Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Main Stand
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 พ.ย. 2020 เวลา 03:33 • กีฬา
ดอดจ์บอล : กีฬาง่าย ๆ ที่ทุกคนเล่นได้ แต่ซับซ้อนมากสุดในโลก | MAIN STAND
หากใครเป็นแฟนกญี่ปุ่นาร์ตูน เชื่อว่ากีฬาที่คุ้นตารองมาจากกีฬายอดนิยมอย่างเบสบอล คงจะหนีไม่พ้นกีฬาที่ชื่อว่า “ดอดจ์บอล” ไม่ว่าจะเป็นภาพของชินจังและผองเพื่อนจับกลุ่มเล่นดอดจ์บอล กับห้องกุหลาบ ในการ์ตูนชินจังจอมแก่น หรือมารุโกะจัง ที่เล่นดอดจ์บอลทีมเดียวกับผู้ชายคาบพละ
2
กีฬานี้มีกฎพื้นฐานง่ายๆ เพียงแค่ผลัดกันขว้างบอลให้โดนฝ่ายตรงข้ามให้ออกจากสนามมากที่สุด ฝ่ายใดขว้างจนคู่แข่งออกจากสนามหมดก่อน ฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ชนะ
dailymotion.com
ชินจังจอมแก่น - เล่นดอสบอล - video dailymotion
Watch ชินจังจอมแก่น - เล่นดอสบอล - saendao on Dailymotion
ดอดจ์บอลยังเป็นกีฬาที่เล่นได้โดยใช้อุปกรณ์ไม่เยอะ มีเพียงลูกบอล, คนจำนวนหนึ่ง และพื้นที่ก็เพียงพอที่จะสนุกกันได้ แถมยังเป็นกีฬาที่สามารถเล่นได้ทุกวัย ตั้งแต่เด็กอนุบาลยันผู้ใหญ่
กีฬาดังกล่าวมีการนำมาใช้เป็นเกมการแข่งขันในกีฬาขาวแดงหรือกีฬาสีของเด็กญี่ปุ่น ตลอดไปถึงเกมลงทัณฑ์ในรายการของไอดอลชื่อดังอย่าง 48 กรุ๊ป
อย่างไรก็ดี นอกจากกฎพื้นฐาน ดูเหมือนว่าดอดจ์บอลอาจจะเป็นกีฬาที่วุ่นวายที่สุด เพราะเมื่อลงลึกไปในรายละเอียดแล้ว กีฬาชนิดนี้กลับมีความซับซ้อนที่คาดไม่ถึง
เล่นอย่างไร?
สำหรับดอดจ์บอลของญี่ปุ่น ที่เราคุ้นตาผ่านการ์ตูน มีกฎที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เพราะใช้ผู้เล่นราว 12-20 คน และสนามก็ไม่ได้กำหนดตายตัว สามารถเล่นได้ทั้งสนามบาสเก็ตบอล, สนามวอลเลย์บอล หรือสนามฟุตซอล ส่วนลูกบอลเป็นลูกบอลเบอร์ 4 ที่ทำจากโฟม เพื่อให้โดนแล้วไม่เจ็บ
Photo : busy.org
การเล่นจะแบ่งเป็นผู้เล่นเอาท์ฟิลด์ (นอกสนาม) และ อินฟิลด์ (ในสนาม) โดยเริ่มต้นด้วยการจัมป์บอลคล้ายกับบาสเก็ตบอล แล้วผลัดกันขว้างจนผู้เล่นอินฟิลด์ฝ่ายใดฝ่ายนึงนอกจากสนามจนหมด
ผู้เล่นอินฟิลด์ สามารถเล่นได้เฉพาะเขตในสนาม หากโดนขว้างจะต้องออกไปอยู่เขตนอกสนาม ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามกับเขตของตัวเอง และห้ามรบกวนการเล่นของผู้เล่นอินฟิลด์ ในขณะที่ผู้เล่นเอาท์ฟิลด์ จะเล่นได้เฉพาะเขตนอกสนามเท่านั้น โดยจะต้องมีผู้เล่นเอาท์ฟิลด์อย่างน้อยหนึ่งคนตอนเริ่มเกม
ผู้เล่นอินฟิลด์ และเอาท์ฟิลด์จะต้องส่งบอลไปมา อย่างรวดเร็วไม่เกินห้าครั้ง ก่อนจะขว้างใส่คู่แข่งภายใน 5 วินาที โดยผู้เล่นเอาท์ฟิลด์สามารถกลับเข้ามาในสนามได้ หากสามารถขว้างผู้เล่นอินฟิลด์คู่แข่งจนออกจากสนาม
youtube.com
第1回(2013年)ドッジボールアジアカップ U-12 男子・日本代表対香港代表/DODGE BALL ASIAN CUP JAPAN VS HONGKONG
Enjoy the videos and music you love, upload original content and share it all with friends, family and the world on YouTube.
สำหรับการ “ออก” ของกีฬาชนิดนี้ ก็ไม่ได้ซับซ้อน เพียงแค่โดนขว้างบอลมาแล้วรับไม่ได้ ผู้เล่นคนนั้นต้องออกจากสนาม กรณีที่ขว้างโดนผู้เล่นอินฟิลด์ของคู่แข่งสองคน คนที่โดนคนแรกคือคนที่ต้องไปอยู่ในโซนเอาท์ฟิลด์
แม้เป็นกีฬาที่ดูจะรุนแรง เพราะต้องขว้างบอลใส่กัน แต่ ดอดจ์บอล ก็มีกฎที่ไม่ให้เกิดการปะทะกัน ไม่ว่าจะเป็นห้ามล้ำเข้าไปในแดนคู่แข่ง, ห้ามโดนตัวคู่แข่ง, ห้ามไปแย่งบอลจากในแดนคู่แข่ง หรือกระทั่งห้ามปาบอลโดนหน้าหรือหัวคู่แข่ง (ในการ์ตูนชินจังยังเป็นกฎเก่า กฎใหม่ถูกปรับเพื่อความปลอดภัยของผู้เล่น) หากฝ่าฝืนจะเสียการครองบอล และเปลี่ยนบอลไปให้คู่แข่งทันที
การตัดสินผลแพ้ชนะจะวัดกันที่ฝ่ายใดสามารถทำให้ผู้เล่นอินฟิลด์ออกจากสนามได้หมดก่อน ฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้นไป
ดอดจ์บอลในวัฒนธรรมร่วมสมัย
ด้วยความที่เป็นกีฬาที่เล่นกันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น รวมไปถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกอย่าง เกาหลี ทำให้สามารถพบเห็นการละเล่นนี้เป็นประจำในเกมโชว์ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลี
อย่างไรก็ดี อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนไทยรู้จักกีฬานี้มากขึ้น คงจะหนีไม่พ้นเกมสุดฮาในยุค 90 ของเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมที่ชื่อว่า “คุนิโอะ คุง โนะ ดอดจ์บอล ดะโย เซ็น อิน ชูโง” หรือที่รู้จักกันสั้นว่า คุนิโอะ ดอดจ์บอล
2
youtube.com
NES Longplay [350] Super Dodge Ball
http://www.longplays.org Played by JagOfTroy From the familiar face of Kunio that we all know and love, here comes Super Dodge ball! This game really needs n...
เกมดังกล่าวจับคาแร็คเตอร์สุดกวนของนักเรียนนักเลงอย่างคุนิโอะ และผองเพื่อนมาเล่นกีฬาปาบอลใส่กัน ผสานกับท่าไม้ตายสุดฮาซึ่งเป็นหนึ่งในจุดขายของซีรีส์นี้ จนทำให้เกมดังกล่าว กลายเป็นเกมที่โด่งดังทั้งในประเทศไทยและญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ดอดจ์บอล ยังเป็นเป็นกีฬาที่นำมาใช้แข่งเป็นเกมลงทัณฑ์ในรายการ AKBingo รายการวาไรตี้ของ AKB48 วงไอดอลชื่อดังของญี่ปุ่น ที่คนโดนบอลปาใส่จะถูกสั่งให้ทำภารกิจแปลกๆ เช่น กินแกงที่เผ็ดมาก, ขายกล้วยในที่สาธารณะ หรือแม้กระทั่งไปเอาช้อนไปตักอาหารคนอื่นมากินตามร้านอาหาร
1
ดอดจ์บอลยังปรากฏในรายการเกมโชว์ของเกาหลีเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายการรันนิ่งแมน ทั้งนี้ทางฝั่งแดนของแดนโสมขาว จะเน้นการแข่งขันที่มีคนปริมาณมาก ซึ่งบางครั้งอาจะมีผู้เข้าร่วมถึง 50 คนต่อเกมเลยทีเดียว
นอกในเกมโชว์แล้วในการ์ตูนญี่ปุ่น ก็มักจะพบเห็นกีฬาชนิดนี้ปรากฏอยู่ในเรื่องอย่างที่กล่าวไปข้างต้นทั้ง ชินจัง, มารุโกะ รวมถึงการ์ตูนยอดนิยมขวัญใจชาวไทยอย่าง โดราเอมอน หรือในยุคหนึ่งก็มีการ์ตูนดอดจ์บอลที่โด่งดังมากๆในบ้านเราที่ชื่อ “ดันเป เจ้าหนูดอจบอล” ของสำนักพิมพ์บงกช
youtube.com
Doraemon Sub Indo - Membara! Bermain Dodgeball!
https://www.youtube.com/channel/UCjy1QdO6JXCUsid0mtYHcuA Support Channel (Dan Thunder) for anime music lyrics ------------------ Support My Media Social: IG:...
ดอดจ์บอลชิงแชมป์โลก
เนื่องจากดอดจ์บอลเป็นกีฬาที่เล่นง่าย ทำให้มันมีกฎยิบย่อยที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งบางครั้งอาจจะต่างไปจากภาพจำที่เราเห็นจากในรายการทีวีญี่ปุ่นหรือเกาหลีอย่างสิ้นเชิง
ตัวอย่างเช่น บางพื้นที่มีการกำหนด “ราชา” ขึ้นมา โดยแต่ละทีมจะต้องเลือกราชาของตัวเองก่อนเกมเริ่ม หากราชา ออกจากสนามทีมนั้นก็ต้องแพ้ไป หรือมีการใช้บอลมากกว่าหนึ่งลูกในเกมเดียว
และด้วยความหลากหลายเกี่ยวกับกฎกติกาของมันในปี 2012 ประเทศที่มีผู้เล่นดอดจ์บอลเป็นกลุ่มใหญ่อย่าง มาเลเซีย, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, นิวซีแลนด์, อังกฤษ และ จีน ได้จับมือกันเพื่อกำหนดกฎให้เป็นมาตรฐาน เพื่อการแข่งขันในระดับนานาชาติ พร้อมกับการกำเนิดขึ้นของ ดอดจ์บอลชิงแชมป์โลกที่มาเลเซีย
“เป้าหมายของเราในตอนนี้คือทำให้ดอดจ์บอลมีระบบ และเป็นมาตรฐานไปทั่วโลก” บิล แฟร์ ประธานสมาพันธ์ดอดจ์บอลโลก (World Dodgeball Federation : WDBF) กล่าวกับ
Yahoo.com
“เราสามารถตกลงเรื่องรูปแบบการแข่งขัน, กฎ และมาตรฐานการแข่งขัน จากนั้นเราจะมุ่งไปสู่โอลิมปิก”
กฎของดอดจ์บอลของ WDBF นอกจากพื้นฐานแล้ว รายละเอียดในส่วนอื่นจะมีความต่างจากภาพจำของดอดจ์บอลที่เราเห็นในการ์ตูนหรือรายการทีวีญี่ปุ่นอยู่พอสมควร
ไม่ว่าจะเป็นการแข่งเป็นเซ็ต 2 เซ็ต เซ็ตละ 20 นาที การใช้บอลฝั่งละ 3 ลูกในสนาม ซึ่งทำให้ไม่มีการจัมพ์บอลตอนเริ่มเกม แต่จะเป็นการวิ่งไปนำบอลมาใช้ขว้าง หรือ การสามารถใช้บอลบล็อคคู่แข่งเมื่อถูกขว้างเข้ามาได้
นอกจากนี้ในกติกาสากล ยังกำหนดผู้เล่นในสนามเพียงแค่ฝั่งละ 6 คน และไม่มีเขตเอาท์ฟิลด์เหมือนญี่ปุ่น ทำให้เมื่อผู้เล่นต้อง “ออก” จากเกมแล้ว จะไม่สามารถร่วมเล่นในสนามได้
ส่วนกรณีการ “ออก” จากเกม นอกจากขว้างไปโดนคู่แข่งที่เหมือนกันแล้ว ก็มีหลายกรณีที่แตกต่างจากญี่ปุ่น เช่น หากขว้างบอลไปแล้ว คู่แข่งรับได้คนขว้างต้องออก หรือ หากขว้างบอลไปโดนหัวหรือหน้าคู่แข่ง คนขว้างต้องออก หรือกระทั่ง ออกนอกเขตแดนเพื่อหลบลูกบอล, ล้ำเข้าไปในเขตคู่แข่ง กรณีเหล่านี้ก็จะต้องออกจากสนาม ซึ่งต่างจากฝั่งเอเชียตะวันออก ที่เสียการครองบอลเท่านั้น
นอกจากสมาพันธ์ดอดจ์บอลโลก แล้ว สมาคมดอดจ์บอลโลก (World Dodgeball Association : WDA) ก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีส่วนผลักดันวงการดอดจ์บอลในระดับโลก พวกเขาถือเป็นโต้โผสำคัญในจัดการแข่งขันดอดจ์บอล เวิลด์คัพ ที่เพิ่งมีไป 2 ครั้งเมื่อปี 2016 และ 2018 และมุ่งที่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี
อันดับ 1 ของโลกจากอาเซียน
แม้ดอดจ์บอลจะเป็นที่แพร่หลายในเอเชีย ในโซนตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในญี่ปุ่น เกาหลี หรือฮ่องกง แต่ยอดทีมของเอเชียในเวทีระดับโลก กลับเป็นเพื่อนบ้านของเราที่ชื่อว่า มาเลเซีย
หลังเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน เวิลด์ ดอดจ์บอล แชมเปียนชิพ ครั้งแรกเมื่อปี 2012 มาเลเซียก็สามารถคว้าแชมป์โลกมาครองได้ถึง 3 ครั้ง แบ่งเป็นทีมชาย 1 ครั้ง และ ทีมหญิง 2 ครั้ง โดยเฉพาะในปี 2017 ถือเป็นปีทองของพวกเขาเพราะทีมหญิงและทีมชายต่างคว้าเหรียญมาคล้องคอได้ด้วยกันทั้งคู่
“ฉันรู้สึกภูมิใจมากที่พวกเราสามารถป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ” Janelle Chong Hwei Xian กัปตันดอดจ์บอลหญิงของมาเลเซียให้สัมภาษณ์หลังเอาชนะออสเตรเลียในนัดชิงชนะเลิศเมื่อปี 2017
“หลังจากเตรียมตัวมาหนึ่งปี ฉันและเพื่อนร่วมทีมรู้สึกภูมิใจกับการทำงานหนักของพวกเรา ที่ได้เห็นผลของมัน”
Photo : www.nst.com.my
ส่วนดอดจ์บอล เวิลด์คัพ ของสมาคมดอดจ์บอลโลก ทีมชายของมาเลเซีย ก็สามารถก้าวไปถึงตำแหน่งรองแชมป์ทั้ง 2 สมัย หลังพ่ายต่ออังกฤษ ต้นตำหรับของกีฬาชนิดนี้ในปี 2016 และ ออสเตรเลีย เมื่อเดือนสิงหาคม 2018 ที่ผ่านมา
“ทีมดอดจ์บอลทีมชาติมาเลเซีย จะกลับมาแข็งแกร่งกว่านี้สำหรับรอบคัดเลือกโซนเอเชียแปซิฟิค 2019 เพื่อคว้าตั๋วไปเล่นเวิลด์คัพในปี 2019” Mas Ermieyati Samsudin ประธานสมาพันธ์ดอดจ์บอลมาเลเซียกล่าว
“เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศไม่ง่ายเลย แต่ทีมดอดจ์บอลมาเลเซีย ก็ทำอย่างเต็มสุดความจนผ่านเข้ามาได้”
นอกจากนี้ ในการจัดอันดับโลกจากสมาพันธ์ดอดจ์บอลโลก ทีมหญิงและทีมชายของมาเลเซีย ต่างรั้งอยู่ในอันดับ 1 ของโลก ส่วนการจัดอันดับของสมาคมดอดจ์บอลโลก ทีมหญิงรั้งอยู่ในอันดับ 5 ของโลก ต่อจาก ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อังกฤษ และ อิตาลี ในขณะที่ทีมชายของพวกเขาเป็นเบอร์ 2 ของโลกรองแค่อังกฤษเพียงแค่ทีมเดียว
ความหลากหลายของดอดจ์บอล
จากการที่เป็นกีฬาที่มีความยืดหยุ่นเรื่องกติกา ทำให้บางครั้ง ก็มีการแข่งขันดอดจ์บอลแบบแปลกๆเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นในด้านจำนวนคนเข้าร่วมการแข่งขัน หรือเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน
ยกตัวอย่างเช่นในเดือนกันยายนปี 2012 มหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียได้จัดการแข่งดอดจ์บอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีผู้เข้าร่วมถึง 6,084 คน
อย่างไรก็ดี หกพันกว่าคนเหล่านี้ไม่ได้แบ่งกันเล่นเป็นหลายสนาม แต่เป็นการแข่งขันที่เกิดขึ้นในสนามเดียวกัน ทำให้พวกเขาทำลายสถิติของมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตาที่เคยทำไว้ที่ 4,979 คนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน ซึ่งจากการคะเนด้วยตาดูน่าจะวุ่นวายเลยทีเดียว
หรือการแข่งขันดอดจ์บอลที่ยาวนานที่สุดในโลกก็เคยมีมาแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน ปี 2012 ที่คาสเซิลตัน คอลเลจ สหรัฐอเมริกา โดยใช้เวลาในการแข่งไปทั้งสิ้น 41 ชั่วโมง 3 นาที 17 วินาที และเป็นสถิติโลกของกินเนสบุ๊คอีกด้วย
นอกจากนี้ในหลายพื้นที่ ก็ต่างมีการละเล่นพื้นฐานคล้ายกับกีฬาดอดจ์บอลอยู่ทั่วทุกมุมโลก อาทิ กากา หรือที่รู้จักกันในชื่อ octoball ที่เล่นกันในพื้นที่แปดเหลี่ยม แล้วใช้มือตีลูกบอลให้โดนคู่แข่ง หรือ Da Yi Mao ของจีน ที่ใช้ถุงทรายกลมๆแทนลูกบอล
youtube.com
octoball
My youth group and I love Octoball
ในขณะเดียวกันบางพื้นที่ ก็นำพื้นฐานของดอดจ์บอลไปเพิ่มกฎให้สนุกตื่นเต้นมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Protect the pin ที่เล่นเหมือนกับดอดจ์บอล แต่มีการเพิ่มกรวยเข้ามาอีก 3 อันให้แต่ละทีมป้องกัน หรือ Prisonball ที่เมื่อผู้เล่นถูกขว้างบอลใส่แล้ว จะต้องไปอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้อาจจะเป็น “นักโทษ”,“คุก” หรือ “บ้านสุนัข” ซึ่งอยู่ด้านหลังทีมคู่แข่ง โดยการพ้นจากการเป็นนักโทษคือการที่ นักโทษต้องรับบอลที่ขว้างมาจากเพื่อนร่วมทีมให้ได้ (แต่ไม่สามารถขว้างบอลทำให้คู่แข่งออกจากสนามได้)
ที่เยอรมันก็มีเกมที่คล้ายกับ Prisonball ที่ชื่อว่า Völkerball โดยจะใช้บอลเพียงแค่ลูกเดียว แต่ละทีมจะมีผู้เล่นที่เป็น “ราชา” ซึ่งก็คือคนแรกที่ต้องเข้าไปในเขตนักโทษ และจะได้กลับมาในสนามเมื่อเพื่อนร่วมทีมเข้าไปอยู่ในเขตนักโทษกันหมด “ราชา” จะมี 3 ชีวิตในการพาลูกทีมกลับมาในสนามด้วยการขว้างบอลไปให้ ทั้งนี้ Völkerball ยังเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการของสมาพันธ์ยิมนาสติกเยอรมันอีกด้วย
youtube.com
Prominenten Völkerball
Freundlich unterstützt durch die praktische und beratende Hilfe der Völkerballgruppe des Hochschulsports der Heinrich Heine Universität Düsseldorf.
แม้ดอดจ์บอลจะเป็นกีฬาที่มีกฎพื้นฐานเข้าใจง่ายแต่เมื่อลงลึกในรายละเอียดกลับพบว่ากีฬาชนิดนี้มีความซับซ้อนอยู่พอสมควร เนื่องมาจากความยืดหยุ่นของมัน
อย่างไรก็ดี หากมองในเชิงของเกมกีฬาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ดอดจ์บอล หรือกีฬาที่คล้ายดอดจ์บอล ต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือนอกจากสร้างความสนุกแล้ว ยังปลูกฝังให้มีการร่วมมือกัน รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย ตลอดจนมีน้ำใจนักกีฬาไม่ต่างจากกีฬาชนิดอื่น จนน่าเอามาบรรจุเป็นหนึ่งในกีฬาในชั้นเรียนของกระทรวงศึกษา
ถึงวันนั้นบางทีประเทศไทยอาจจะมีทีมดอดจ์บอลทีมชาติไทยไปแข่งชิงแชมป์โลกกับเขาบ้างก็ได้
บทความโดย มฤคย์ ตันนิยม
แหล่งอ้างอิง
https://jpn.matome1.com/qa/culture/japanese-dodgeball/
https://mikankaizoku.wordpress.com/2014/12/14/japanese-dodgeball/
https://www.nst.com.my/sports/others/2017/10/293893/malaysia-achieve-double-world-dodgeball-championships-toronto
https://www.freemalaysiatoday.com/category/sports/2018/08/06/malaysia-emerge-runners-up-in-2018-dodgeball-world-cup/
https://mgronline.com/game/detail/9480000033969
https://www.yahoo.com/lifestyle/the-weird-and-wonderful-world-dodgeball-championships-88971729442.html
5 บันทึก
12
10
5
12
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย