5 พ.ย. 2020 เวลา 12:10 • ประวัติศาสตร์
คุณผู้อ่านทราบไหมครับ ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 สยามมีประเด็นพิพาทเรื่องเขตพื้นที่กับฝรั่งเศสบริเวณฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำโขงนั้น มีเบื้องลึกเป็นอย่างไร?
และทำไมฝรั่งเศสถึงกล้าละเมิดสิทธิ์บนพื้นที่อาณาเขต ทั้งที่สยามได้อ้างสิทธิ์ไว้โดยไม่เกรงกลัวการครหาจากทั่วโลก
ผมพบหลักฐานบางชิ้นที่น่าสนใจและมั่นใจว่าคนไทยหลายคนแทบไม่ทราบ วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ
สืบค้นจากแผนที่โบราณ จากสาเหตุเพียงข้อบกพร่องของตัวอักษรเล็กๆบนแผนที่ประเทศสยามฉบับแรก เป็นส่วนหนึ่งทำให้ฝรั่งเศสกล้าเผชิญหน้ากับสยามและสามารถเรียกร้องดินแดนฝั่งซ้ายและขวาของแม่น้ำโขงไปได้
โดยครั้งนั้นมีการเจรจากันและใช้แผนที่ของแต่ละฝั่งมาสู้กันเลยครับ
ก่อนอื่นเลยผมต้องขอเกริ่นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่บนอาณาบริเวณแห่งนี้ ซึ่งชาวตะวันตกเรียกกันว่า "อินโดจีน” ซึ่งประกอบด้วยประเทศมากมาย ดังนี้ เมียนมาร์ สยาม กัมพูชา มาเลเซีย และ เวียดนาม
3
พื้นที่บริเวณนี้เรียกต่างกันไปครับ ทางฝั่งอังกฤษจะเรียกว่า Hidu China ส่วนทางฝั่งฝรั่งเศสจะเรียกว่า Indo-Chine ประมาณช่วงรัชกาลที่ 2-3 ที่ผ่านมาประเทศมหาอำนาจทั้งสองนี้ได้ทำการสำรวจไว้แล้ว
1
แผนที่จากอังกฤษและฝรั่งเศส ในสมัย รัชกาลที่ 2-3
แต่สิ่งที่ทั้งสองประเทศนี้มีข้อมูลและความเข้าใจที่สอดคล้องกัน คือ บนพื้นที่แห่งนี้มีการปกครองแบบกลุ่มอำนาจอิทธิพล หรือที่เราเข้าใจและเรียกกันว่าเมืองประเทศราชนั่นเองครับ
1
เมียนมาร์เป็นประเทศที่ที่มีอิทธิพลและพื้นที่กว้างขวาง มีสยามอยู่ตรงกลางซึ่งมีลาว กัมพูชาและอันนามบางส่วน(เวียดนาม) เป็นเมืองขึ้นของสยาม แต่บริบทความเข้าใจของชาติมหาอำนาจชาวตะวันตกทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นกลับแตกต่างกับเราครับ
พวกเขาเข้าใจและมีข้อมูลว่า สยามนั้นได้มีอิทธิพลอยู่เหนือลาว กัมพูชาและอันนามบางส่วน
โดยเมืองประเทศราชของสยามเหล่านี้ก็ยังมีอำนาจบริหารประเทศด้วยตนเองเพียงแต่ต้องส่งส่วยหรือของบรรณาการให้แก่สยามเท่านั้น
ซึ่งเท่ากับว่าประเทศเหล่านี้ยังคงสามารถปกครองตนเองได้บนพื้นที่ของตนเองได้ดังเดิมเพียงแต่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลเท่านั้น
แผนที่โบราณไม่มีการกำหนดเขตแน่ชัด
ต่างกับเมืองประเทศราชหรือเมืองขึ้นในทรรศนะของชาวตะวันตก การตกเป็นเมืองขึ้นในทรรศนะของตะวันตกนั้น คือ การยึดเมืองโดยมีกองกำลังของฝ่ายตนตั้งพำนักและนำคนจากรัฐบาลกลางเข้าไปบริหารแทนทั้งหมด และครอบครองอำนาจบริหารทั้งหมดบนดินแดนของเมืองที่ถูกยึดครับ
ในข้อนี้เองเมื่อทางสยามทราบเข้าก็เถียงไม่ออกครับ เนื่องจากไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการปักเขตแดนของตัวเองเป็นข้อมูลเพื่อพิสูจน์อย่างเป็นสากล
ในพื้นที่แถบอินโดจีนนี้ เมื่ออาณาจักรต่างๆรบกันและยึดเมืองได้ ฝ่ายผู้ชนะจะเจรจาและเรียกร้องเก่ียวกับส่วย รวมทั้งเครื่องราชบรรณการ บ้างก็นำตัวประกันที่มีความเกี่ยวข้องกับระดับชนชั้นปกครอง เช่นลูกเจ้าเมืองเข้าเมืองหลวงของตน เพื่อจะใช้เป็นเครื่องมือกดดันให้อยู่ภายใต้อิทธิพล เพื่อให้ไม่กล้าแข็งเมือง
5
ส่วนอาณาเขตบริเวณของอาณาจักรต่างๆนั้น ยังไม่เคยกำหนดเขตอย่างแน่ชัด เพียงแต่โฟกัสไปที่ชุมชนเมืองเป็นหลักครับ
1
แผนที่โบราณไม่มีการกำหนดเขตแน่ชัด
ข้อนี้เองจึงเป็นจุดด้อยของประเทศแถบอินโดจีนที่ชาวตะวันตกลัทธิจักวรรดินิยมได้เล็งเห็น และหมายตาเอาไว้มาอย่างเนิ่นนานครับ
เมื่ออังกฤษค่อยๆคลืบคลานเข้ามาเรื่อยๆ จนยึดพื้นที่แถบอินเดียที่ถือว่าเป็นเพชรแห่งเอเชียได้สำเร็จ
3
ทางฝรั่งเศสประเทศที่แพ้สงคราม ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ในปี ค.ศ.1870 (พ.ศ.2413)
สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
ฝรั่งเศสต้องใช้หนี้สงครามเป็นจำนวนหลายล้าน ผลกระทบนี้ ได้สร้างความกระหายที่ทำให้ฝรั่งเศสจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
โดยปรัสเซียไม่สนและไม่แคร์ที่จะเรียกร้องเงินเป็นจำนวนหลายล้านนี้จากฝรั่งเศส พร้อมทั้งให้เหตุผลว่าฝรั่งเศสมีเมืองขึ้นอยู่ทั่วโลกก็ควรไปหาทรัพยากรจากต่างแดนมาชดใช้ก็ได้
1
เป็นการตอกย้ำความเจ็บแค้นให้กับฝรั่งเศส และนั่นก็เป็นเหตุให้ฝรั่งเศสมองหาอาณานิคมใหม่ในฟาร์อีส เอเชียอันไกลโพ้น เพื่อจะกลับมาสั่นคลอนโลกอีกครั้งหนึ่ง
1
ในขณะที่อังกฤษ คือประเทศที่ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามซึ่งติดพันมาอย่างยาวนานของยุโรปเท่าใดนัก
1
จึงมีเวลาพัฒนาประเทศและมองหาอาณานิคมใหม่มาโดยตลอด ด้วยการลุกคืบจนได้อินเดียไปในที่สุด และตอนนี้เองที่ฝรั่งเศสคิดจะก้าวขึ้นมาเทียบเคียงอังกฤษครับ
ฝรั่งเศสใช้ฐานข้อมูลเดิม ในการสืบเสาะหาแหล่งอาณานิคมใหม่ แหล่งข้อมูลมหาศาลเหล่านี้ได้มาจากบันทึกของเหล่ามิชชันนารี และ บาทหลวง ผู้เข้าไปเผยแผ่ศาสนาตามประเทศต่างๆ หนึ่งในอาณาบริเวณที่มีข้อมูลอย่างมากคืออินโดจีนครับ
1
คณะบรรดาบาทหลวงที่เข้ามาเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศแถบนี้ ได้บันทึกข้อมูลกันต่อๆมา และปฎิบัติงานคล้ายหน่วยข่าวกรองมาอย่างเนิ่นนาน ตั้งแต่ยุคพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 หรือในสมัยสมเด็จพระนารายณ์แห่งแผ่นดินอยุธยาครับ
และเมื่อฝรั่งเศสได้เข้ามาเชื่อมสัมพันธไมตรีอีกครั้งกับสยามช่วงรัชกาลที่ 2-3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็พบว่าสยามเป็นประเทศเปิดและให้เสรีเกี่ยวกับศาสนามาก จนฝรั่งเศสตัดสินใจตั้งศูนย์กลางการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีที่ตั้งอยู่บริเวณบางรัก หรือ แถวโรงแรมแมนดาริน โอเรียลเต็ล ในปัจจุบันครับ
การเข้ามาของฝรั่งเศสในครั้งนี้ ถือเป็นการเก็บข้อมูลและการตระเตรียมการเพื่อการใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
โดยที่ฝรั่งเศสนั้นก็รู้ดีว่าสยามมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอังกฤษและมีผลประโยชน์ร่วมกันในหลายทางมานาน การดึงผลประโยชน์ทางด้านการค้านั้นจึงไม่เพียงพอที่จะต่อกรอังกฤษได้มากนัก
ในช่วงนี้เองที่สยามเริ่มจะรู้ตัวบ้างแล้วว่าอังกฤษนั้นเริ่มไม่น่าไว้ใจ และโดยเฉพาะฝรั่งเศสที่มีแผนจับมือกับอังกฤษเข้าบุกจีน เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าจักวรรดินิยมกำลังคืบใกล้เข้ามาแล้ว
1
สยามจึงเริ่มขับเคลื่อนกลยุทธ์สำคัญเพื่อใช้อ้างสิทธิเหนือดินแดนที่สุ่มเสี่ยงบริเวณเขตพื้นที่บนดินแดนของประเทศราชที่ห่างไกล
เพื่อป้องกันการเสียดินแดนที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากพื้นที่ของสยามนั้น ยังไม่ได้ทำการสำรวจอย่างเป็นกิจจะลักษณะดั่งตะวันตกมาก่อน
ทีมงานสำรวจของ James Fitzroy McCarthy หรือ พระวิภาคภูวดล ถ่ายภาพกับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ณ วังสามยอด
James Fitzroy McCarthy หรือ พระวิภาคภูวดล
สยามจึงเริ่มคิดการทำแผนที่เพื่อป้องกันจุดอ่อนในส่วนนี้ไว้ มีการปรึกษากับอังกฤษและได้ว่าจ้างนาย James Fitzroy McCarthy หรือ พระวิภาคภูวดล ทำการสำรวจเขตแดนแบบละเอียดซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์สยาม โดยใช้วิธีแบบตะวันตกและกินเวลาหลายปีตั้งแต่ ปี 1881 - 1893 ครับ
เมื่อสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 อุบัติขึ้น ฝรั่งเศสพยายามยื่นข้อเสนอและจับมือกับอังกฤษเพื่อร่วมกันปราบปรามรวมทั้งเข้ายึดจีน และเมื่อฝรั่งเศสสามารถยึดตังเกี๋ยได้สำเร็จ ตามสนธิสัญญาที่อังกฤษและฝรั่งเศสได้ร่วมทำกันไว้นั้น เป็นผลให้ฝรั่งเศสมีอำนาจครอบครองตังเกี๋ยไปในที่สุด
3
ฝรั่งเศสยึดตังเกี๋ย
แผนการณ์แรกของฝรั่งเศสได้สำเร็จ รวมทั้งพวกฮ่อที่แพ้สงครามให้กับรัฐบาลจีนก็หนีถอยร่นลงมาบริเวณแถบเวียดนามและลาว จนเกิดการกระชับพื้นที่บริเวณบนเขตทับซ้อนแห่งนี้
ซึ่งมีผู้อ้างสิทธิกันถึงสามอาณาจักร คือ ลาว อันนาม(เวียดนาม) และสยาม ตรงบริเวณที่เรียกกันว่าสิบสองสองจุไท
คราวนี้แหละครับ คือ จุดกำเนิดมหากาพย์ วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ซึ่งมีจุดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ปักเขตแดนของสยามชิ้นแรกนี้ด้วย
1
แผนที่ที่ถูกสำรวจโดยช่างแผนที่ชาวไอริช หรือ เจมส์ แมกคาธี นี้แหละครับที่มีจุดบกพร่องเพียงแค่นิดนึงเท่านั้น แต่นิดนึงที่ว่านี้ กลับส่งผลให้สยามเสียดินแดนไปได้เลยครับ
แต่ก่อนอื่นที่ผมจะเจาะข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่ในส่วนนี้ลงลึกไป ต้องขอนำพาผู้อ่านไปเรียนรู้สังคมของช่างทำแผนที่ระดับโลกก่อนครับ
คือพวกช่างทำแผนที่ระดับโลกนี้นะครับ เขาจะมีสมาคม สมาคมที่ว่านี้อยู่ในประเทศอังกฤษ มีชื่อ Royal Geographical Society หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรดีอันนี้ผมไม่ทราบได้ เพราะไม่เคยมีงานประวัติศาสตร์ชิ้นไหนได้เอ่ยถึงครับ ขอแปลตรงตัว คือ "ราชสมาคมแผนที่และภูมิศาสตร์”
1
Royal Geographical Society
Royal Geographical Society
สมาคมนี้สำคัญอย่างไร? สมาคมนี้คือหน่วยงานเอกชนซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 มีสมาชิกนักแผนที่และนักสำรวจชาวยุโรปซึ่งได้รับการยอมรับ
และมีผลงานผลิตออกมาทุกๆปี โดยมีข้อกำหนดร่วมกันว่า ผู้ค้นพบและนักสำรวจทุกคนต้องนำชิ้นงานมาแสดง และร่วมปาฐกถากันทุกปี
ซึ่งเจมส์ แมกคาธี ก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของสมาคมนี้ รวมทั้งได้ส่งชิ้นงานการสำรวจพื้นที่ของเขตแดนสยาม โดยใช้ชื่อแผนที่อย่างเป็นทางการว่า Map of the kingdom Of Siam and its dependencies 1888 หรือ ชื่อไทยคือ "แผนที่สยามและเมืองประเทศราช” และในปี 1888 แผนที่ชิ้นนี้ก็ถูกบันทึกไว้เพื่ออ้างเป็นหลักฐานถึงกรรมสิทธิ์ของดินแดนสยามครับ
1
Map of the kingdom Of Siam and its dependencies 1888 แผนที่แรกของสยาม
ย้อนกลับมาการกระชับพื้นที่บริเวณบนพื่นที้ทับซ้อน ซึ่งมีผู้อ้างสิทธิถึงสามอาณาจักร คือ ลาว อันนาม(เวียดนาม) และสยาม ตรงบริเวณที่เรียกกันว่าสิบสองสองจุไท
ฝรั่งเศสให้การว่าสยามไม่ได้มีพื้นที่กำหนดอย่างถูกต้อง เพียงแต่มีอิทธิพลเข้ามาในเขตพื้นที่นี้เท่านั้น และเมื่อฝรั่งเศสครอบครองตังเกี๋ยได้ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม ฝรั่งเศสจึงอ้างสิทธิเหนือดินแดนแห่งนี้เช่นกันครับ เพราะสิบสองจุไท เวียงจันทร์และหลวงพระบางก็ส่งส่วยให้แก่สยาม รวมทั้งอันนามเช่นกัน
ง่ายๆคือเมืองเหล่านี้ส่งส่วยให้ทั้งสยามและเวียดนามครับ นักวิชาการหลายคนจึงมีคำจำกัดความในลักษณะนี้ว่า "เมืองสองฝ่ายฟ้า”
1
ส่งส่วยให้ทั้งสองอาณาจักรเพื่ออะไร? ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งสองอาณาจักรที่แกร่งกว่า มาสร้างความวิบัติให้แก่อาณาจักรของตนครับ ป้องกันไว้ก่อน ส่งส่วยมันทั้งสองอาณาจักรเลยนี่แหละปลอดภัยดีประมาณนี้ครับ
1
จึงเป็นข้อกังขาที่ฝรั่งเศสจะประโคมข่าวไปทั่วยุโรป ถึงดินแดนทับซ้อนนี้โดยสยามไม่ได้มีการปักเขตอย่างถูกต้อง และเมื่อยึดเวียดนามได้ ฝรั่งเศสก็อ้างว่ามีสิทธิเหนือดินแดนแถบนี้ไปได้เลยครับ
ซึ่งสยามก็ไม่ยอมแน่นอนและพยายามอธิบายอย่างหนักหน่วงครับ พร้อมตรึงกำลังกดดันฝรั่งเศสกันไปมา
1
ต่อมาสยามจึงขอนำหลักฐาน คือ แผนที่ใหม่ที่ได้ทำขึ้นมาโดยเจมส์ แมกคาธี นักสำรวจที่ได้รับการยอมรับจาก Royal Geographical Society "ราชสมาคมแผนที่และภูมิศาสตร์” เข้าสู้เจรจากับฝรั่งเศสครับ
ฝรั่งเศสถึงกับอึ้งครับ เมื่อสยามงัดไม้เด็ดนี้ออกมาใช้ เหตุเพราะในสมาคมนี้นี่แหละครับ ช่างสำรวจชื่อดังของฝรั่งเศสหลายคนก็เป็นสมาชิก อาทิเช่นนักสำรวจที่ชาวฝรั่งเศสภาคภูมิใจอย่างมากคือ Marie Joseph François Garnier ที่ฝรั่งเศสในยุคนั้นรู้จักกันทั่วไปในชื่อ ฟร็องซิส การ์นีเย ตาฟรานซิสผู้นี้ก็ยังเป็นสมาชิกในสมาคมนี้ด้วยแหละครับ
ฝรั่งเศสจึงเริ่มหวั่นใจถึงแผนยึดอินโดจีนและการทำลายขั้วอำนาจเดิมอย่างสยามผู้มีอิทธิพลในดินแดนนี้มาอย่างยาวนานนั้นอาจจะไม่สำเร็จซะแล้ว
ศึกปะชันแผนที่
แต่เมื่อทางฝรั่งเศสทำการตรวจสอบแผนที่ของสยามชิ้นแรกอันน่าภาคภูมิใจนี้ Map of the kingdom Of Siam and its dependencies 1888 โดยเจมส์ แมกคาธี กลับพบจุดบกพร่องหนึ่งแห่งครับ
Zoom
จุดบกพร่องอันนี้คือบริเวณสีเหลืองยาวที่ลากผ่านไปในเขตพื้นที่ที่กำลังมีปัญหา มีจุดหนึ่งที่ปรากฎบนแผนที่ ให้คำอธิบายว่า “Boundary Not Defined” หรือ "พื้นที่ไม่ได้กำหนดขอบเขต" (จุดนี้แหละครับที่ทำให้ฝรั่งเศสตาลุกวาว)
1
Super Zoom
จุดบกพร่องนี้ที่เล็กกระจิดริดจนต้องใช้แว่นขยายส่องดูครับ แต่ผลกระทบกลับส่งผลในทางร้ายให้แก่สยาม และ ส่งผลดีให้ฝรั่งเศสได้ใช้จุดนี้อ้างความชอบธรรมในการเรียกร้องพื้นที่ โดยที่อ้างว่าไม่ใช่พื้นที่ของสยามแต่เดิมเพราะยังไม่ได้กำหนดอย่างชัดเจน
ฟร็องซิส การ์นีเย
ในแผนที่เดิมของฟร็องซิส การ์นีเย ผู้เข้ามาสำรวจอินโดจีนก่อนหน้านี่ ได้ระบุถึงอาณาจักรสยามแค่เพียงว่า เป็นพื้นที่ พื้นดินที่น้ำไหลจากแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง กับลำน้ำลำคลองทั้งหลายที่ติดต่อกับแม่น้ำทั้งปวงนี้ กับทั้งที่ฝั่งทะเลตั้งแต่เมืองกำเนิดนพคุณจนถึงเมืองแกลงแลที่ดินซึ่งน้ำไหลตกลำน้ำบางตพาน
กับลำน้ำพะแสซึ่งเมืองทั้งสองนี้ตั้งอยู่แล้วทั้งที่ดินที่น้ำไหลตก ลำน้ำลำคลองอื่นๆ ซึ่งไหลลงในทุ่งฤๅอ่าวตามชายฝั่งทะเลที่กล่าวมานี้ด้วย กับอีกทั้งที่ดินซึ่งตั้งอยู่ข้างเหนือที่น้ำตกแม่น้ำเจ้าพระยาแลตั้งอยู่ในระหว่างพรมแดนฝ่ายอังกฤษกับฝ่ายไทยลำแม่น้ำโขงกับที่ดินฟากตะวันออกซึ่งน้ำไหลตก
1
แผนที่เดิมของฟร็องซิส การ์นีเย
ฝรั่งเศสใช้แผนที่เดิมชิ้นนี้เข้าต่อสู้และโจมตีข้อบกพร่องจากแผนที่ชิ้นแรกของสยาม และใช้อ้างสิทธิ์ในการใช้กำลังกระชับพื้นที่จนเกิดเหตุการณ์วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ในเวลาต่อมาครับ
Franco - Siamese Conflict
อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้จากแผนที่ Map of the kingdom Of Siam and its dependencies 1888 โดยเจมส์ แมกคาธี เป็นหลักฐานที่คนไทยหลายคนไม่ทราบครับศึกประชันแผนที่ที่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย
แต่ข้อมูลจากจุดเล็กๆนี้ คือข้อมูลจากต่างประเทศซึ่งเข้าถึงได้ยากมาก เท่าที่ผมทราบมีเพียงนักวิชาการเพียงท่านเดียวที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาตีแผ่อีกมุมให้คนไทยได้ทราบ แต่ก็ไม่ได้เจาะลึกในส่วนนี้เท่าใดนัก
รวมทั้งข้อมูลนี้ยังสามารถเชื่อมโยงให้เห็นถึงการก่อตัวของปัญหาในอดีต ก่อนมาสู่วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ในเหตุการณ์ต่อมา
และนี่คือการค้นหาหลักฐานสืบหาร่องรอยประวัติศาสตร์จากหลักฐานข้อมูลชั้นต้น รวมทั้งตีแผ่หลักฐานข้อมูลใหม่ๆ ที่ค้นเจอ เพื่อสื่อให้คนไทยเห็นว่า ทำไมฝรั่งเศสถึงกล้าอ้างสิทธิบนพื้นที่บริเวณในเขตประเทศราชของสยามครับ
5
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
อ้างอิง:
- Atlas du voyage d'exploration en Indo-Chine : effectué pendant les années 1866, 1867 et 1868 par une Commission française, Paris, Hachette, 1873
- Map of the kingdom Of Siam and its dependencies 1888 James Fitzroy McCarthy
- สยามรัฐท่ามกลางจักรวรรดินิยม ไกรฤกษ์ นานา
- บุกเบิกสยาม การสำรวจของพระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาร์ธี) พ.ศ.2424-2436
- "Royal Geographical Society – History" Royal Geographical Society. Retrieved 9 December 2014.
โฆษณา