4 พ.ย. 2020 เวลา 23:27 • ธุรกิจ
KBANK รับข่าวร้ายมากเกินไปหรือยัง ? หลังแนวโน้มหนี้เสียดูผ่อนคลายกว่าที่คิด
สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกเพจ หุ้นพอร์ทระเบิด ทุกๆท่าน เชื่อว่าในพักหลังๆมานี้ “หุ้นกลุ่มแบงก์” ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ถูกแนะนำให้หลีกเลี่ยงกันมากอยู่พอสมควร
จากทั้งสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้รากฐานของเศรษฐกิจอย่างธนาคารพาณิชย์ต่างก็ได้รับผลกระทบกันไปด้วย
ซึ่งใครๆก็รู้อยู่แล้วใช่ไหมล่ะครับว่าข่าวร้ายๆของหุ้นกลุ่มแบงก์มันคืออะไร ?
1
แต่ในช่วงที่มีความกังวลมากๆแบบนี้ก็ทำให้เราเกิดฉุกคิดขึ้นมาว่าหุ้นอย่าง KBANK หรือบมจ. ธนาคารกสิกรไทย ที่ราคาหุ้นร่วงเอาๆนั้นซึมซับกับข่าวร้ายมากเกินไปหรือยัง เดี๋ยววันนี้เราจะมาอัพเดทให้ได้ฟังกันครับ
โดยที่ KBANK หรือธนาคารกสิกรไทย ก็น่าจะเป็นที่รู้จักกันดีกับประชาชนคนไทยอย่างเรา ซึ่ง KBANK ก็เป็นอีกหนึ่งหุ้นที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ไปอย่างหนัก เนื่องจากว่าฐานลูกค้าส่วนใหญ่ของพวกเขาจะเป็นกลุ่ม SME และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวนั่นเอง
และ KBANK เองก็เป็นอีกหนึ่งหุ้นแบงก์ที่โดนเทขายจนราคาเกิดหลุด Low เดิมไปเมื่อช่วงกลางเดือนกันยายน 63 ที่ผ่านมา เนื่องจากว่าตลาดยัง “ไม่ไว้ใจ” หุ้นแบงก์กันสักเท่าไหร่
เพราะความกังวลกับสถานะการณ์ของ Covid-19 ที่ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจโดยภาพรวมและโดยเฉพาะในกลุ่มSME เกิดการชะลอตัวอย่างหนัก ทำให้ NPL หรือหนี้เสียนั้นกลายเข้ามาเป็นปัจจัยที่กดดันราคาของ KBANK อย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา สอดคล้องกับงบการเงินที่ดูเหมือนจะดูไม่ดีสักเท่าไหร่ในปีนี้
💰งบการเงินของ KBANK
ปี 2560 รายได้ 180,426 ล้านบาท
กำไร 34,338 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 182,232 ล้านบาท
กำไร 38,459 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 185,002 ล้านบาท
กำไร 38,727 ล้านบาท
(ล่าสุด)ไตรมาส 3 ปี 2563
รายได้ 36,754 ล้านบาท
กำไร 6,679 ล้านบาท
เรียกได้ว่าถึงแม้กำไรสุทธิที่ 6,679 ล้านบาท จะคิดเป็นการลดลงมาจากปีก่อน 33% แต่ถ้าเทียบกับไตรมาส 2/63 แล้วนั้น กำไรของ KBANK ก็จะถือว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นมาถึง 207% QoQ กันเลยทีเดียว
ซึ่งสาเหตุหลักๆก็จะมาจากปัญหาที่ทำให้กำไรลดลงในไตรมาส 2 เลยก็คือ “การตั้งสำรอง” ที่ในไตรมาสนี้ได้ลดลงมากว่า 46% ส่วนรายได้จากดอกเบี้ยสุทธิก็จะถือว่าทรงตัวอยู่ที่การเติบโต 0.6%
2
สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจะปรับตัวลงมาที่ 33% จากการปรับมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนซะเป็นส่วนใหญ่ โดยถ้าหากมองภาพรวมตามงวดสิ้นเดือนกันยายน 63 แล้วเครือ KBANK ก็จะมีสินทรัพย์รวมอยู่ทั้งหมดราวๆ 3.5 ล้านล้านบาท หรือเรียกได้ว่ายังมีการเติบโตจากปีก่อนอยู่ 7.64%
1
ขณะที่ NIM ในไตรมาส 3 อยู่ที่ 3.17% และแน่นอนว่าตัวเลขที่ขาดไปไม่ได้เลยก็คือสัดส่วนของเงินให้สินเชื่อ NPL ต่อสินเชื่อที่ระดับ 3.95% ซึ่งจะถือว่าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยและ BIS Ratio ซึ่งยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจที่ 15.74%
3
เมื่องบออกมาแล้วตลาดเห็นว่างบของ KBANK ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดแล้ว ราคาหุ้นของ KBANK ก็เริ่มแสดงอาการฟื้นตัวมาตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 62 โดยถ้าหากมองตามสัญญาณทางเทคนิคก็จะถือว่ากำลังทำได้ดี
1
และนี่ก็เป็นสถานะการณ์และสาเหตุของการเคลื่อนไหวกับราคาของ KBANK ในช่วงที่ผ่านมานะครับ หวังว่าเพื่อนๆก็น่าจะได้คำตอบและหายสงสัยกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
1
แล้วส่วนตัวเพื่อนๆล่ะ คิดว่าในช่วง Covid-19 ที่ผ่านมา KBANK รับข่าวร้ายมากเกินไปหรือยัง ? รวมไปถึงปัญหาNPL ในมุมมองของเพื่อนๆตอนนี้นั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง ??
2
ใครมีความคิดเห็นอย่างไรก็อย่าลืมมาแชร์ความคิดเห็นได้นะครับ สำหรับในวันนี้ก็คงจะต้องขอตัวลาไปก่อน
สวัสดีครับ...
ติดตามบทความดีๆของพวกเราได้ทาง WEBSITE
หรือ BLOCKDIT
และช่องทางใหม่ YouTube ‼️
- - - -
ผู้สนับสนุน
สนใจเปิดพอร์ท หุ้น TFEX SBL BLOCKTRADE กับโบรคเกอร์ KTBST
ค่าธรรมเนียมเรทพิเศษ
พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
- ทีมงานมืออาชีพคอยให้บริการ
- โปรแกรม EFIN//ASPEN
- โปรแกรม SUPPORT อื่นๆเช่น MT4//MODEL TRADE//KTBST SMART และอื่นอีกมากมาย
กรอกรายละเอียดได้เลย 👇
โฆษณา