Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Pelé Kick
•
ติดตาม
6 พ.ย. 2020 เวลา 18:40 • กีฬา
ได้เวลา"รีบูท"บาสลีกไทยสู่ระดับอาชีพ!
ถ้านับความนิยมของชนิดกีฬาต่างๆทั่วโลกแน่นอนว่า "บาสเกตบอล" ต้องติดเป็น 1 ใน 5 แน่นอน เผลอๆอาจจะเป็นรองเพียงฟุตบอลอย่างเดียวด้วยซ้ำ แต่กับในประเทศไทยบ้านเรา บาสเกตบอล กลับไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควรจะเป็น
สังเกตว่าเราจะเห็นคนออกมาเล่นบาสเกตบอลกันตามสถานที่ต่างๆเยอะมาก หนังเรื่องไหนๆก็มักให้พระเอกเป็นนักกีฬาบาสแทบทั้งสิ้น แต่ชีวิตจริงกลับมีคนที่ยึดบาสเกตบอลเป็นอาชีพได้เพียงหยิบมือ
เรามีลีกอาชีพเล่นกันเกือบตลอดปีทั้ง TPBL, TBL, Thailand Open ที่ทางสมาคมกีฬาบาสเกตบอลแห่ประเทศไทย และสมาคมกีฬาบาสเกตบอลอาชีพไทย เป็นผู้จัด แต่ก็ยังไม่สามารถยกระดับบาสเกตบอลบ้านเราให้ไปไกลกว่าจุดที่เป็นอยู่ได้
อย่างไรก็ตามปีหน้า (2021) บ้านเรากำลังจะมีสิ่งที่อาจจะเปลี่ยนโฉมวงการบาสเกตบอลไทยของเราไปอีกขั้น เมื่อบริษัท Entertrainment 29 ประกาศจัดการแข่งขันลีกบาสเกตบอลอาชีพรายการ "E29 Championships 2021"
หลายคนยังงงๆ หลายคนติดตามมานานคงพอทราบที่มาที่ไปแล้วบ้าง เดี๋ยวผมจะมาไล่เรียงไปทีละเรื่องละกันครับ
ได้เวลารีบูทบาสลีกไทย
อย่างแรกเลยบริษัท Entertrainment 29 คือใคร?
ใครติดตามบาสไทยมาซักพักนึงคงคุ้นกับเลข 29 นี้แน่นอน... ใช่แล้วครับ 29 ก็มาจาก MONO29 นั่นเอง แม้จะเป็นบริษัทใหม่ แต่คนก่อตั้งก็คือเจ้าของบิ๊กทีมแห่งวงการบาสไทยในช่วงหลายปีหลังนั่นเอง
ย้อนกลับไปช่วงต้นปี จากสถานการณ์โควิด-19 ทาง "โมโนกรุ๊ป" ก็เป็นหนึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในเรื่องเศรษฐกิจ จีงได้ประกาศพักทีม "โมโนแวมไพร์" พร้อมยกเลิกสัญญากับนักบาสเกตบอลทั้งหมด
แฟนบาสหลายคนคิดว่านี่คงเป็นจุดจบของโมโนกับการทำทีมบาส แต่ "คุณพิชญ์ โพธารามิก" เจ้าของสโมสรโมโนแวมไพร์ ผู้มีจิตใจรักในกีฬายัดห่วง ตัดสินใจทำในสิ่งที่ตัวเองรักต่อไป ด้วยการแยกมาตั้งบริษัทใหม่ โดยใช้ทุนส่วนตัวในการรันวงการบาสไทยต่อไปในปี 2021
Entertrainment 29 ก็อยู่ในมือเจ้าของ MONO29 นั่นเอง
มาว่ากันที่ตัวลีกบ้าง
ก่อนหน้านี้ทางโมโนกรุ๊ป ก็เคยจัดลีกของตัวเองมาแล้ว ใช้ชื่อว่า TPBL (Thaland Professional Basketball League) จัดครั้งแรกในปี 2019 มีทีมเข้าแข่งขัน 6 ทีม และนำระบบเหย้า-เยือน กลับมาสู่บาสไทยอีกครั้ง จากก่อนหน้านี้ที่ลีกอาชีพจะเล่นกันอยู่แค่ในกรุงเทพฯ ก็มีการกระจายออกไปสู่ต่างจังหวัด และได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาก โดยสโมสรไฮเทค คว้าแชมป์ไปครอง
ส่วนในปี 2020 ทางโมโนก็มีโครงการจะจัดต่อเนื่อง แต่ด้วยสถานการณ์โควิดระบาดทำให้ทุกอย่างหยุดชะงักไป จนนำมาซึ่งการเปลี่ยนบริษัทใหม่ และเปลี่ยนชื่อลีกใหม่ จาก TPBL มาเป็น E29 Championships นั่นเอง
ซึ่งล่าสุดได้มีการเปิดรับสมัครทีม รวมถึงรายละเอียดและคุณสมบัติออกมาแล้ว
เงินสนับสนุนทีมสูงมาก
ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันจะได้เงินสนับสนุนทีม ทีมละ 5 แสน - 1 ล้านบาท
ถือว่าเป็นจำนวนที่เยอะมากๆกับการทำสโมสรบาสในบ้านเรา เพราะต้องยอมรับว่าบาสเกตบอลลีกไทยยังไม่ได้เป็นอาชีพเต็มตัวนัก นักบาสหากไม่ได้อยู่สโมสรใหญ่ ก็จะมีอาชีพอื่นรองรับ เล่นบาสอย่างเดียวไม่พอเลี้ยงชีพแน่นอน
โดยเรทเงินของนักบาสไทยหากอยู่สโมสรใหญ่ ตัวท็อปก็จะได้ประมาณ 2-3 หมื่นบาทไม่รวมเบี้ยเลี้ยง (ซึ่งก็ถือว่าไม่เยอะเลย) หรือเคยมีพุ่งไปถึง 5 หมื่นมาแล้ว ส่วนสโมสรเล็กๆบางคนเงินเดือนไม่ถึงหมื่นก็ยังมี แถมมักจะจ่ายกันแค่เป็นรายการๆไป ซึ่งบางทีเล่นกัน 1-2 เดือนก็จบทัวร์นาเมนท์แล้ว
เพราะฉะนั้นหากตีซะว่าเงินเดือนคนละ 2 หมื่น สมมติจ้างมา 20 คน รวมผู้เล่นกับสตาฟฟ์โค้ช ก็จะตกกลมๆที่ 4 แสนบาท ยังเหลือไปพัฒนาอย่างอื่นต่ออีก ยิ่งหากมีสปอนเซอร์เข้ามา หรือเก็บค่าตั๋ว, ค่าขายเสื้อ ของที่ระลึก ฯลฯ เชื่อว่าสโมสรอยู่ได้แน่นอน
1
มีสนามเหย้าเป็นของตัวเอง
ให้เงินสนับสนุนทีมเยอะแบบนี้ใช่ว่าทีมไหนจะสมัครก็ได้ สำคัญเลยคือคุณต้องมีสนามเหย้าเป็นของตัวเองด้วย ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นสนามที่มีมาตรฐาน สามารถจุผู้ชมได้ เพื่อสร้างรากฐานแฟนคลับให้ติดตามทีมต่อไปในอนาคต
ในฤดูกาลปกติจะแข่งขันแบบเซอร์กิต ตรงนี้ต้องรอดูการขยายความอีกทีว่าจะเป็นการเล่นแบบใช้สนามกลางสนามเดียว หรือจะเป็นแบบที่ผมเข้าใจคือใช้โมเดลแบบ PBA (ลีกอาชีพของฟิลิปปินส์) ที่การแข่งขันแต่ละสัปดาห์จะมีสนามเจ้าภาพ ทีมที่แข่งขันทั้งหมดจะขนไปเล่นกันที่นั่นทั้งหมด สมมติสัปดาห์นี้แข่งที่เชียงใหม่ ทุกทีมก็จะไปเล่นที่เชียงใหม่กันหมด พออีกสัปดาห์มาที่ กทม., จันทบุรี, สงขลา วนไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นไอเดียที่น่าสนใจมากๆ
จากนั้นพอรอบเพลย์ออฟ คราวนี้จะเล่นแบบเหย้า-เยือน ทีมที่แข่งในบ้านก็จะได้เปรียบในความเจ้าบ้าน ทำให้ทีมเล็กมีโอกาสล้มทีมใหญ่ได้เหมือนกัน เป็นอินเนอร์ที่เพิ่มขึ้นที่หาไม่ได้จากการแข่งในแบบสนามกลาง ยิ่งรอบลึกๆอาจจะมีปรากฏการสนามแตกเกิดขึ้นอย่างใน TPBL 2019 หรือ ABL ก็เคยมีมาแล้ว
ทีมที่เข้าร่วมไม่ได้แข่งแค่รายการเดียว
เงื่อนไขถัดมาคือคุณต้องส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันอย่างน้อย 2 รายการ ไม่ใช่แค่แข่งใน E29 Championships รายการเดียวแล้วจะจบ โดยมีสัญญาการเข้าร่วม 1 ปี แต่ละสโมสรจะแข่งทั้ง 2 รายการ หรือเลือกแข่งแค่ 1 รายการก็ได้ แต่ก็จะโยงไปถึงเรื่องจำนวนเงินสนับสนุนทีมที่จะได้มาด้วย
สำหรับอีก 2 รายการที่เป็นชอยท์ก็คือ "E29 Division 2 Championship" การแข่งขันระดับประชาชนชายทั่วไป อันนี้ถือว่ายังไม่เคลียร์เท่าไหร่ ถ้าให้เดาก็อาจจะเป็นลีกคนไทยล้วน ซึ่งอาจจะเป็นแบบกึ่งอาชีพที่สามารถไปดึงพวกนักบาสเดินสายหรือประชาชนทั่วไปมาเล่น แล้วจำกัดจำนวนผู้เล่นอาชีพอะไรแบบนี้ เหมือนกับ TABL (Thailand Amateur Basketball League) ที่โมโนเคยจัด
ส่วนอีกรายการคือ "E29 Youth Championships" เป็นการแข่งขันระดับเยาวชนทั่วประเทศ ทั้งประเภทชายและหญิง อายุตั้งแต่ U12, U14, U16 และ U18
เท่ากับว่าแต่ละทีมต้องมีระบบเยาวชนอันเป็นโครงสร้างการพัฒนาสโมสร นักบาสดาวรุ่งถ้าเก่งจริงก็จะมีสโมสรรองรับในอนาคตแน่นอน เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาบ้านเราบางคนได้ทุนเรียนฟรีในระดับมัธยมฯ เล่นบาสให้โรงเรียนจนจบ ม.6 ก็ไม่ได้เดินสายนี้ต่อทั้งที่ฝีมือฉกาจมากๆ เพราะไม่มีสโมรอาชีพรองรับเพียงพอนี่แหละ
นักบาสทีมชาติจะไม่กระจุกอยู่ทีมดียวอีกต่อไป
มาดูที่คุณสมบัติผุ้เล่นบ้าง อันแรกเลยคือแต่ละทีมมีผู้เล่นทีมชาติได้ไม่เกินทีมละ 3 คน นับย้อนหลัง 5 ปี (2559-2563) อันนี้ต้องมาดูว่านับรายการไหนบ้าง แต่ที่แน่ๆ ซีเกมส์ 2 ครั้งหลังสุดนี่นับรวมแน่ๆ ส่วนพวกบาสฟีบ้า รอบคัดเลือกรอบต่างๆหรือเอเชียนเกมส์จะนับด้วยหรือไม่
กฏนี้ป้องกันนักบาสทีมชาติไปกระจุกตัวอยู่สโมสรเดียว ทีมเล็กๆก็จะมีสิทธิ์มีผู้เล่นเก่งๆเข้ามาช่วย ตัวนักบาสเองก็อาจจะได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย เพราะไปเป็นตัวท็อปให้ทีมเล็กๆ ที่สำคัญทำให้การแข่งขันสูสีและสนุกขึ้น
ทีมที่ได้รับผลกระทบสุดๆคงเป็น "ไฮเทค" ที่มีผู้เล่นติดทีมชาติแบบยกชุด หากลงแข่งรายการนี้คงต้องนับนิ้วเลือก เอาแค่ซีเกมส์ครั้งล่าสุดก็ปาเข้าไป 8 คนแล้ว หรือแม้แต่ "โมโนแวมไพร์" หากกลับมารวมทีมอีกครั้ง ก็ต้องเจอผลกระทบนี้ด้วยเช่นกัน
อีกข้อบังคับคือ ต้องมีผู้เล่นต่างชาติ 1 คน ส่วนผู้เล่นอาเซียนมีได้ 1 คนจะมีหรือไม่มีก็ได้
ขณะที่พวกลูกครึ่งจะยึดตามกฏเรื่องสัญชาติจาก FIBA (สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ) คนที่เกิดในไทยหรือได้พาสปอร์ตไทยก่อนอายุ 16 ปี อย่างเช่น ไท วอร์เนอร์ หรือจัสติน แบสซี่ ที่ไปเล่นอยู่ที่สหรัฐฯในตอนนี้ ก็ถือเล่นในโควต้าคนไทยได้แบบไร้ปัญหา
แต่ถ้าได้พาสปอร์ตไทยหลังอายุ 16 ปี อย่างพวก ไทเลอร์ แลมบ์, เฟรดดี้ ลิช, โมเสส มอร์แกน ถือว่าเป็นตัวโควต้าอาเซียน
อันนี้สำคัญสุด
ข้อ 5 นี่บอกเลยว่าทีเด็ด!!
อันดับแรก "ผู้บริหารของทีมที่ส่งแข่งขัน ต้องไม่มีตำแหน่งหรือรับเงินเดือน หรือทำงานให้ สมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทสไทย และสมาคมบาสเกตบอลอาชีพไทย"
ข้อนี้ทีมไฮเทค โดนเต็มๆ เพราะ "เฮียต่าย" นิพนธ์ ชวลิตมณเฑียร เจ้าของทีม รับตำแหน่งนายกสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทสไทยอยู่ในขณะนี้ด้วย ทำให้ไฮเทคจะส่งทีมมาแข่งรายการนี้ไม่ได้แน่นอน ก็ต้องดูว่าทางฝั่งไฮเทคจะเอายังไงต่อ (แต่ผู้บริหารของฝ่ายจัด น่าจะส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันได้ซะงั้น อันนี้อาจจะดูย้อนแย้งนิดนึง)
ข้อที่เหลือก็เป็นข้อยิบย่อยอย่าง มีการวางแผนการตลาด แผนโฆษณาสโมสร เพื่อโปรโมททีม, มีจัดกิจกรรมหน้าสนามเป็นบาส 3x3 (อันนี้ถือว่าได้พัฒนาบาส 3 คนไปด้วย), นักกีฬาต้องเซ็นสัญญากับสโมสร และตัวสโมสรต้องจดแจ้งเป็นสโมสรอาชีพกับ กกท. เป็นการกันพวกฉวยโอกาส ทำทีมมาเล่นรายการเดียวแล้วหาย ตั้งใจมาล็อกผลการแข่งขันหารายได้จากการพนันเข้ากระเป๋า ซึ่งในลีกบาสไทยช่วงที่ผ่านมา ก็มีกลิ่นตุๆมาตลอด
นี่คือกฏคร่าวๆของบาสอาชีพไทยรายการใหม่ที่ต้องบอกว่าน่าสนใจ และตรงจุดกับการพัฒนาวงการบาสบ้านเรามากๆ ถ้าบ้านเรามีลีกอาชีพมีสโมสรที่มั่นคง นักกีฬาก็จะสามารถยึดเป็นอาชีพ มีทรัพยากรณ์นักบาสป้อนสู่ทีมชาติได้อีกเพียบ ความฝันที่จะเห็นบาสไทยล้มบาสฟิลิปปินส์ได้ซักที ก็คงจะขยับเข้าไกล้ไปอีกขั้น!
ขอบคุณภาพจากเพจ E29 Championships
2 บันทึก
2
2
3
2
2
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย