5 พ.ย. 2020 เวลา 05:14 • การศึกษา
จริยธรรมสื่อคืออะไรกันแน่ อ่านสื่อให้รู้ ดูสื่อให้เท่าทัน ไปรู้จักกันกับหลักวินิจฉัยจริยธรรมสื่อที่จะทำให้เข้าถึง เข้าใจในในที่มา ความสำคัญ ปัญหา และทางออกสื่อมวลชนไทย เพื่อออรถประโยชน์สูงสุดของประชาชน
8
ฐานันดรสี่ประกอบด้วย กษัตริย์ นักบวช ขุนนาง และสื่อมวลชน หากสถาบันเหล่านี้พึงยึดแต่ประโยชน์ส่วนตน ไม่สนใจดูแลประชาชน ผู้คนในสังคมจะเป็นเช่นไร กษัตริย์จึงมีทศพิธราชธรรมมั่นคง
6
นักบวชต้องมีศีลนำทาง ขุนนางต้องยึดมั่นในระเบียบกฎหมายเพื่อทุกผู้คน สื่อมวลชนจำต้องยึดมั่นในหลักจริยธรรมสื่ออย่างเป็นสำคัญ
ปัจจุบันเรามักด่าว่าสื่อไม่มีจรรยาบรรณ บางคนว่า สื่อขาดจริยธรรม อันเป็นส่วนที่มาจากความรู้สึกเป็นส่วนมาก
4
ส่วนสื่อก็เฉไฉไป แม้แต่เหล่าสมาคมวิชาชีพสื่อมวลชนแขนงต่างๆ นานา ที่อุปโลกกันขึ้นมาเอง ก็ยังไม่มีความรู้เลยว่า
แท้จริงแล้วจริยธรรมสื่อคืออะไร ดันเอาแูต่ข้อห้ามตามกฎหมายมากลายร่างเป็นหลักจรรยบรรณสื่อเอง
จริยธรรมสื่อคือหลักส่งเสริมให้สื่อทำดี สู่สังคมในฐานะฐานันดรสี่ที่มีเครื่องมือ masscommunication เข้าถึงมวลชนเพื่อประโยชน์สูงสุดของมวลชนเป็นกิจที่หนึ่ง และพึ่งแสวงหาผลประโยชน์อื่นๆ อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม
1
หลักวินิจฉัยจริยธรรมสื่อสารมวลชน
1
หลักจริยธรรมคือหลักแห่งพฤติกรรมที่ดีงามหลักจริยธรรมเป็นการส่งเสริมให้ทำสิ่งดีงามจริยธรรมจึงไม่ใช่ข้อห้าม
ถ้าเป็นข้อห้ามคือกฎหมายจริยธรรมประกอบไปด้วยหลักจริยธรรมที่ต้องยึดถือและหลักจริยธรรมที่ต้องปฏิบัติ สื่อมวลชนทุกแขนงจำต้องยึดถือและปฏิบัติตามหลักจริยธรรม
หลักจริยธรรมที่ต้องยึดถือได้แก่
1. หลักการมีเหตุผลมุ่งสร้างสังคมที่มีเหตุผลสื่อมวลชนต้องนำเสนอข่าวภาพหรือข้อมูลต่างๆที่เป็นเหตุเป็นผลกันก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
4
2. ศรัทธาต่อเสรีภาพและความรับผิดชอบ สื่อมวลชนต้องมีเสรีภาพในตัวเองการนำเสนอข้อมูลต่างๆต้องมาจากการใคร่ครวญก่อนนำเสนอ
7
3.การยึดหลักอดทนต่อความยากลำบากหรือความไม่ถูกต้องเป็นสื่อมวลชนต้องแสวงหาข้อมูลเพื่อนำมาเสนอไม่ใช้วิธีนั่งเทียนเขียนข่าวหรือมุ่งทำอยู่แต่รายการง่ายๆรวมทั้งไม่อยู่ภายใต้การบังคับของใคร
1
4. ต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นำเสนอเรื่องราวต่างๆโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีของผู้คนที่มานำเสนอว่าทุกคนสูงต่ำดำขาวล้วนมีความเท่าเทียมกันไม่นำเสนอให้เกิดการดูถูกเหยียดหยามกัน
1
หลักจริยธรรมที่ต้องปฏิบัติ เมื่อมีหลักที่ยึดถือแล้วการแสดงออกของสื่อมวลชนในทางปฏิบัติการประกอบด้วย
1. การยึดทางสายกลางอาจจะเขียนข่าวหรือนำเสนอรายการต่างๆสื่อมวลชนไม่ควรโน้มเอียงจิตใจเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดควรดำรงความเป็นกลางเป็นเหมือนพื้นที่สาธารณะที่ให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม
2.การคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของสังคมทุกครั้งที่นำเสนอข่าวข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆต้องระลึกเสมอว่าประชาชนและผู้คนในสังคมจะได้ประโยชน์สูงสุดอย่างไร
3. การยึดหลักความเป็นสากลหมายความว่าเรื่องราวข่าวสารหรือแม้กระทั่งความบันเทิงที่นำเสนอต้องเป็นเรื่องที่ยกระดับมาตรฐานไม่ยึดติดกับความเป็นชาตินิยมหรือแต่ลำพังวัฒนธรรมท้องถิ่นนิยมของกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่งหากแต่ยึดมั่นความเป็นสากลถ้าผลิตข่าวรายการสารคดีภาพยนตร์ก็ต้องสามารถเผยแพร่ไปให้กับคนทั่วไปต่างๆได้เป็นอย่างดี
4
4. ยึดมั่นในหลักยุติธรรม หรือหลักถ้วนทั่วคือเป็นการนำเสนอเรื่องราวจากทุกแง่ทุกมุมของผู้คนชนชั้นต่างๆในสังคมรวมถึงการให้ความสำคัญต่อการนำเสนอเรื่องราวข้อมูลข่าวสารภายใต้หลักที่มีความถูกต้องเป็นธรรม
2
หากเกิดข้อขัดแย้งต่างๆต้องมุ่งมั่นส่งเสริมให้เกิดการยุติได้โดยธรรมรวมถึงเรื่องราวที่นำเสนอจำเป็นต้องมีความชอบธรรมไม่ใช่เรื่องที่นำไปสู่ความเสื่อมในสังคมหลีกเลี่ยงจากการนำเสนอเรื่องราวที่มันเป็นอบายมุขแห่งสังคมเพื่อประโยชน์ของตน
5, การยึดหลักเสมือนหนึ่งพี่น้องกันมวลชนต้องคัดเลือกเนื้อหารูปแบบวิธีการนำเสนอให้กับผู้คนเรียงความรำลึกนึกถึงเมื่อผู้รับสารเป็นเสมือนพี่น้องของเรารวมถึงผู้ที่เป็นคนต้นเรื่องหรือผู้ที่ตกเป็นข่าวหรือผู้ร่วมรายการก็เป็นเสมือนหนึ่งพี่น้องของเราเช่นเดียวกัน
ภายใต้หลักการนี้เมื่อลองมองย้อนกลับไปดูการทำงานของสื่อมวลชนไทยต้องบอกว่าสื่อมวลชนไทยบกพร่องในเรื่องจริยธรรมทั้งการยึดมั่นในหลักการและแนวปฏิบัติ
เราพบปัญหาการละเมิดหลักการและแนวปฏิบัติเชิงจริยธรรมของสื่อมวลชนไทยในทุกด้านกันเลยทีเดียว ลองไล่เรียงดู
หนึ่ง).สื่อมวลชนทางด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ส่วนใหญ่มีการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวหรือข้อความที่เป็นการโฆษณาเกินความจริงจนทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดในตัวผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานนั้นๆและในปัจจุบันนักโฆษณาประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่มุ่งพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์มากกว่าจะคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคดังนั้นนักโฆษณาประชาสัมพันธ์ควรต้องยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณของสาขาวิชาชีพของตน
4
ทั้งนี้การโฆษณามีหัวใจสำคัญที่เป็นการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริโภครับรู้และเข้าใจในสรรพคุณและประโยชน์รายการอุปโภคบริโภคสินค้าเหล่านั้นอันนำไปสู่ความต้องการเลือกซื้อสินค้าการโฆษณาจึงพึงยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณสำคัญสำคัญที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเป้าหมายในการโฆษณา มีการกำหนดเป็นจรรยาบรรณหรือแนวปฏิบัติให้เกิดความดีงามดังนี้
1.การสื่อสารโฆษณาประชาสัมพันธ์ต้องเคารพความเป็นส่วนตัว(privacy)ของผู้บริโภค นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ต้องรู้จักโน้มน้าวใจผ่านการสื่อสารที่เหมาะสมต่อผู้บริโภคกลุ่มต่างๆไม่ใช่ลักษณะของการยัดเยียดเสแสร้งหลอกลวงโดยต้องเคารพความสุขส่วนตัวของผู้คนในสังคม
1
2.การสื่อสารการโฆษณาประชาสัมพันธ์ต้องมุ่งนำเสนอเนื้อหาที่ไม่อนาจารไม่มีต่อศีลธรรมอันดีงามในสังคมเพิ่งนำเสนอเนื้อหาต่างๆด้วยความสุภาพโดยคิดคำนึงถึงผู้รับสารส่วนใหญ่ในสังคมที่มีทั้งผู้ใหญ่และเด็กเยาวชนที่สามารถเข้าถึงและเปิดรับสารโฆษณาจากช่องทางการสื่อสารมวลชนได้แม้นว่าจะไม่ใช่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายก็ตามลักษณะเช่นนี้จึงเป็นความรับผิดชอบของนักโฆษณาที่พึงมีต่อสังคม
3. การสื่อสารโฆษณาต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมไม่ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นรวมถึงผู้ค้าแข่งขันเพราะหัวใจสำคัญของนักโฆษณาที่ดีจำเป็นต้องมุ่งสร้างสรรค์เนื้อหาที่อยู่บนพื้นฐานของลักษณะสินค้าที่ทำโฆษณาเป็นหลัก
4. การสื่อสารโฆษณาประชาสัมพันธ์ต้องไม่กระทำการในลักษณะของการรุกราน ยัดเหยียดผ่านช่องทางต่างๆเพื่อกระตุ้นลุกล้ำผู้รับสารหรือท้าทายฉันคู่แข่งขันเพราะนั่นไม่ใช่วิถีของการสื่อสารโน้มน้าวใจให้ผู้คนหันมาสนใจด้วยตัวของเขาเอง
สอง)การสื่อสารของสื่อบันเทิงไทย ส่วนใหญ่มีแต่สื่อบันเทิงที่ไม่มีคุณภาพเพื่อประโยชน์ของสังคมมีเป็นเพียงส่วนน้อยทั้งนี้เพราะสื่อบันเทิงจำนวนมากมุ่งเน้นไปที่เรื่องของเซ็กกีฬายาเสพติดความโป๊เปลือย ละครน้ำเน่าเรื่องราวที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุมีผลหรือการนำเสนอเรื่องราวความบันเทิงเพื่อการยกระดับจิตใจของผู้คนในสังคม
3
ทั้งๆที่สื่อบันเทิงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่สามารถยกระดับจิตใจและสร้างประโยชน์ไปกับมวลชนคนส่วนใหญ่ใจทุกชนชั้นทุกเพศทุกวัยเป็นสำคัญ
1
แนวปฏิบัติที่สำคัญสำหรับการสร้างสรรค์ให้สื่อมวลชนเข้าถึงหลักจริยธรรมการสื่อสารมวลชนคือการยึดมั่นในหลัก 3 ประการที่สำคัญได้แก่
1.การยึดมั่นในหลักความจริง คนทำสื่อเพื่อรายการบันเทิงต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความจริงและสภาพการณ์ที่เป็นจริงในสังคมควรหลีกเลี่ยงการนำเสนอเรื่องราวหรือรายการที่ทำให้ผู้ชมผู้ฟังเกิดความที่เข้าใจคลาดเคลื่อนหรือหลงเชื่อไปในทิศทางแห่งความไร้เหตุไร้ผล
3
การจะนำเสนอรายการบันเทิงละครหรือภาพยนตร์ก็ต้องคำนึงถึงพื้นฐานความเป็นจริงของสังคมต้องแยกแยะบอกกล่าวกลัวสิ่งใดเป็นเรื่องแต่งสิ่งใดเป็นเรื่องจริงหรือให้ข้อมูลให้เกิดความกระจ่างชัดรอบด้านไม่ใช่นำเสนออย่างขาดความรับผิดชอบอย่างเช่นกรณีการปล่อยตัววิ่งในรายการที่ขายความพิศวงหรือสิ่งเหลือเชื่อโดยระบุแต่เพียงว่า"โปรดใช้วิจารณญาณเป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคล"
การนำเสนอเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นสื่อบันเทิงที่เข้ามาใช้ช่องทางการสื่อสารมวลชนที่ผู้คนต่างระดับสติปัญญาและวุฒิภาวะสามารถเข้าถึงได้และอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดหรือหลงเชื่อ
2.การยึดหลักความงาม รายการบันเทิงรำวงสร้างสรรค์ในการเพื่อยกระดับจิตใจของผู้คนในสังคมต่อการทำรายการบันเทิงสามารถสร้างสรรค์ใช้จินตนาการและเทคนิคทักษะในกระบวนการผลิตรายการลักษณะต่างๆได้เป็นอย่างมากจึงใช้ความสามารถเหล่านี้เพื่อช่วยนำเสนอรายการที่ทำให้ผู้ชมนั้นเกิดความสุขไปพร้อมๆกับการมีจิตใจที่ดีงามร่วมไปในรายการอันจะทำให้สังคมนั้นเกิดความสุขโดยมวลรวมร่วมกันสมกับเป็นช่องทางการสื่อสารมวลชน
1
3.การยึดมั่นในหลักความดี ผู้ผลิตรายการบันเทิงในช่องทางต่างๆจำเป็นอย่างยิ่งต้องคำนึงถึงผลกระทบของสื่อจะติดตามมาต้องมีความระมัดระวัง awareness ไม่ให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดเห็นผิดเป็นชอบรวมถึงการยึดหลักความดีที่มีความเป็นสากลมิใช่ความดีของชาติ หนึ่งหรือชนชั้นหนึ่ง แต่ไปเหยียบย่ำเยาะหยันชนชั้นอื่นหรือชาติอื่น
1
สาม)สื่อมวลชนทางด้านการสื่อข่าวของไทย เป็นที่ทราบและประจักษ์กันดีว่าสำนักข่าวต่างๆของสื่อไทยมีการระเบิดหลักจริยธรรมการสื่อสารมวลชนหลักจรรยาบรรณสมาคมวิชาชีพและหลักกฎหมายอย่างกว้างขวางมากมายตลอดเวลายังพบด้วยว่าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องที่การนำเสนอข่าวนัดเรานั้นมักไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ตกเป็นข่าว
การนำเสนอข่าวที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงอันเนื่องมาจากการไม่นำเสนอข่าวอย่างรอบด้านหรือถ้วนทั่วรวมไปถึงการมีผลประโยชน์แอบแฝงการเข้าข้างเอนเอียงกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายผู้มีอำนาจหรือผู้มีผลประโยชน์ต่อองค์กรข่าวของตน ตลอดจนการใช้วิธีการนำเสนอข่าวอย่างง่ายๆเฉพาะตัวเหตุการณ์โดยไม่สืบสาวถึงที่มาที่ไปและผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมา
1
เห็นได้เช่นข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวคำสัมภาษณ์ทางการเมือง ข่าวแถลงของนักธุรกิจหรือผู้นำองค์กรใหญ่ๆ โดยมักละเลยเรื่องราวความเป็นไปของผู้คนในสังคมกลุ่มต่างๆทั้งคนจนคนชนบทเกษตรกรชาวบ้านถือได้ว่าคือมวลชนแขนงข่าวละเมิดหลักจริยธรรมการสื่อสารมวลชนและหลักปฏิบัติการแห่งจริยธรรมการสื่อข่าวครบในทุกประการเลย
หลักการอย่างง่ายๆที่จะเป็นแนวปฏิบัติสำหรับการสื่อข่าวให้สอดคล้องกับจริยธรรมการสื่อสารมวลชนที่สื่อมวลชนพึงยึดถือใน 3 ด้านได้แก่
1. การยึดมั่นในความถูกต้องการดำเนินเสนอเนื้อหาข่าวสารสู่สาธารณะต้องกระทำการอย่างรอบคอบมีการตรวจสอบในทุกๆด้านถึงความถูกต้องไม่มีปืนจากข้อเท็จจริง ตลอดจนต้องทำการตรวจสอบถึงที่มาที่ไปและผลกระทบหรือความเป็นไปในเรื่องราวให้ครบถ้วนเท่าที่จะทำได้ภายในเวลาอันจำกัด
2
2.การนำเสนอเรื่องราวต้องยึดมั่นในความเป็นกลางไม่ใช้อคติส่วนตัวไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกที่เป็นสามัญสำนึกทั่วไปมาร่วมนำเสนอเพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นการชี้นำแทรกแซงเหตุการณ์เท่ากับเป็นการบิดเบือนเหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นถึงแม้นว่าจะเกิดความไม่ชอบหรือรู้สึกคับแค้นต่อเนื่องราวเหล่านั้นก็จะต้องอดทนอดกลั้นและพยายามนำเสนอเรื่องราวให้ครบถ้วน
3. การยึดหลักความเท่าเทียมและถ้วนทั่วการนำเสนอข่าวต้องแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องมานำเสนอให้ครบถ้วนรอบด้านในคราวเดียวกันให้มากที่สุดควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้สื่อสารนำเสนอร่วมด้วย และพึ่งนำเสนอเรื่องราวของทุกชนชั้นของทุกมิติ
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่าสื่อมวลชนแขนงต่างๆจำเป็นต้องยึดมั่นในหลักปฏิบัติการเชิงจริยธรรมไว้เป็นสำคัญเพราะสื่อมวลชนคือผู้ที่เข้ามาใช้ช่องทางการสื่อสารมวลชนช่องทางการสื่อสารมวลชนนั้นสามารถสร้างผลกระทบทั้งคุณและโทษที่จะเกิดขึ้นได้เพราะมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ
1. การสื่อสารจาก one to many เป็นการส่งสารไปยังผู้คนจำนวนมากไม่รู้ว่าใครเป็นใครจะบริโภคข้อมูลข่าวสารนั้นอย่างไรเพื่อการใดหรือนำไปใช้ต่ออย่างไร
2. การสื่อสารมวลชนนั้นมีการสะท้อนกลับช้าผู้ผู้ส่งสารไม่รู้ว่าสื่อสารออกไปแล้วผู้รับสารได้รับตรงตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ทำการสื่อสารหรือไม่ผู้ส่งสารจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างสูง
3. การสื่อสารมวลชนมีความเป็นพื้นที่สาธารณะหรือ public sphere การสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อสารมวลชนจะเปลี่ยนเรื่องราวจากเรื่องส่วนบุคคลเป็นเรื่องสาธารณะที่เปิดโอกาสให้สาธารณชนเข้าถึงหรือมีส่วนร่วมทั้งในทางดีและทางไม่ดีได้ตลอดเวลาสื่อต้องลองนึกถึงสิ่งเหล่านี้ไว้เป็นสำคัญเพราะอันนำไปสู่ผลที่ไม่คาดคิด
4.ช่องทางการสื่อสารมวลชนสามารถสื่อสารแทรกซึมเข้าไปในความรู้สึกอารมณ์และจิตใจของผู้คนได้ทำให้ผู้คนนั้นมีความคิดคำนึงถึงเรื่องราวที่ช่องทางการสื่อสารมวลชนได้แพร่กระจายออกไปอ่านศึกษาในทางดีผู้คนย่อมมีจิตใจความคิดอารมณ์รวมถึงจินตนาการในทางดีแต่หากสื่อสารไม่ดีก็มีผลในทางตรงกันข้ามและสร้างความเสียหายให้กับสังคมได้
สื่อมวลชนจึงต้องยึดมั่นในหลักจริยธรรมที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นสำคัญแต่พี่สื่อมวลชนไทยไม่สามารถเป็นเช่นนั้นได้มีสาเหตุที่พอสรุปชี้ได้อย่างง่ายๆไว้ 3 ประเด็นได้แก่
1.สื่อมวลชนไม่มีความเป็นวิชาชีพเพราะสื่อมวลชนไทยเปิดให้ใครก็ได้เข้ามาทำไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ในการเข้าสู่วิชาชีพไม่ต้องมีความรู้ในเชิงหลักการการทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และผลกระทบของสื่อมวลชนดังนั้นทำให้ผู้ที่เป็นผู้ส่งสารในช่องทางการสื่อสารมวลชนจำนวนมากขาดความตระหนักขาดความรู้ความเข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อและผลกระทบที่มีต่อสังคม
2.ระบบการกำกับดูแลการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไม่มีประสิทธิภาพแม้แต่น้อยเพราะสื่อไทยอ้างใช้ระบบ self regulation หรือการรวมตัวกันของเครือข่ายวิชาชีพสื่อมวลชนแขนงต่างๆโดยอ้างหลักความมีเสรีภาพจึงต้องปกครองกันเองดูแลกันเองตักเตือนกันเอง
1
แต่ในทางปฏิบัติการไม่มีการกำหนดมาตรฐานการพัฒนาความรู้ความสามารถให้มีความเป็นวิชาชีพหรือการกำหนดการลงโทษในกรณีที่มีการละเมิดหลักจริยธรรมให้หลาบจำ การรวมตัวกันในนามสมาคมวิชาชีพสื่อด้านต่างๆจึงไร้ประสิทธิภาพสื่อมวลชนจึงมีความเป็นอิสระภายใต้อวิชชาในตนเอง เป็นเหมือนสัมภเวสีร้ายที่ผลิตเรื่องราวที่เลวทรามต่ำช้าเข้าหาผู้คนเสียแทนโดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ากำลังทำไม่ดีอยู่
4
3.ความเป็นอุตสาหกรรมทุนของสื่อไทย องค์กรสื่อไทยแขนงต่างๆรวมตกอยู่ภายใต้ระบบการมุ่งแสวงหากำไรสูงสุดหรือมุ่งรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นแทนการรับผิดชอบต่อมวลชนคนส่วนใหญ่ของประเทศขณะเดียวกันภาครัฐเองก็ขาดความตระหนักในการส่งเสริมสร้างสื่อสาธารณะหรือสื่อเสรีให้มีน้ำหนักขึ้นมาถ่วงดุลยิ่งไป
ดังเช่นกรณีภาครัฐเองอย่างเช่นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการวิทยุโทรทัศน์หรือกสทชยังใช้ระบบการประมูลเรียกรับเงินจำนวนมากสำหรับการครอบครองสื่อโทรทัศน์ที่เป็นสมบัติของชาติให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ อันเป็นการกระตุ้นส่งเสริมให้ทีวีทุกช่องมุ่งแสวงหากำไรหารายได้สำคัญมากกว่าการแสวงหาความจริงการสร้างสรรค์รายการการยกระดับจิตใจของผู้คนในสังคม
หรือการกระทำตามบทบาทหน้าที่สำคัญสำคัญของสื่อมวลชนอันได้แก่การเป็นผู้เชื่อมโยงสังคมการคัดสรรข่าวสารที่ดีงามสู่สังคมการถ่ายทอดค่านิยมจากรุ่นสู่รุ่นหรือกล่าวโดยง่ายว่ามิได้มุ่งหมายเพื่อการสื่อสารเพื่อการอยู่ร่วมกันหากแต่มุ่งหมายเพื่อการสื่อสารเพื่อการแสวงหารายได้สูงสุดของตนเองเป็นสำคัญ
1
ทางออกสื่อไทยที่จะสร้างแนวทางให้สื่อมีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมจึงต้องประกอบด้วยแนวทางสำคัญสำคัญอย่างน้อย 3 แนวทางควบคู่กันไปได้แก่
1.การยกระดับให้สื่อมวลชนแขนงต่างๆมีความเป็นวิชาชีพต้องมีการคัดสรรผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าสู่วิชาชีพสื่อแขนงต่างๆทั้งทางด้านการข่าวการโฆษณาประชาสัมพันธ์การสร้างภาพยนตร์หรือการผลิตรายการสาระบันเทิง
โดยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสื่อสารมวลชนรวมไปถึงตระหนักดีถึงผลกระทบของสื่อรวมถึงได้เรียนรู้และเห็นความสำคัญของหลักจริยธรรมการสื่อสารมวลชนด้านต่างๆไม่ใช่เพียงแต่มีความเป็นวิชาชีพทางเทคนิคการผลิตสื่อ
1
2.ต้องมีการสร้างสมดุลในโครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อกล่าวคือต้องเปิดพื้นที่สนับสนุนให้เกิดสื่อเสรีในด้านต่างๆโดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหรือภาคประชาสังคมทั้งในด้านการสื่อข่าวสื่อบันเทิงสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์และภาพยนตร์เพื่อให้สื่อเสรีเหล่านี้ผลิตเนื้อหาเพิ่มทางเลือกสร้างแรงกดดันแข่งขันกับสื่อมวลชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมสื่อทุนนิยมที่มุ่งรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นหรือสื่อธุรกิจเอกชน
3
3.การพัฒนาจัดตั้งผู้ตรวจการสื่อมวลชนสาธารณะโดยส่งเสริมให้องค์กรภาคประชาชนทั้งองค์กรด้านการพัฒนาสังคม องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนต่างๆและเครือข่ายชุมชนในทุกๆภูมิภาคได้มีส่วนร่วมคอยเป็นตัวแทนของประชาชนตรวจสอบการทำหน้าที่ร้องเรียนฟ้องร้องร้องทุกข์กล่าวโทษต่อสื่อมวลชนแขนงต่างๆที่ทำการละเมิดหลักจริยธรรมการสื่อสารมวลชนและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1
หากสามารถประกอบกันได้ทั้ง 3 แนวทางควบคู่กันไปยอมเป็นการช่วยยกระดับให้สื่อมวลชนไทยตลาดนัดหันมาพัฒนาเรื่องราวข่าวสารข้อมูลในทางดีให้กับสังคมรถพังลบให้จางหายออกไปเป็นเหมือนผู้สร้างสรรค์อาหารด้านข่าวสารข้อมูลที่มีคุณภาพให้ผู้คนในสังคมได้เจริญก้าวหน้าดังคำที่ว่า you are what you eat,,,
2
แนวการวิเคราะห์กรณีสื่อศึกษาที่มีการกระทำผิดหลักจริยธรรมการสื่อสารมวลชน และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปและฝึกฝนการคิดค้นหาแนวทางปฏิบัติการเชิงจริยธรรมที่ดีกว่า สภาพการณ์ของการสื่อสารมวลชนที่เป็นอยู่ มีแนวทางสำคัญดังต่อไปนี้
3
1.ในการทำการวิเคราะห์ต้องสรุปสาระสำคัญเสียก่อนว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร และนำเสนอทางช่องทางใด เพราะเป็นฐานสำคัญต่อการหยิบยกเอาหลักจรรยาบรรณและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์
เช่น ในครั้งนี้หากโฆษณานั้น ส่วนหลักออกอากาศทางเครือข่ายอินเตอร์ ก็จะเกี่ยวข้องกับหลักจรรยาบรรณการใช้สื่อออนไลน์ PAPA และข้อกฎหมายเกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์เป็นฐาน หากเป็นสื่อสารผ่านทีวี ก็ต้องไปพิจารณาพรบ.กิจการวิทยุโทรทัศน์ เป็นหลัก ส่ิงพิมพ์ก็ต้องไปดูพรบ.จดแจ้งการพิมพ์ เป็นต้น
2.เมื่อพิจารณาเนื้อหาว่าเป็นส่วนที่แสดงถึงลักษณะของการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ หรือการสื่อข่าว ก็จะไปเกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณในสาขานั้นๆ อีกขึ้นหนึ่ง ซึ่งมีระบุในหลักจรรยาบรรณสื่อรายสาขาวิชาชีพนั้นๆ ว่าผิดตรงไหน อย่างไร โดยต้องมีการยกข้อความ หรือภาพส่วนยืนยันให้เห็นจริงว่าละเมิดหลักนั้น โดยเฉพาะอย่างย่ิงจรรยาบรรณโฆษณาสำหรับในการวิเคราะห์ครั้งนี้
2
3. ขณะเดียวกันต้องพิจารณาเนื้อหาว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร มีกฎหมายด้านใดเป็นส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ หากเป็นยาและเวชภัณฑ์ก็ต้องดูทั้งพรบ.คุ้มครองผู้บริโภค และพรบ.อาหารและยา แต่ถ้าเป็นด้านการอื่นๆ อาจเกี่ยวข้องกับพรบ.ลิขสิทธิ์ หรืออื่นๆ แต่ทั้งนี้พบว่า มีการอ้างกฎหมายอาญา ม.328 และแพ่งม.420 ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง การกระทำความผิดไม่ปรากฎเช่นนั้น เพราะเป็นเพียงเนื้อหาที่สื่อสารออกไป
4.เมื่อวิเคราะห์ให้เห็นข้างต้นแล้ว จึงนำไปสู่การวิเคราะห์ส่วนสำคัญว่า มีการขัดต่อหลักจริยธรรมสื่อ ทั้งในด้านบทบาทหน้าที่ของสื่อ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หลักอุดมการณ์จริยธรรมการสื่อสารมวลชน 4 ด้านได้แก่
2
การยึดมั่นในหลักเหตุผล การยึดมั่นในหลักเสรีภาพ การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การอดอนกลั้นต่อความไม่ถูกต้อง
1
ควบคู่ไปกับการนำเอาหลักปฏิบัติการเชิงจริยธรรมของสื่อมวลชน 5 ประการ ได้แก่ หลักเสมือนหนึ่งพี่น้องกัน หลักถ้วนทั่ว หลักทางสายกลาง หลักความเป็นสากล และหลักอรรถประโยชน์สูงสุดของสังคม มาประกอบการวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงต่อเนื่อง โดยยกตัวอย่างมาประกอบให้เห็นจริงว่า ว่ามันขัดอย่างไร
5.เมื่อทำการประมวลให้เห็นว่า น่าจะมีสาเหตุอย่างไร โดยไม่สรุปแต่เพียงง่ายๆ ว่า เพราะอยากได้เงิน หรือมุ่งหากำไร แต่ต้องพิจารณาว่า การผลิตเนื้อหาเช่นนั้น มุ่งหมายจูงใจโน้มน้าวใจผู้รับสารตรงไหนอย่างไร การทำเกินจริงที่หมิ่นเหม่การผิดกฎหมายและละเมิดจริยธรรมสื่อนี้ทำให้สามารถจูงใจ หรือล่อลวงได้อย่างไร อันจะนำไปสู่ข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมที่ดีกว่าแต่ไม่ผิดกฎหมายและจริยธรรม
2
โฆษณา