Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ภาษาไทยโบราณ
•
ติดตาม
5 พ.ย. 2020 เวลา 06:37 • การศึกษา
บทที่ 4.ที่มาคำว่า”มดลูก”
เคยอ่านพบว่ามีคนสงสัยทำไมเราถึงเรียกอวัยวะส่วนนั้นว่า”มดลูก”
อย่ามองเป็นเรื่องลามก เพราะว่าเราทุกคนเคยอยู่ที่นั่น เป็นสถานที่ก่อเกิดของพวก
เราทุกคน แต่จะหาความหมายในปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดที่จะอธิบายว่าทำไมจึง
เรียกว่า ”มดลูก” ราชบัณฑิตยสถานให้คำแปลใว้ว่า “อวัยวะภายในอันเป็นที่ตั้ง
ครรภ์”. แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดใว้ว่า ทำไมจึงเรียกว่า ”มดลูก”
คำนี้ประกอบด้วยคำว่า ”มด” และคำว่า “ลูก” แต่ละคำเมื่อแยกออกมาเป็นคำเดี่ยวก็
จะมีความหมายในตัวเอง คำว่า"มด"ภาษาไทยรู้จักคำนี้เป็นอย่างดีเป็นคำที่ใช้เรียก
ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่งตัวเล็กๆซึ่งเรียกว่ามด เช่นมดแดง มดดำ มดคันไฟเป็นต้น ส่วนคำ
ว่า ลูกก็คือลูกหญิง ลูกชาย เรารู้เรื่องนี้ดีอยู่แล้ว แต่เมื่อเรานำคำ2คำนี้รวมกันกลับ
ทำให้ไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมจึงเรียกว่าอย่างนั้น.อีกทั้งในภาษาไทใหญ่เรียก
มดลูกว่า”โถงลูกอ่อน” ซึ่งเรียกไม่เหมือนกัน.
คำว่า ”มด” ในภาษาไทย เราคุ้นเคยกับความหมายที่แปลว่าตัวมดเท่านั้น และทำไมบรรพชนไทโบราณจึงเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า “มด” เราสันนิฐานได้ว่าที่เรียกชื่อว่ามด
เพราะว่าสัตว์ชนิดนี้มีขนาดเล็ก ภาษาไทโบราณคำนี้มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง
คือแปลว่า ขนาดเล็ก. และยังแยกย่อยออกไปได้ตามขนาดเล็ก-ใหญ่ออกไปได้อีก3คำ แต่ในภาษาไทยพบว่ามีใช้อยู่เพียง 2คำเท่านั้น.
ภาษาไทโบราณมีคำที่ออกเสียงคล้ายคำว่า”มด”อยู่3คำคือ (แต่สำเนียงแตกต่างกันเหมือนการผันเสียงในภาษาไทย)
1.มอด หรือแมงมอด หมายถึงตัวมอดที่กินเนื้อไม้ ภาษาไทยก็เรียกเหมือนกัน
2.ม๊อด ตรงกับภาษาไทยกับคำว่า ตัวมด
3.หม๊อด หมายถึงสัตว์ประเภทตัวด้วงชนิดหนึ่งที่เจาะรูที่กินเนื้อไม้ (คำนี้ออกเสียง
เหมือนกับคำว่า มด ในสำเนียงปักษ์ใต้ และสำเนียงคล้ายกับคำว่า (ขาย)หมดใน
ภาษาภาคกลาง)
ตัวมอดเล็กที่สุด ตัวหมด(ด้วงชนิดหนึ่ง)มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มคำนี้ ภาษาไทยมีใช้แค่2คำคือ ตัวมอดและตัวม๊อด(มด).ส่วนตัวด้วงก็เรียกตัวด้วง.เมื่อท่านอ่านจนถึงบรรทัดนี้ท่านก็จะเข้าใจได้ทันทีว่ามดลูกหมายถึงอะไร.
คำว่า ”มดลูก” ความหมายตรงตัว จึงแปลว่า ลูกตัวเล็ก.
เพื่อให้เข้าใจความหมายของคำนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโปรดติดตามตอนต่อไปซึ่งจะกล่าวถึงชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่ภาษากลางเรียกว่า ตัวอีเห็น ภาคใต้เรียกว่า มดสังหรือมูสังในภาษามลายูและทุเรียนมลายูที่ชื่อว่ามูสังคิงส์ ซึ่งคำนี้มีผู้รู้บางท่านกล่าวว่าเป็นคำ
ไทยที่ยืมมาจากภาษามาลายู จากการตรวจสอบพบว่าคำนี้เป็นคำเผ่าไทโบราณที่
เดินจากจากตอนใต้ของประเทศจีน ผ่านเวียดนามเหนือ ไทย และมาลายูนำไปใช้.
สาวเผ่าปู้อีในตอนใต้ของจีน ซึ่งใช้คำร่วมกับภาษาไทยบางส่วน.
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน.
คำไทยโบราณ ๕.๑๑.๖๓
หมายเหตุ : บทความทั้งหมดเรียบเรียงโดยผู้ดูแลเพจคำไทยโบราณ ขอสงวนสิทธิ
ไม่อนุญาตให้นำข้อมูลไปแก้ไข ดัดแปลง ทำซ้ำ แล้วเผยแพร่ในนามตนเอง หากมีความประสงค์จะเผยแพร่บทความด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามต้องได้รับการยินยอมจากผู้ดูแลเพจก่อน.แต่อนุญาตให้เผยแพร่ความรู้โดยการแบ่งปัน(แชร์.,share)ในblockdit
หรือทางเฟซบุ๊กได้โดยไม่ต้องขออนุญาต.
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย