7 พ.ย. 2020 เวลา 23:00
#ปฏิปทาของพระอาจารย์ตั๋น ถิรจิตฺโต
1
“ อาตมาพูดได้เลยว่า เลือด เนื้อ เอ็น กระดูกของอาตมาเนี่ย ที่อยู่ทุกวันนี้เพราะปัจจัย ๔ ของญาติโยม เนี่ยถึงทรงตัวอยู่ได้ แม้บวชใหม่ๆก็คิดแล้ว ฉันเสร็จก็ไปเดินจงกรมนะ เดินจงกรมชั่วโมงนี้ให้ญาติโยมที่ไม่รู้จักเลย เราไปอยู่อีสานเป็นพระใหม่ มองไปไหนก็ไม่รู้จัก ไม่ใช่ญาติในปัจจุบันนี้เลย แต่เป็นญาติทางธรรม ที่มีศรัทธาต่อพระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์ อาศัยความดีของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์อาศัยความดีของพระพุทธเจ้าสืบต่อมา
1
เขาไม่ใช่ญาติเราเลยนะที่มาทำบุญเนี่ย เราทำไงฉันเสร็จ? ไม่ได้..จะเป็นหนี้ชาวบ้านนะ เค้าอุตส่าห์มาถวายภัตตาหาร เราฉันอิ่มแล้วน่ะมีกำลังกายแล้วเนี่ย เราต้องไปเดินจงกรม เดินจงกรมชั่วโมง นั่งสมาธิชั่วโมง นอกนั้นก็เป็นกำไรของเราแล้วเนี่ย เราต้องให้เค้าทุกวันเลย ให้ทุกวันเลยนะ นั่งสมาธิเดินจงกรม แต่ไม่ได้ทำชั่วโมง นั่งสมาธิชั่วโมงนะ มากกว่านั้น เวลาว่างทั้งหมดจะนั่งสมาธิเดินจงกรมตลอด เนี่ยเพราะเราสู้กิเลส ทำความพากเพียรตลอด ตื่นตั้งแต่ตี ๒ เดินจงกรม ทำกิจธุระส่วนตัว ๑๕ นาที เดินจงกรม ๔๕ นาที ตี๓ ตี๔ นั่งสมาธิรอเวลาทำวัตรสวดมนต์ ตี ๔ เนี่ยกิจวัตรประจำวันนั้น ทำวัตรสวดมนต์เสร็จ จัดอาสนะที่ฉัน ทำความสะอาด เตรียมตัวบิณฑบาต รอเวลาบิณฑบาตหาที่หลบมุมนั่งสมาธิอีก นี่เก็บหมดเลย เรารู้ว่าเดี๋ยวเดินบิณฑบาตชั่วโมงหนึ่ง-ชั่วโมงครึ่ง แล้วแต่แต่ละสาย เรารู้ว่าเดี๋ยวไปเดินจงกรม ไม่ใช่เดินเล่น ไม่ใช่เดินปล่อยจิตปล่อยใจนะ มีสติคุมจิตตลอด เดินจงกรมไปบิณฑบาต ไป-กลับเห็นอะไรก็พิจารณาเป็นธรรมหมด นี่กลับมามีเวลาทำกิจธุระส่วนตัวเสร็จ ก็เข้าที่นั่งเตรียมรับภัตตาหาร นั่งสมาธิอีก มีแต่ทำสมาธินะ เข้าสมาธินั่งรอเวลาแจกภัตตาหาร แจกภัตตาหารพิจารณาภัตตาหารอีก เนี่ยไม่ให้กิเลสออกเลย
2
วันใดที่ฉันภัตตาหารด้วยความอยาก-เราจะไม่ฉัน พิจารณาอาหารให้จิตเป็นกลาง ให้จิตเป็นอุเบกขา พิจารณาไม่ทัน-เข้าสมาธิให้จิตเป็นอุเบกขา มีสติในการฉัน นี่มีสติตลอด เผลอสติเป็นเรื่องปกติไม่ต้องคิด ให้คิดถึงว่าช่วงที่มีสติจะคุมไว้ตลอด เรื่องเผลอสติคงจะมีบ้าง เนี่ยฉันเสร็จก็สำรวม กราบพระ ล้างบาตรเช็ดบาตรเสร็จ ตากผ้าเสร็จ เก็บบริขารเสร็จ เดินจงกรมนั่งสมาธิ จะนอนกลางวันก็นอนไม่ได้ เพราะอะไร? กลัวขาดสติ แค่นั้นเอง กลัวขาดสติ คิดว่าไปนอนตอนตายดีกว่า นอนมามากไม่เห็นพ้นทุกข์เลย นี่คิดแบบนี้นะ
1
ฟังธรรมหลวงพ่อชาว่า พระภิกษุเรานอนวันละ ๔ ชั่วโมงก็พอแล้ว จับเลยนะ เข้าไปบวชใหม่ ๔ ชั่วโมง วันหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมง จะแบ่งยังไงดี แบ่งยังไงๆ คิดไปคิดมา นอน ๔ ทุ่มดีกว่า ตื่นตี ๒ ๔ ชั่วโมงพอดี กลางวันก็หมดเวลาแล้วสิ ก็นอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๒ กลางวันก็ไม่ยาก-ก็ไม่ต้องพัก เอากลางคืน ๔ ชั่วโมงนี่แหละ เนี่ยเป็นปฏิปทาของเราเลย นอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๒ นอน ๔ ชั่วโมง กลางวันไม่ต้องพักกลัวขาดสติ ฉันเสร็จก็เดินจงกรมนั่งสมาธิ คิดดู ๙ โมง ๙ โมงครึ่งก็เสร็จแล้ว เดินจงกรมนั่งสมาธิถึงบ่าย ๓ ไม่ทำอะไร งานภายนอกไม่เอา เนี่ย..จะติดมั๊ย? ติดก็ติด ใครว่าติดก็ติด ติดซี่.. มันสงบนี่มีปีติมีความสุข มีอุเบกขาใจสงบเย็น เดินไม่เมื่อย-นั่งไม่เมื่อย เข้าสมาธิไปถึงบ่าย ๓ เนี่ย เดินจงกรมนั่งสมาธิ ไม่ทำอะไรนอกจากฉันน้ำ หรือทำธุระเข้าห้องน้ำ บ่าย ๓ ทำกิจส่วนรวมเสร็จ ไปเดินจงกรมอีก ถึงเวลาเย็นก็สรงน้ำ สรงน้ำเสร็จก็มานั่งสมาธิ ร่างกายสะอาดเตรียมไปทำวัตรสวดมนต์ ๓ ทุ่ม ก็ไปเดินจงกรมนั่งสมาธิ พัก ๔ ทุ่ม
บางวันไม่รวมตอนเย็น เดินจงกรมนั่งสมาธิ ๖ โมงเย็นถึง ๔ ทุ่ม ใช้ภัตตาหารของญาติโยมคุ้มมั๊ย? เดินจงกรมนั่งสมาธิถึง ๔ ทุ่ม นี่.. ๘๐ เปอร์เซ็นต์นะ วันหนึ่งนั่งสมาธิเดินจงกรมไม่ต่ำกว่า ๘ - ๙ ชั่วโมงหรอก อีก ๑๐ เปอร์เซ็นต์ บางทีป่วยอาพาธก็นอนมากหน่อย บางทีพักกลางวันครึ่งชัวโมง ๑ ชั่วโมง ถ้าอาพาธ ทีเร่งความเพียรวันพระเนสัชชิกไม่นอน บางทีก็นอนชั่วโมง ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะภัตตาหารของญาติโยมมาหล่อเลี้ยงร่างกายเรา เอาร่างกายนี้มาบำเพ็ญเพียร มันก็คงมีอานิสงส์บ้างไม่มากก็น้อย “
1
หลวงพ่ออัครเดช(ตั๋น) ถิรจิตฺโต
โฆษณา