความมั่งคั่ง
ในช่วงศตวรรษที่ 20 คนนับล้านบนโลกอยู่ใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
1
ในปีค.ศ.1917 (พ.ศ.2460) รัสเซียเป็นชาติแรกที่ได้เปลี่ยนการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Soviet Union)” ในปีค.ศ.1922 (พ.ศ.2465) และเป็นประเทศที่ทรงอำนาจที่สุดประเทศหนึ่ง
5
สำหรับประวัติความเป็นมาของคอมมิวนิสต์ คอมมิวนิสต์นั้นเริ่มต้นมาจากทฤษฎีของ “คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)” นักปรัชญาชาวเยอรมัน
มาร์กซ์นั้นต่อต้านระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นระบบที่เริ่มจะแพร่หลายในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19
คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)
มาร์กซ์นั้นรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมที่เหล่านายทุนมีฐานะร่ำรวย ในขณะที่คนงานในโรงงานยังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ได้ค่าจ้างเพียงน้อยนิด แต่ต้องทำงานหนักและสภาพการทำงานก็ไม่ดี
1
มาร์กซ์ได้เผยแพร่แนวคิดสังคมนิยมและเรียกร้องให้รัฐบาลยึดที่ดินและทรัพย์สิน จากนั้นก็นำผลประโยชน์มาแบ่งให้ประชาชน
มาร์กซ์เชื่อว่าซักวันหนึ่ง เหล่าคนงานจะได้มีโอกาสควบคุมรัฐบาลและเศรษฐกิจ ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นของระบอบคอมมิวนิสต์ ทีๆ ทุกคนมีความเท่าเทียม ไม่มีชนชั้น
2
การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจคือหัวใจหลักของคอมมิวนิสต์ โดยรัฐบาลจะทำการควบคุมเศรษฐกิจและธุรกิจ และเปลี่ยนแปลงกิจการต่างๆ ให้เป็นของรัฐ
รัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าประเทศควรจะผลิตสินค้าอะไร และจะจัดจำหน่ายในช่องทางใด อีกทั้งรัฐบาลยังเป็นผู้กำหนดราคา ราคาสินค้าจะไม่ได้ถูกกำหนดตามหลักดีมานด์ซัพพลายเหมือนระบอบทุนนิยม
คนงานจะได้รับค่าแรงเท่าๆ กัน ไม่ว่าจะตำแหน่งสูงหรือต่ำ ค่าแรงก็จะไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก
ในช่วงแรกของระบอบคอมมิวนิสต์ แผนเศรษฐกิจต่างๆ นั้นเป็นไปอย่างราบรื่น
รัฐบาลสามารถจัดตั้งกิจการต่างๆ ได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างกองทัพของตน และยังทำให้ราคาสินค้าที่จำเป็นอยู่ในระดับที่จับต้องได้ คนทั่วไปสามารถหาซื้อได้ ส่วนสินค้าแบรนด์เนมต่างๆ จะมีราคาสูงมากหรืออาจจะไม่มีเลย
2
หากแต่ระบอบคอมมิวนิสต์ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย
รัฐบาลไม่ได้ผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการจริงๆ หากสินค้าขาดตลาด การดำเนินการก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า ประชาชนอาจต้องรอเป็นเดือนๆ หรือเป็นปีเพียงเพื่อจะซื้อรถคันใหม่ ไร่นาต่างๆ ก็ถูกบริหารโดยรัฐบาล ซึ่งก็มักจะผลิตผลผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
3
นอกจากนั้น คนงานก็ไม่มีความกระตือรือร้น เนื่องจากจะทำมากทำน้อย ผลก็ไม่ต่างกันมาก คนที่ทำงานมากกับทำงานน้อย ค่าแรงก็ไม่ค่อยต่างกันอยู่แล้ว
3
และหากพิจารณาจริงๆ ถึงแม้ระบอบคอมมิวนิสต์อาจจะฟังดูดี เหมือนเป็นระบอบที่ยุติธรรม ทุกคนเท่าเทียมกัน หากแต่ผู้นำรัฐบาล ข้าราชการระดับสูงก็มีชีวิตที่ต่างจากประชาชนทั่วๆ ไป มีความสุขสบายมากกว่าประชาชนอยู่ดี
1
สำหรับชีวิตในประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์นั้น รัฐบาลจะมีส่วนในการควบคุมวิถีชีวิตของประชาชน
พรรคคอมมิวนิสต์จะเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว หากใครที่ไม่เห็นด้วยกับพรรคคอมมิวนิสต์ จะต้องถูกลงโทษ
ผู้ที่คัดค้านรัฐบาลจะถูกขับไล่ออกนอกประเทศหรือไม่ก็ถูกส่งไปยังค่ายกักกัน
เสรีภาพเกือบทุกอย่างจะถูกริดรอน สื่อต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์และวิทยุจะถูกภาครัฐควบคุม
1
ในปีค.ศ.1917 (พ.ศ.2460) “วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin)” หัวหน้าพรรคบอลเชวิก (Bolsheviks) ได้ล้มล้างรัฐบาลรัสเซีย ภายหลังจากที่ราชวงศ์ล่มสลาย
วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin)
เลนินได้นำแนวคิดคอมมิวนิสต์มาปรับใช้ในการบริหารรัสเซีย และบริหารรัสเซียเรื่อยมาจนเสียชีวิตในปีค.ศ.1924 (พ.ศ.2467)
ในเวลานั้น ชาวนาไม่สามารถครอบครองที่นา โรงงานต่างๆ ก็ตกเป็นของรัฐ และในปีค.ศ.1922 (พ.ศ.2465) รัสเซียก็ได้เปลี่ยนแปลงเป็น “สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Soviet Union)” โดยมีพรรคบอลเชวิกเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว
ภายหลังจากการเสียชีวิตของเลนิน “โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin)” ก็ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจแทน
โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin)
สตาลินเป็นจอมเผด็จการที่เลวร้ายที่สุดคนหนึ่ง เขาให้ตำรวจลับจัดการกับคนที่เห็นต่าง ผู้คนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของเขา ล้วนแต่ถูกจับเข้าคุกหรือไม่ก็ถูกฆ่า
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สตาลินพุ่งเป้าไปที่การจัดการกับชาติศัตรู แต่ภายหลังสงครามจบลง สตาลินก็ได้ปกครองประเทศอย่างเข้มงวด
ผู้นำที่มารับช่วงต่อจากสตาลินก็ยังคงยึดมั่นในหลักการคอมมิวนิสต์ หากแต่ก็ไม่ได้ปกครองประเทศอย่างเข้มงวดเหมือนสตาลิน
2
“มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev)” ได้ขึ้นเป็นผู้นำของสหภาพโซเวียตในปีค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) และได้ทำการปฏิรูปประเทศอันนำไปสู่การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์
5
มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev)
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตก็ได้เผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ไปยังประเทศอื่นๆ
1
ได้มีการใช้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ทำให้เกิดการแบ่งออกเป็นสองฝาก ระหว่างประชาธิปไตยทางตะวันตกและคอมมิวนิสต์ทางตะวันออก
ไม่เพียงแต่ยุโรป แต่ในเอเชียเอง ลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ได้เติบโตเช่นกัน
ที่ประเทศจีน ได้เกิดการปะทะระหว่างชาตินิยมและคอมมิวนิสต์ และภายใต้การบริหารประเทศของ “เหมาเจ๋อตุง (Mao Zedong)” ลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ยิ่งแผ่ขยายในจีน ทำให้พวกชาตินิยมไม่มีที่ยืน ต้องหนีไปไต้หวัน
เหมาเจ๋อตุง (Mao Zedong)
จากนั้น ลัทธิคอมมิวนิสต์ยังแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั้งเกาหลีเหนือ คิวบา รวมทั้งเวียดนามและแอฟริกา
การแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ทำให้สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มประเทศประชาธิปไตยไม่วางใจ และเกิดเป็นสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
1
ในยุค 80 (พ.ศ.2523-2532) ระบอบคอมมิวนิสต์เริ่มมาถึงทางตัน
1
สหภาพโซเวียตเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและการเพาะปลูกก็ไม่ดีนัก ชนชั้นกลางก็เริ่มจะไม่พอใจรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถให้ความเป็นอยู่ที่ดีแก่พวกตน
3
กอร์บาชอฟซึ่งเป็นผู้นำสหภาพโซเวียตก็ได้เริ่มทำการปฏิรูปในหลายๆ ด้าน และหยุดการให้ความช่วยเหลือพันธมิตรที่เป็นคอมมิวนิสต์
ระหว่างค.ศ.1989-1991 (พ.ศ.2532-2534) รัฐบาลคอมมิวนิสต์ทั่วยุโรปตะวันออกเริ่มจะล่มสลาย “กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall)” ซึ่งเป็นกำแพงที่แบ่งแยกระหว่างประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ (หาอ่านได้ในซีรีส์กำแพงเบอร์ลินที่ผมเคยเขียนเอาไว้ได้ครับ) ก็ถูกโค่น
ค.ศ.1991 (พ.ศ.2534) ประเทศต่างๆ ในสหภาพโซเวียตได้แยกตัวเป็นอิสระ ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลาย
ทางด้านจีน “เติ้งเสี่ยวผิง (Deng Xiaoping)” ได้ขึ้นมาครองอำนาจในจีนภายหลังจากที่เหมาเจ๋อตุงเสียชีวิตในปีค.ศ.1976 (พ.ศ.2519) และได้ทำการปฏิรูปเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน และนำพาจีนสู่ระบอบทุนนิยม ทำให้ประชาชนสามารถดำเนินธุรกิจได้
1
เติ้งเสี่ยวผิง (Deng Xiaoping)
ในทุกวันนี้ ระบอบคอมมิวนิสต์เริ่มจะค่อยๆ หายไป ประเทศที่เคยเป็นคอมมิวนิสต์หลายๆ ประเทศก็ได้เปลี่ยนมาเป็นประชาธิปไตย
ในปัจจุบัน อาจเรียกได้ว่ามีเพียงเกาหลีเหนือและคิวบาเท่านั้น ที่ยังคงปฏิเสธประชาธิปไตยและปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์
เหล่านี้ คือประวัติความเป็นมาคร่าวๆ ของระบอบคอมมิวนิสต์ครับ
References:
https://www.english-online.at/history/communism/communism.htm
https://www.britannica.com/topic/communism
http://www.historytoday.com/themes/communism
https://www.history.com/topics/russia/communism-timeline
http://historyworld.net/wrldhis/PlainTextHistoriesResponsive.asp?ParagraphID=mwk
51 บันทึก
67
7
45
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บทความประวัติศาสตร์, ข่าวสารทั่วๆ ไป , นอกเรื่อง, ๆลๆ , วันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ.2020-18 ธันวาคม ค.ศ.2020
51
67
7
45
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย